วันพฤหัสบดี, เมษายน 18, 2567

4 ปัจจัยเพื่อการพัฒนา Blockchain ภายในองค์กร

by Smart SME, 4 ตุลาคม 2561

PwC ได้ทำการสรุปถึงปัจจัยสำคัญที่องค์กรสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาบล็อกเชน เพื่อกลุ่มอุตสาหกรรมของตนเอง โดยข้อสรุปนี้มาจาก รายงาน Blockchain is here. What's your next move?

4 ปัจจัยสำคัญที่นำไปใช้เพื่อการพัฒนา Blockchain

1.จัดทำเหตุผลทางธุรกิจ องค์กรต้องมีการจัดทำวัตถุประสงค์ของโครงการที่ชัดเจน เพื่อให้ผู้ที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบบล็อกเชนสามารถเห็นถึงประโยชน์ และตอบสนองความต้องการที่เฉพาะเจาะจงของธุรกิจโดยอาจเริ่มจากโครงการเล็กๆ ก่อนก็ได้ 2.สร้างระบบนิเวศในอุตสาหกรรม ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจากองค์กรต่างๆ ในกลุ่มอุตสาหกรรม ควรทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด เพื่อกำหนดจุดยืนในการควบคุมทิศทางของการนำบล็อกเชนมาใช้ ทั้งนี้ผู้บริหารที่ได้มีการนำบล็อกเชนมาใช้งานจริงแล้วในองค์กร ส่วนใหญ่เป็นผู้นำหรือเป็นสมาชิกผู้ใช้งานบล็อกเชนเฉพาะผู้ได้รับอนุญาตใช้งานภายในองค์กรเครือข่ายเท่านั้น (Consortium) 3.ออกแบบให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน หุ้นส่วนจำเป็นต้องมีกฎและมาตรฐานต่อสิทธิในการเข้าถึง นอกจากนี้ยังต้องได้รับความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารความเสี่ยงในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น กฎหมาย การปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ หรือ ความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ตั้งแต่เริ่มต้นเพื่อให้แน่ใจว่า กรอบของการพัฒนาระบบบล็อกเชนจะสร้างความไว้วางใจต่อทั้งฝั่งผู้คุมกฎและผู้ใช้ 4.ติดตามความไม่แน่นอนของกฎระเบียบข้อบังคับ รายงานยังได้เตือนด้วยว่า นักพัฒนาบล็อกเชนควรเฝ้าติดตามความเคลื่อนไหวของกฎระเบียบ แต่ในขณะเดียวกัน ก็ไม่ควรรีรอที่จะลงมือพัฒนาระบบ เพราะกฎระเบียบมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นการมีส่วนร่วมกับหน่วยงานกำกับดูแลจะเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยกำหนดสภาพแวดล้อมของการพัฒนาบล็อกเชนว่า ควรเป็นไปในทิศทางใด
Tag :

Mostview

10 กฎแรงดึงดูดสร้างแม่เหล็กดึงเงินเข้าหาตัวเองมากขึ้น

“เงิน” ปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิต และทุกคนอยากมีสิ่งนี้อยู่กับตัวเองให้มากที่สุด

อดีตนายธนาคารเบื่องานออก ทำเสื้อยืดสกรีนแผ่นดินไหว ทำเงินกว่า 3 แสนบาทใน 21 ชั่วโมง

หลังเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหว 4.8 ริกเตอร์ ทางภาคตะวันออกของสหรัฐฯ ในช่วงวันที่ 5 เม.ย. ที่ผ่านมา Kerry Colley เหลือบมองกราฟิกดีไซเนอร์ในทีมงานแล้วพูดว่า “คิดว่าเราจะสร้างเสื้อยืดจากสิ่งนี้ได้ไหม”

สรุปเงื่อนไขเงินดิจิทัล 10,000 บาท นโยบายเรือธงกระตุ้นเศรษฐกิจให้เดินต่อ

อีกหนึ่งนโยบายเรือธงของรัฐบาลที่กลายเป็นที่จดจำของประชาชนในช่วงเลือกตั้งหาเสียงคงหนีไม่พ้นเงินดิจิทัล 10,000 บาท ว่าสุดท้ายแล้วจะเกิดขึ้นจริงหรือไม่

นวัตกรรมชีวเคมี นำแบคทีเรียสร้างเซลลูโลส ส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน

นักวิจัยจากจุฬาฯ สร้างนวัตกรรม ‘เซลลูโลส’ จากแบคทีเรีย ทดแทนการนำเข้านับหมื่นล้านบาท ช่วย เศรษฐกิจหมุนเวียน และเป็น zero waste ภายใต้สิทธิบัตร ‘เซลโลกัม’

SmartSME Line