วันจันทร์, เมษายน 29, 2567

เนื้อวัวฉีดไขมัน ความแตกต่างที่คนขายไม่เคยบอก คนกินไม่เคยรู้

by Smart SME, 16 ตุลาคม 2561

ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่า เนื้อวัวฉีดไขมัน ไม่ใช่เรื่องใหม่มีการใช้วิธีนี้มาซักระยะหนึ่งแล้วแต่ผู้บริโภคไม่รู้ และที่สำคัญราคาไม่ได้ถูก เพราะเนื้อที่ใช้เป็นเนื้อนำเข้าและนิยมทำกันในหลายประเทศ ที่โด่งดังสุด คือ ประเทศออสเตรเลีย ที่เรียกว่าเนื้อเมลทีค (Meltique beef) แต่ทางร้านที่นำมาขายไม่ได้แจ้งให้ลูกค้าได้ทราบ


ซึ่งวิธีการสังเกต เนื้อที่ฉีดไขมัน ความแตกต่างภายนอกจะเห็นได้ค่อนข้างชัดเจน เนื้อจะมีลายแปลกเส้นลึกคล้ายกระจกแตก ไขมันที่นำมาฉีดจะมีทั้งไขมันสัตว์แบบก้อนแข็ง ที่ผ่านการให้ความร้อนเพื่อให้หลอมเหลวก่อนที่จะเอาไปฉีด หรือใช้ไขมันสัตว์ผสมกับน้ำมันพืช หรือไขมันสัตว์ผสมกับตัวอีมัลซิไฟเออร์ (เพื่อให้เข้ากันได้ดีกับน้ำในเนื้อ) หรือใช้ผงไขมันที่เป็น Conjugated Linoleic Acid (CLA)

ในหลายประเทศมีข้อกำหนดว่า เนื้อที่ฉีดไขมัน จะต้องระบุอย่างขัดเจนว่า “เนื้อผ่านการฉีดไขมัน” เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับทราบ ทั้งนี้ผลการประเมิน USDA บอกว่า เนื้อฉีดไขมันนั้นมีคุณสมบัติต่างๆ ไม่แตกต่างจากเนื้อที่ยังไม่ฉีด แต่ถ้าเป็นแบบที่ฉีดผงไขมัน CLA นั้นพว่ามีคุณภาพดีขึ้นกว่า 2 ขั้น

จากผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัย West Texas A&M พบว่า เนื้อวัวที่ฉีดไขมันหมูเข้าไป ผู้บริโภคที่รับประทานเข้าไปให้คะแนนความพึงพอใจสูงกว่าเนื้อที่ไม่ได้ฉีดไขมัน ส่วนเนื้อสเต็กที่ทำจากเนื้อฉีดไขมันหมู พบว่ามีความชื้นต่ำลงแต่มีไขมันสูงขึ้น และต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญถึงจะแยกออกว่ามีกลิ่นผิดปกติหรือแตกต่างออกไป

แต่ประเด็นสำคัญ คือ ในประเทศไทยยังไม่มีใครขออนุญาตผลิตเนื้อประเภทนี้ หรือหากเป็นผู้จำหน่ายจ้องมีการติดฉลากให้ชัดเจน

ด้าน อ.ย. ออกมาชี้แจงเรื่องนี้ว่า เนื้อฉีดไขมัน (Artificial Marbling beef) เป็นการฉีดของเหลวที่มีส่วนประกอบของไขมัน น้ำ และวัตถุเจือปนอาหาร โดยใช้เครื่องจักรหรือเครื่องมือที่มีลักษณะ เป็นเข็ม เข้าไปในเนื้อวัว ทำให้ได้เนื้อวัวที่มีลักษณะไขมันแทรก ซึ่งสถานที่ผลิตเนื้อฉีดไขมัน จะต้องปฏิบัติตามวิธีการผลิต เครื่องมือเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต และการเก็บรักษาอาหารแปรรูปที่บรรจุในภาชนะพร้อมจำหน่าย (Primary GMP) และการใช้วัตถุเจือปนอาหารในการผลิตเนื้อฉีดไขมัน ต้องเป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 389 พ.ศ. 2561 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 5)

ตลอดจนต้องมีการแสดงฉลากให้ถูกต้องตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยเรื่องการแสดงฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุ เช่น ชื่ออาหาร ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต น้ำหนักสุทธิ วันเดือนปีควรบริโภคก่อน ข้อมูลสำหรับผู้แพ้อาหาร และข้อมูลการใช้วัตถุเจือปนอาหาร เป็นต้น และต้องมีข้อความแสดงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์บนฉลากอาหารว่าเป็นเนื้อโคฉีดไขมัน เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดว่าเป็นเนื้อโคที่มีไขมันแทรกธรรมชาติ

ทั้งนี้ การฉีดไขมันในเนื้อโค ต้องได้รับการเห็นชอบจาก อย. ก่อน โดยผู้ผลิต ผู้นำเข้า หรือผู้จำหน่าย จะต้องแสดงรายละเอียดของกรรมวิธีการผลิตในการฉีดไขมัน เงื่อนไขการใช้วัตถุเจือปนอาหารพร้อมเหตุผลการใช้และมาตรฐานอ้างอิง ซึ่งหากไม่สอดคล้องตามข้อกำหนดของประกาศกระทรวงสาธารณสุขจะต้องยื่นขอประเมินความปลอดภัยของวัตถุเจือปนอาหารก่อน รวมทั้งแสดงฉลากอาหาร แนวทางการควบคุมการผลิต นำเข้าหรือจำหน่าย เช่น จำหน่ายเฉพาะร้านอาหาร หรือมาตรการป้องกันความเข้าใจผิดของผู้บริโภคว่า เป็นเนื้อโคที่มีไขมันแทรกธรรมชาติ ประกอบการพิจารณา

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังไม่พบการอนุญาตผลิตภัณฑ์เนื้อโคฉีดไขมันแต่อย่างใด หากผู้ใดประสงค์จะผลิตหรือนำเข้า จะต้องขอความเห็นชอบจาก อย. ก่อน หากฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท

Source : รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความรู้เรื่องเนื้อฉีดไขมันผ่าน Facebook

Tag :

Mostview

เปิดธุรกิจที่ได้รับประโยชน์ หากเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท เริ่มใช้งาน

ผลสำรวจบอกผู้มีสิทธิ์ใช้เงินดิจิทัลวอลเล็ต จะเลือกใช้จ่ายร้านค้าท้องถิ่น 40% รองลงมาเป็นร้านสะดวกซื้อ เช่น CJ, 7-Eleven 26%

สิงคโปร์ แจกเงินละ 8,000 บาท ให้ 1.1 ล้านครัวเรือนไปซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า-ประปา ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

จากสถานการณ์โลกร้อนทำให้หลายประเทศกลับมาตระหนักถึงเรื่องนี้กันมากยิ่งขึ้น ทำอย่างไรที่จะออกนโยบายที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทำให้ประชาชนตระหนักถึงเรื่องนี้เป็นอันดับต้น ๆ

ธุรกิจอีคอมเมิร์ซมาแรง คนไทยซื้อผ่านแพลตฟอร์ม 67% คาดมูลค่าปี 2567 แตะ 7 แสนล้านบาท

ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เผยว่าธุรกิจอีคอมเมิร์ซมาแรงต่อเนื่อง โตแบบฉุดไม่อยู่ ปี 2566 มีมูลค่า 6.34 แสนล้านบาท คาดการณ์ปี 2567 มูลค่าแตะ 7 แสนล้านบาท และปี 2568 มูลค่าทะลุ 7.5 แสนล้านบาท

จับตาราคา “เนย” เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในตลาดโลกใกล้แตะระดับสูงสุดเท่าทีเคยมีมา

ไม่ใช่ “โกโก้” เท่านั้นที่ราคาพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์จากปัจจัยเรื่องของสภาพอากาศที่เลวร้าย และโรคที่มากับพืชจนส่งผลกระทบต่อแหล่งเพาะปลูก ทำให้ได้ผลผลิตน้อย นำมาสู่การปรับราคาของสินค้าที่มี “โกโก้” เป็นส่วนผสม ซึ่งคาดการณ์ว่าราคาจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ

SmartSME Line