วันพุธ, เมษายน 24, 2567

Highlight SME

by Smart SME, 21 มีนาคม 2559

          เทสโก้ โลตัส พร้อมสนับสนุนนโยบายประชารัฐของรัฐบาล เพื่อร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากโดยทางโลตัสได้ลงนามบันทึกของตกลงร่วมกับศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ในสองส่วนหลักคือ การรับซื้อผลผลิตโดยตรงจากเกษตรกร ควบคู่ไปกับการสนับสนุนเอสเอ็มอีและโอทอป โดยเทสโก้ โลตัส ได้สนับสนุนให้ใช้พื้นที่เทสโก้โลตัส ตามสาขาต่างๆ เพื่อให้ผู้ประกอบการชายแดนใต้ ได้นำสินค้าที่ผลิตขึ้นเอง และได้รับมาตรฐานสินค้า มผช. ฮาลาล รวมถึงอาหารประจำท้องถิ่นมาวางจำหน่าย ในส่วนของการรับซื้อผลผลิตโดยตรงจากเกษตรกร ในส่วนของพื้นที่ภาคใต้ โดยขณะนี้ได้ทางโลตัส ได้มีการรับซื้อลองกองจากเกษตรกรในจังหวัด 3 ชายแดนใต้ ซึ่งในปีนี้คาดว่าจะรับซื้อลองกองจากเกษตรกรได้ประมาณ 200 ตัน รวมถึงทางโลตัสได้มีการรณรงค์ให้เกษตรกรปลูกพืชผลทางการเกษตรที่มีอยู่ในท้องถิ่นเพื่อนำมาวางขายในสาขาต่างๆ ของเทสโก้ โลตัส ซึ่งจะเป็นการสร้างรายได้ให้กับชุมชนและนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับพี่น้องชาวเกษตรกร

                  กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงเดือนมีนาคมได้อนุญาตให้คนต่างด้าว 32 ราย ประกอบธุรกิจในประเทศไทย โดยส่วนใหญ่มาจากประเทศญี่ปุ่น สิงคโปร์ และเยอรมนี ซึ่งมีการนำเงินเข้ามาลงทุนประกอบธุรกิจกว่า 836.71 ล้านบาท และส่งเสริมให้เกิดการจ้างงานคนไทยเพิ่มอีก 282 คน    แบ่งเป็นธุรกิจบริการให้แก่บริษัทในเครือ/ในกลุ่ม และผู้ประกอบการอุตสาหกรรม จำนวน 8 ราย ธุรกิจบริการให้แก่ลูกค้าและคู่ค้า จำนวน 2 ราย ธุรกิจบริการเป็นสำนักผู้แทน สำนักงานภูมิภาค จำนวน 7 ราย ธุรกิจบริการเป็นคู่สัญญาภาครัฐ คู่สัญญาเอกชน จำนวน 7 และ ธุรกิจนายหน้า ค้าปลีก ค้าส่ง จำนวน 8 ราย   มีเงินลงทุน จำนวนสูงที่สุดถึง 497.16 ล้านบาท  คิดเป็นร้อยละ 60 ซึ่งเป็นการลงทุนในระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานที่มีส่วนช่วยพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ได้แก่ ระบบโรงงานไฟฟ้าพลังงานความร้อน / พลังงานลม  เป็นต้น

            อย่างไรก็ตาม ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2559 (มกราคม-มีนาคม 2559) คนต่างด้าวได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจในประเทศไทยแล้วจำนวน 95 ราย มีเงินลงทุนทั้งสิ้น 2,079 ล้านบาท  และมีการจ้างงานคนไทย  2,213 คน  ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรากฏว่า จำนวนธุรกิจที่ได้รับอนุญาตลดลง  6 ราย คิดเป็นอัตราร้อยละ 16 และเงินลงทุนลดลง 1,001 ล้านบาท

            ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ได้ดำเนินโครงการชุมชนปรับเปลี่ยนการผลิตสู้วิกฤติภัยแล้ง โดยดำเนินการในลักษณะเกษตรพันธะสัญญา (Contract farming) ระหว่างชุมชนกับผู้รับซื้อผลผลิต เพื่อที่เกษตรกรจะไม่ต้องรับความเสี่ยงจากการผลิตและการตลาด โดยยึดหลักการดำเนินการในรูปแบบของการแบ่งปันผลประโยชน์ระหว่างรัฐและประชาชนภายใต้กรอบแนวคิด “ประชารัฐเพื่อเศรษฐกิจฐานรากมั่นคง และชุมชนเข้มแข็ง” ซึ่งจะช่วยให้การใช้จ่ายงบประมาณเป็นไปอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพและลดความเสี่ยงจากการผลิตพืชเชิงเดี่ยวของเกษตรกร ในเบื้องต้นได้กำหนดประเภทผลผลิตไว้ 6 ชนิด ได้แก่ พืชตระกูลถั่ว (ถั่วเขียว ถั่วเหลือง) ผักคะน้า กวางตุ้ง  เห็ดฟาง เมล่อนและหญ้าเนเปียร์ แต่สำหรับผลผลิตอื่นๆ หากชุมชนจะดำเนินการจะต้องมีตลาดรับซื้อที่แน่นอน

           โครงการนี้เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559 – 31 ธันวาคม 2561 จำนวนวงเงินกู้สูงสุดไม่เกิน 3,000,000 บาท ต่อชุมชน คิดดอกเบี้ยจากชุมชนในอัตราร้อยละ 0.01 ต่อปี รัฐบาลชดเชยอัตราดอกเบี้ยส่วนต่างแทนชุมชน กำหนดชำระคืนเงินกู้ ไม่เกิน 12 เดือน นับแต่วันกู้ วงเงินสินเชื่อรวม 15,000 ล้านบาท นอกจากนี้ ธ.ก.ส.ยังได้ออกโครงการสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายฉุกเฉินและจำเป็นของเกษตรกรที่ประสบภัยแล้ง ปี 2558/2559 วงเงินสินเชื่อ 6,000 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรลูกค้ารายย่อยที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ที่ไม่สามารถทำการผลิตได้หรือผลผลิตได้รับความเสียหาย ทำให้มีรายได้ลดลงกว่าร้อยละ 50 จากรายได้ปกติ และลูกค้ามีวงเงินกู้รวมกันไม่เกิน 500,000 บาท จำนวน 500,000 ราย ให้กู้ได้รายละไม่เกิน 12,000 บาท ระยะเวลาจ่ายเงินกู้ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559 - 30 มิถุนายน 2559  ปลอดดอกเบี้ย 6 เดือนแรก เดือนที่ 7- 12 คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4 ต่อปี เฉลี่ยร้อยละ 2 ต่อปี กำหนดชำระคืนไม่เกิน 12 เดือนนับแต่วันกู้ สามารถใช้หลักประกันรับรองรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกันหรือใช้บุคคล 2 คนขึ้นไปค้ำประกันหนี้เงินกู้โครงการนี้ได้ไม่เกิน 12,000 บาท

Tag :

Mostview

หนุ่มอายุ 25 ปี ใช้ AI สร้างรายได้เกือบ 2 ล้านบาท ใช้เวลาแค่ 2 เดือน

เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ถูกพูดถึงอย่างในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่ามา และคาดการณ์ว่าจะเข้ามามีบทบาทเป็นส่วนหนึ่งของการทำธุรกิจต่อไปในวันข้างหน้า

Asahi เพิ่มการผลิตเครื่องดื่มไร้แอลกอฮอล์ ชูเป็นสินค้าหลัก หลังคนญี่ปุ่นดื่มเบียร์น้อยลง

Asahi แบรนด์ผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เตรียมดันการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้มากขึ้นกว่าเดิม หวังสร้างยอดขายในสัดส่วน 50% ภายในปี 2040

SmartSME Line