วันเสาร์, พฤษภาคม 18, 2567

ภาษี ที่ SME ควรต้องรู้.....ก่อนเริ่มดำเนินธุรกิจ (ตอนที่ 9)

by ดร.สกล อยู่วิทยา, 12 ธันวาคม 2561

มาตรการทางภาษีเพื่อส่งเสริมให้บุคคลธรรมดาประกอบธุรกิจในรูปของนิติบุคคล

บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ประเภท SMEs ภาครัฐค่อนข้างให้ความสำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง จึงมีนโยบายสนับสนุนให้บุคคลธรรมดาปรับเปลี่ยนรูปแบบการประกอบธุรกิจมาเป็นนิติบุคคลให้มากขึ้น เนื่องจากทำให้สามารถตรวจสอบได้ และเพื่อแสดงถึงผลประกอบการที่แท้จริง จึงต้องมีการออกมาตรการต่างๆ มาเพื่อสนับสนุน

โดยปกติการโอนทรัพย์สินของบุคคลธรรมดามายังบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล จะอยู่ในความหมายของคำว่า “ขาย” ตามกฎหมายภาษีอากร หรือประมวลรัษฎากร ซึ่งมีผลทำให้ต้องนำมาคำนวณเป็นเงินได้เพื่อเสียภาษีอากร เนื่องจากคำว่า “ขาย” หมายความว่า จำหน่าย จ่าย หรือโอนสินค้า โดยจะมีหรือไม่มีประโยชน์หรือค่าตอบแทนก็ตาม และ “สินค้า” ก็มีความหมายกว้างเช่นกัน คือหมายถึง ทรัพย์สินที่มีรูปร่างและไม่มีรูปร่างที่อาจมีราคาและถือเอาได้ที่มีไว้เพื่อขายเท่านั้น ดังนี้ เพื่อขจัดภาระภาษีที่จะเกิดขึ้น ประมวลรัษฎากรจึงได้กำหนดยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่บุคคลธรรมดาที่โอนกิจการให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นใหม่ ซึ่งพอจะสรุปรายละเอียดได้ดังนี้

1.ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้แก่บุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล สำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการโอนทรัพย์สิน หรือการขายสินค้าให้แก่บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย โดยมีการจดทะเบียนตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2561 (เนื่องจากการโอนทรัพย์สินหรือการขายสินค้าตามกฎหมายภาษีอากร จะต้องมีเงินได้เกิดขึ้นและจะต้องนำมาคำนวณเพื่อเสียภาษี)

2.การโอนทรัพย์สินหรือการขายสินค้าดังกล่าว ได้รับค่าตอบแทนเป็นหุ้นสามัญหรือหุ้นของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น ซึ่งได้กระทำตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2561 (โดยหุ้นที่ได้รับนั้นจะต้องมีมูลค่าไม่น้อยกว่ามูลค่าทรัพย์สินที่โอนไป)

กฎหมายไม่ได้ให้สิทธิประโยชน์เฉพาะผู้โอนเท่านั้น แต่ยังให้สิทธิประโยชน์แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วน
นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นใหม่ด้วย โดยกำหนดให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล กล่าวคือ สามารถนำรายจ่ายอันเกิดจากการตั้งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ค่าทำบัญชี และค่าสอบบัญชี มาหักเป็นรายจ่ายได้ 2 เท่า เป็นระยะเวลา 5 รอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกัน นับแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่ได้จดทะเบียนตั้งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล โดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวจะต้องตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย มีการจดทะเบียนตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2561 และมีทุนที่ชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 5 ล้านบาทและมีรายได้จากการขายสินค้าและการให้บริการในรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 30 ล้านบาท

แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้ที่ [email protected]

ดร.สกล อยู่วิทยา
ดร.สกล อยู่วิทยา ผู้เชี่ยวชาญด้านกฏหมายภาษีอากร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ธรรมสมจิตร์ จำกัด (ที่ปรึกษาด้านธุรกิจ การตลาด และกฎหมาย) บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต สาขาการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์ คณะพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

Mostview

คนไทย 30% ไม่มีเงินเก็บสำหรับการเกษียณ และ 60% มีเงินเก็บไม่ถึง 200,000 บาท

ภายในงาน KKP Financial Talk: Money Master #เรื่องเงินอย่าปล่อยให้รู้งี้ ซึ่งมีการพูดถึงปัญหาและคำแนะนำให้กับ Sandwich Generation ผู้แบกภาระการดูแลทั้งคนรุ่นก่อน และรุ่นหลังไว้ ในขณะที่เศรษฐกิจไม่เกื้อหนุนให้พวกเขาได้สบายขึ้น

กล้าพอไหม! Airbnb เปิดให้เข้าพักบ้านลอยฟ้า มีลูกโป่งกว่า 8,000 ใบ โยงติดอยู่บนหลังคา

หากอยากจะทำอะไรตื่นเต้นต้องมาทางนี้ เมื่อ Airbnb แพลตฟอร์มจองที่พักได้เปิดตัวโปรเจคต์ “Icon” เพื่อสร้างประสบการณ์พักผ่อนให้กับลูกค้า เปลี่ยนสิ่งที่เป็นเรื่องมหัศจรรย์ให้กลายเป็นความจริง

ซีพีออลล์ ทำรายได้ไตรมาส 1/2567 รวม 241,307 ล้านบาท กำไรสุทธิ 6,319 ล้านบาท

บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) รายงานผลประกอบการในไตรมาส 1/2567 พบว่าบริษัทมีรายได้รวม 241,307 ล้านบาท มีกำไรสุทธิ 6,319 ล้านบาท

6 วิธีสร้างแนวคิดอย่างยั่งยืนให้ธุรกิจของคุณ แถมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับแบรนด์

การยึดมั่นในเรื่องของความยั่งยืนไม่ได้เป็นประโยชน์กับสภาพแวดล้อม และเศรษฐกิจท้องถิ่นเท่านั้น แต่ยังส่งผลเชิงบวกให้กับแบรนด์อีกด้วย ดังนั้น เรามาดูกลยุทธ์ทางธุรกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมที่คนเป็นผู้ประกอบการสามารถนำไปปรับใช้กับธุรกิจได้ ผ่านวิธีการเหล่านี้

SmartSME Line