วันศุกร์, เมษายน 19, 2567

เผยค่าใช้จ่ายคนกรุงเทพฯ เสียเงินกับค่าเดินทาง หมดกับรถไฟฟ้าเฉลี่ย 2,500 บาท/เดือน

by Anirut.j, 26 ธันวาคม 2561

งานวิจัยข้อมูลการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะในกรุงเทพฯ พบว่า คนกรุงเทพฯ ต้องเสียเงินค่าเดินทางมากที่สุดไปกับรถไฟฟ้าเฉลี่ย 2,500 บาท/ เดือน เหตุอัตราค่าโดยสารแพงกว่ารถเมล์ 100%

ทุกวันนี้หากเราต้องเดินทางออกจากบ้านไปทำงาน เที่ยว หรือพบปะบุคคลที่รู้จัก แต่ละคนล้วนมีวิธีวางแผนการเดินทางที่แตกต่างกันออกไปเพื่อให้ตัวเองไปสู่จุดหมายให้ทันเวลาที่นัดหมาย อย่างไรก็ตาม เราเคยตั้งคำถามหรือไม่ว่าในแต่ละเดือนเราต้องสูญเสียเงินกับค่าเดินทางเหล่านี้เฉลี่ยแล้วเดือนละเท่าไหร่ ดังนั้น บทความนี้เรามาหาคำตอบกัน

ดร.สุรินทร์ คำฝอย ผู้จัดการโครงการแผนพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า เปิดเผยถึงงานวิจัยข้อมูลการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะในกรุงเทพมหานครของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง พบว่ารถไฟฟ้ามีอัตราค่าใช้จ่ายมากที่สุดเฉลี่ย 2,500 บาท/เดือน

รองลงมาคือ รถตู้สาธารณะ เฉลี่ย 2,100 บาท/เดือน

เรือคลองแสนแสบ เฉลี่ย 1,700 บาท/เดือน

รถเมล์ปรับอากาศ (รถเมล์แอร์) เฉลี่ย 1,400 บาท/เดือน

รถเมล์ธรรมดา (รถเมล์ร้อน) เฉลี่ย 1,200 บาท/เดือน

เช่นเดียวกับเรือด่วนเจ้าพระยาที่อัตราค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 1,200 บาท/เดือนเหมือนกัน

อย่างไรก็ตาม หากเปรียบเทียบอัตราค่าโดยสารจะพบว่ารถไฟฟ้าสูงกว่าค่าโดยสารรถเมล์ร้อนมากกว่า 100% เลยทีเดียว


Mostview

นวัตกรรมชีวเคมี นำแบคทีเรียสร้างเซลลูโลส ส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน

นักวิจัยจากจุฬาฯ สร้างนวัตกรรม ‘เซลลูโลส’ จากแบคทีเรีย ทดแทนการนำเข้านับหมื่นล้านบาท ช่วย เศรษฐกิจหมุนเวียน และเป็น zero waste ภายใต้สิทธิบัตร ‘เซลโลกัม’

SOURCE Global บริษัทผู้ใช้แผงโซลาร์เซลล์เปลี่ยนอากาศให้กลายเป็นน้ำดื่ม แก้ปัญหาขาดแคลนน้ำ

ท่ามกลางอากาศที่แห้งแล้งในทะเลทรายของลาสเวกัส ดูเหมือนจะเป็นเรื่องยากกับการแหล่งน้ำที่มีความอุดมสมบูรณ์รอบบริเวณที่มีอยู่ โดยทางตอนใต้ของเนวาดากำลังเผชิญภัยแล้งที่เลวร้ายที่ครั้งในประวัติศาสตร์ที่ต้องบันทึกไว้ จนนำไปสู่การขาดแคลนน้ำ และข้อจำกัดในการใช้

Asahi เพิ่มการผลิตเครื่องดื่มไร้แอลกอฮอล์ ชูเป็นสินค้าหลัก หลังคนญี่ปุ่นดื่มเบียร์น้อยลง

Asahi แบรนด์ผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เตรียมดันการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้มากขึ้นกว่าเดิม หวังสร้างยอดขายในสัดส่วน 50% ภายในปี 2040

SmartSME Line