วันเสาร์, เมษายน 20, 2567

Green Supply Chain เทรนด์ใหม่ที่ผู้ประกอบการต้องใส่ใจ

by Smart SME, 2 ตุลาคม 2558

               กระแสเรื่องความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้เข้ามามีบทบาทในภาคอุตสาหกรรมมากขึ้น มีการกำหนดมาตรการต่างๆ ออกมาเพื่อควบคุมผู้ประกอบการตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ให้ช่วยกันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยเฉพาะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศโลก

               Green Supply Chain Management หรือ การบริหารจัดการซัพพลายเชนที่คำนึงถึงผลกระทบด้าน

สิ่งแวดล้อมควบคู่กันไป จึงเป็นคำตอบที่ทั่วโลกต่างเล็งเห็นจากข้อตกลงพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) ซึ่งเป็น

ข้อผูกพันทางกฎหมายในการรับมือกับภาวะโลกร้อนเพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน เช่น ผู้ส่งมอบ

ผู้ออกแบบ ผู้ผลิต ผู้กระจายสินค้า ผู้ขนส่ง และผู้ค้าปลีกดำเนินการตามมาตรการที่กำหนดอย่างขมักเขม้นซึ่งครอบคลุม

กิจกรรมต่างๆ ดังต่อไปนี้

            • Green Supply คือการจัดซื้อจัดหาจากผู้ส่งมอบสีเขียว (Green Supplier) ด้วยวิธีการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้ระบบ Paperless การใช้ E-commerceเพื่อช่วยลดการใช้กระดาษ ตลอดจนการซื้อวัตถุดิบที่

เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น กระดาษที่รีไซเคิลได้ 100%

            • Green Logistics คือการบริหารจัดการโลจิสติกส์ให้มีต้นทุนต่ำ และมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยที่สุด

โดยเลือกรูปแบบการขนส่งที่ตอบโจทย์ เพื่อลดการบรรทุกไม่เต็มพาหนะและการวิ่งเที่ยวเปล่า การเปลี่ยนมาใช้พลังงานทดแทนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น ก๊าซ NGV,LPG การวางแผนเส้นทางการขนส่ง เพื่อประหยัดพลังงานตลอดจนการวางตำแหน่งศูนย์กระจายสินค้าที่เหมาะสม

            • Green Design คือการออกแบบผลิตภัณฑ์ตั้งแต่การเลือกและจัดหาวัตถุดิบ การใช้บรรจุภัณฑ์ที่

ย่อยสลายง่าย ตลอดจนการนำซากของผลิตภัณฑ์กลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลหรือฝังกลบ ทุกขั้นตอนควรมีการ

ปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยที่สุด และได้รับการส่งเสริมให้ติดฉลากสีเขียว (Green Label) เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับทราบ

            • Green Manufacturing คือการผลิตด้วยเทคโนโลยีสะอาด โดยมุ่งใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อเพิ่ม

ประสิทธิภาพและความสามารถในการทำกำไร ขณะเดียวกันก็ลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันนิยมใช้หลักการ

3R คือ Reduce, Reuse และ Recycle ในกระบวนการผลิตโดยมุ่งลดความสูญเสียที่ ‘แหล่งกำเนิด’ เป็นหลัก

            • Green Consumption คือการใช้ผลิตภัณฑ์ของผู้บริโภค ผู้ผลิตควรสื่อสารกับผู้บริโภคถึงวิธีการใช้ผลิตภัณฑ์

อย่างถูกวิธี และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งมีการจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้าที่เหมาะสม (Customer

Relationship Management)

            • Green Recycling คือการนำซากของผลิตภัณฑ์กลับมารีไซเคิล โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่มีสารพิษ ซึ่งมีความ

ยุ่งยากต่อการกำจัดและการรีไซเคิล วิศวกรผู้ออกแบบผลิตภัณฑ์จึงควรได้รับการอบรมเรื่องการถอดประกอบ

ซากผลิตภัณฑ์เพื่อให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ใช้ความพยายามและพลังงานน้อยที่สุด

               การดำเนินกิจกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเหล่านี้ต้องอาศัยความร่วมมือของผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดในระบบ

ซัพพลายเชน ยิ่งปัจจุบันผู้ประกอบการรายใหญ่ทั่วโลกให้ความสำคัญต่อแนวคิด Green Supply Chain

Management มาก ซึ่งแน่นอนว่าผู้ประกอบการไทยที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทาน ทั้งที่เป็นผู้ผลิตชิ้นส่วน (OEM) ก็ดี

หรือรับจ้างขนส่งให้กับกลุ่มบริษัทเหล่านี้ก็ดี ควรจะเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับต่อกระแสสีเขียวดังกล่าว รวมทั้ง

ติดตามกฎระเบียบหรือมาตรการต่างๆ อย่างใกล้ชิดและปรับตัวให้ทันเพื่อให้สามารถแข่งขัน รวมทั้งได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคและสังคมโลกในอนาคต

 

ที่มา : วารสารสายใจไฟฟ้า การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค


Mostview

นวัตกรรมชีวเคมี นำแบคทีเรียสร้างเซลลูโลส ส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน

นักวิจัยจากจุฬาฯ สร้างนวัตกรรม ‘เซลลูโลส’ จากแบคทีเรีย ทดแทนการนำเข้านับหมื่นล้านบาท ช่วย เศรษฐกิจหมุนเวียน และเป็น zero waste ภายใต้สิทธิบัตร ‘เซลโลกัม’

SOURCE Global บริษัทผู้ใช้แผงโซลาร์เซลล์เปลี่ยนอากาศให้กลายเป็นน้ำดื่ม แก้ปัญหาขาดแคลนน้ำ

ท่ามกลางอากาศที่แห้งแล้งในทะเลทรายของลาสเวกัส ดูเหมือนจะเป็นเรื่องยากกับการแหล่งน้ำที่มีความอุดมสมบูรณ์รอบบริเวณที่มีอยู่ โดยทางตอนใต้ของเนวาดากำลังเผชิญภัยแล้งที่เลวร้ายที่ครั้งในประวัติศาสตร์ที่ต้องบันทึกไว้ จนนำไปสู่การขาดแคลนน้ำ และข้อจำกัดในการใช้

Asahi เพิ่มการผลิตเครื่องดื่มไร้แอลกอฮอล์ ชูเป็นสินค้าหลัก หลังคนญี่ปุ่นดื่มเบียร์น้อยลง

Asahi แบรนด์ผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เตรียมดันการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้มากขึ้นกว่าเดิม หวังสร้างยอดขายในสัดส่วน 50% ภายในปี 2040

SmartSME Line