วันศุกร์, เมษายน 19, 2567

จาก 3 ชั่วโมงเหลือ 35 นาที อินเดียเติมฝันด้วย Hyperloop

by Phongsak, 2 สิงหาคม 2562

การที่อินเดียตัดสินใจเลือกใช้เทคโนโลยี Hyperloop เพื่อแก้ปัญหาในการเดินทางไกลระหว่างเมือง ไม่เพียงแต่เป็นการแก้ไขปัญหาเรื่องการเดินทางเท่านั้น แต่ยังเป็นการสร้างงานจำนวนมากมายให้เกิดขึ้นในประเทศอีกด้วย

เส้นทางสายแรกของ Hyperloop ในอินเดียจะเป็นการเดินทางระหว่างเมือง ปูเน - มุมไบ ที่ทุกวันนี้ใช้เวลาเดินทางมากกว่า 3 ชั่วโมง แต่ถ้าระบบขนส่งใหม่สร้างเสร็จผู้คนจำนวน 75 ล้านคนจะสามารถเดินทางระหว่าง 2 เมืองได้ในเวลาเพียงแค่ 35 นาทีเท่านั้น

การลงทุนครั้งนี้เป็นความร่วมมือระหว่าง Virgin Hyperloop One ของเจ้าพ่อกลุ่ม Virgin กับบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านโลจิสติกส์ DP World ของอินเดีย นี่คือประวัติศาสตร์ใหม่ในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ด้วยการเป็นระบบการขนส่งไฮเปอร์ลูปแห่งแรกของโลก การลงทุนนี้ทำให้อินเดียกลายเป็นผู้นำในทันที

นอกจากนี้อินเดียยังวางแผนที่จะพัฒนาเครือข่ายไฮเปอร์ลูปให้ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศอีกด้วย ซึ่งระบบของ Virgin Hyperloop One สามารถตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นได้ โดยสามารถรองรับผู้โดยสารมากถึง 200 ล้านคนต่อปี

อ้างอิง:


Mostview

นวัตกรรมชีวเคมี นำแบคทีเรียสร้างเซลลูโลส ส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน

นักวิจัยจากจุฬาฯ สร้างนวัตกรรม ‘เซลลูโลส’ จากแบคทีเรีย ทดแทนการนำเข้านับหมื่นล้านบาท ช่วย เศรษฐกิจหมุนเวียน และเป็น zero waste ภายใต้สิทธิบัตร ‘เซลโลกัม’

SOURCE Global บริษัทผู้ใช้แผงโซลาร์เซลล์เปลี่ยนอากาศให้กลายเป็นน้ำดื่ม แก้ปัญหาขาดแคลนน้ำ

ท่ามกลางอากาศที่แห้งแล้งในทะเลทรายของลาสเวกัส ดูเหมือนจะเป็นเรื่องยากกับการแหล่งน้ำที่มีความอุดมสมบูรณ์รอบบริเวณที่มีอยู่ โดยทางตอนใต้ของเนวาดากำลังเผชิญภัยแล้งที่เลวร้ายที่ครั้งในประวัติศาสตร์ที่ต้องบันทึกไว้ จนนำไปสู่การขาดแคลนน้ำ และข้อจำกัดในการใช้

Asahi เพิ่มการผลิตเครื่องดื่มไร้แอลกอฮอล์ ชูเป็นสินค้าหลัก หลังคนญี่ปุ่นดื่มเบียร์น้อยลง

Asahi แบรนด์ผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เตรียมดันการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้มากขึ้นกว่าเดิม หวังสร้างยอดขายในสัดส่วน 50% ภายในปี 2040

SmartSME Line