วันจันทร์, พฤษภาคม 6, 2567

“ผลไม้รถเข็น” ทรานฟอร์มใหม่ให้ตอบโจทย์ธุรกิจสตรีทฟู้ด ปลอดภัย ไม่สัมผัสผลไม้และเงินทอน

by Nanyarath Niyompong, 3 ตุลาคม 2562

แนวคิดการพัฒนา “ผลไม้รถเข็น” ผลงานของทีมนักวิจัย/ผู้พัฒนา ของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ซึ่งถือเป็นหนึ่งในธุรกิจสตรีทฟู้ดที่ตอบโจทย์ความต้องการผู้บริโภคชาวไทยและต่างประเทศ ที่ชื่นชอบการทานผลไม้ ในปริมาณที่พอเหมาะ ราคาไม่แพง อีกทั้งสามารถรับประทานได้ง่าย เนื่องจากผู้ค้าจะทำการ “ล้าง-ปอก-หั่น” แบบพร้อมทานให้ในทันที แถมมีน้ำจิ้มหลากรสชาติให้เลือกทานคู่อีกด้วย

 

 

อย่างไรก็ดี ทีมผู้วิจัยและออกแบบรถเข็น Hygienic Gen 1  ระบุว่าที่ผ่านมา ปัญหาของรถเข็นผลไม้พบข้อจำกัดในด้านความปลอดภัยอาหารในหลากหลายมิติ ทั้ง “ความสะอาด” ของน้ำที่ใช้ล้างผลไม้ น้ำแข็งที่ใช้รักษาความเย็นผลไม้ รวมถึงมือผู้ค้าที่ทั้งสัมผัสผลไม้ และทอนเงินลูกค้าโดยตรง

 

 

 

ตลอดจน “ความปลอดภัย” ของการจัดเก็บเปลือกผลไม้บริเวณพื้นถนน ที่อาจจะกลายเป็นแหล่งสะสมและก่อให้เกิดเชื้อโรคตามมาในอนาคต อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มภาระงานของผู้ปฏิบัติหน้าที่รักษาความสะอาดอีกด้วย หากผู้ค้ามีแนวทางในการบริหารจัดการขยะที่เกิดขึ้นภายหลังการซื้อขายไม่เพียงพอ

 

 


สำหรับ การออกแบบพัฒนารถเข็น Hygienic Gen 1 องค์ประกอบของรถเข็นผลไม้ดังกล่าวจะ ประกอบด้วย ระบบกรองน้ำดี – น้ำเสียที่มาพร้อมซิงก์ ระบบทำความเย็นผลไม้ และระบบจัดเก็บขยะ โดยมีขั้นตอนการใช้งาน และหลักการใช้งานเพียง 3 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้

(1) เตรียมน้ำแข็งวางลงในบล็อกทำความเย็น เพื่อคงความสดใหม่ของผลไม้ให้พร้อมขาย

(2) เตรียมน้ำสะอาดเข้าระบบกรองน้ำดี เพื่อให้พร้อมต่อการใช้ล้างมือและผลไม้

(3) เมื่อน้ำผ่านการใช้งานเรียบร้อยแล้ว จะเข้าสู่กระบวนการกรองน้ำเสียและพักไว้ใต้ท้องรถ เพื่อให้สามารถเททิ้งได้ตามธรรมชาติโดยไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม

 

 

 

 

ทั้งนี้ นวัตกรรมดังกล่าว นอกจากจะเป็นการสร้างมาตรฐานความปลอดภัยด้านอาหารในธุรกิจสายสตรีทฟู้ดแล้ว ยังช่วยสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภคว่าจะได้รับผลไม้ที่ทั้งสดและสะอาดอย่างแน่นอน รวมไปถึงปรับภูมิทัศน์ของพื้นที่ขายให้สะอาดปราศจากเชื้อโรค พร้อมกับลดภาระหน้าที่ของผู้ปฏิบัติหน้าที่รักษาความสะอาดอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม นวัตกรรมดังกล่าวอยู่ระหว่างการยื่นจดสิทธิบัตร และเตรียมการจัดจำหน่ายเชิงพาณิชย์

 

เจ้าของผลงาน

ทีมนักวิจัย/ผู้พัฒนา

ผศ.ดร. มาฤดี ผ่องพิพัฒน์พงศ์
ผู้วิจัยและออกแบบรถเข็น Hygienic Gen 1 ทั้งรถเข็นขายผลไม้และปิ้งย่าง
อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมอาหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.)

ผศ.ดร.นภัสรพี เหลืองสกุล หัวหน้าศูนย์ Food innopolis@KMITL
และรองคณบดีคณะอุตสาหกรรมเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.)

 


Mostview

ปิดแล้ว! ร้าน Lawson ฉากหลังภูเขาฟูจิ หลังนักท่องเที่ยวไม่ทำตามกฏ ทิ้งขยะเกลื่อน

อีกหนึ่งจุดถ่ายภาพเวลานักท่องเที่ยวไปภูเขาฟูจิที่ประเทศญี่ปุ่น นั่นคือพื้นที่ร้านสะดวกซื้อ Lawson ที่มีฉากหลังเป็นภูเขาฟูจิ ที่เรียกว่าเป็นแลนด์มาร์คที่ใครมาต้องมาถ่ายรูปให้ได้ แต่ตอนนี้กำลังจะเหลือเพียงความทรงจำ กลายเป็นอดีต

ผลกระทบขึ้นค่าแรง 400 บาท อาจทำให้สินค้าขยับราคาขึ้น 15%

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้สำรวจความคิดเห็นภาคเอกชน ทั้งในภาคส่วนการผลิต การค้า และบริการ การปรับอัตราค่าแรงในแต่ละครั้งมักจะมีผลกระทบต่อทั้ง GDP เงินเฟ้อ ผลิตภาพแรงงาน รวมถึงอัตราการว่างงานทั้งบวกและลบ

Wang Ning เจ้าของ Pop Mart ผู้กลายมาเป็นเศรษฐีจากการขายตุ๊กตา Molly ราคา 300 กว่าบาท ทั่วจีน

Pop Mart ร้านขายของเล่น Art Toys ชื่อดัง ที่ชั่วโมงนี้ไม่มีนักสะสมคนไหนไม่รู้จัก พร้อมที่จะมุ่งไปทันทีหากมีการเปิดขายคอลเล็กชันตัวละครใหม่ จนต้องมีการลงทะเบียนเพื่อรับคิวในการเข้าซื้อกันเลยทีเดียว

KFC มาเลเซียปิดกว่า 100 สาขา เพราะถูกชาวมุสลิมคว่ำบาตรธุรกิจสัญชาติสหรัฐฯ

KFC แฟรนไชส์สัญชาติอเมริกันกำลังตกเป็นเป้าหมายการรณรงค์คว่ำบาตรธุรกิจของประเทศที่มีความเชื่อมโยงกับอิสราเอลที่ทำสงครามกับชาวปาเลสไตน์จนมีประชาชนเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก

SmartSME Line