วันเสาร์, เมษายน 20, 2567

บริษัทเล็ก VS บริษัทใหญ่ เลือกทางไหนดี ข้อแตกต่างมีอะไรบ้าง?

by Smart SME, 25 พฤศจิกายน 2563

ถ้าวันหนึ่งคุณต้องเลือกเข้าทำงานกับบริษัทแห่งหนึ่งคุณจะเลือกทางไหน? ระหว่างบริษัทใหญ่ กับ บริษัทเล็ก เชื่อว่ามีหลายคนที่ยังตอบไม่ได้ และรู้สึกลังเล ซึ่งถ้าถามถึงความแตกต่างแน่นอนว่าบริษัททั้ง 2 มีความความแตกต่างกันอยู่แล้ว มีข้อดี ข้อเสียสลับกันไป จริงๆ ไม่ได้มีเจตนาเปรียบเทียบ แต่อยากให้ทุกคนมองเห็นข้อแตกต่าง จะได้ตัดสินใจได้ถูกว่าจะเลือกทางไหนดี มาดูกันว่าบริษัททั้ง 2 ขนาดมีอะไรที่แตกต่างกันบ้าง

การแข่งขันในการทำงาน

บริษัทใหญ่ : สิ่งหนึ่งที่คุณจะพบเจอแน่ ๆ เมื่อเข้าไปทำงานในบริษัทขนาดใหญ่ นั่นก็คือการแข่งขันที่สูง เพราะบริษัทขนาดใหญ่จะมีพนักงานจำนวนมาก แต่ตำแหน่งที่สูงขึ้นไปมีจำนวนน้อย ทำให้เกิดการแข่งขันระหว่างพนักงานด้วยกันเอง ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อมีการแข่งขันคำว่ามิตรภาพก็ดูจะเป็นเรื่องที่หาได้ยาก

บริษัทเล็ก : เมื่อบริษัทเล็ก พนักงานก็จะน้อย ทำให้การแข่งขันไม่สูง สิ่งสำคัญคือการแข่งขันกับตัวเอง ต้องพัฒนาตัวเองอยู่ตลอด เพราะบางคนพอรู้สึกว่าไม่ต้องไปแข่งกับใครก็จะเอื่อยเฉื่อย ไม่พัฒนาตัวเอง

ความมั่นคงและความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่

บริษัทใหญ่ : มีความมั่นคงสูง และมีโอกาสเลื่อนตำแหน่งค่อนข้างยาก เพราะมีการแข่งขันสูง แต่ถ้าคุณมั่นใจ มีความสามารถ และพร้อมพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดก็ไม่ใช่เรื่องยาก

บริษัทเล็ก : มีโอกาสเสี่ยงสูง เพราะบริษัทเล็ก ๆ จะมีความมั่นคงน้อยกว่า แต่โอกาสในการเลื่อนตำแหน่งมีมาก เพราะมีการแข่งขันน้อย พนักงานไม่มาก

เงินเดือนและสวัสดิการต่าง ๆ

บริษัทใหญ่ : ส่วนใหญ่บริษัทใหญ่ ๆ จะมีฐานเงินเดือนเริ่มต้นที่สูงกว่าบริษัทเล็ก เมื่อเทียบในตำแหน่งงานเดียวกัน และมีสวัสดิการต่าง ๆ ที่เป็นแบบแผน เป็นมาตรฐาน เพื่อรองรับพนักงาน เช่น ประกันสังคม การเบิกสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลพ่อแม่ การเบิกสวัสดิการค่าเทอมบุตร เป็นต้น และยังมีมาตรฐานในการจ่ายโบนัสด้วย

บริษัทเล็ก : ไม่ใช่บริษัทเล็กทั้งหมดที่จะมีฐานเงินเดือนต่ำกว่าบริษัทใหญ่ ๆ แต่ส่วนมากจะเป็นแบบนั้น ด้วยปัจจัยหลาย ๆ อย่าง ทั้งภาระงานหรือการแข่งขัน แต่ก็ไม่ได้แตกต่างกันมากเท่าไหร่ บริษัทเล็กอาจจะมีสวัสดิการที่น้อยกว่าบางที่อาจจะมีแค่ ประกันสังคมเพียงอย่างเดียว

ค่าคอมมิชชั่น

บริษัทใหญ่ : บริษัทใหญ่ ๆ จะมีการจ่ายค่าคอมมิชชั่นที่รัดกุม มีความยุ่งยากในการคิดคำนวณ เพราะทุกอย่างต้องตรง มีมาตรฐานในการคำนวณที่ชัดเจน เช่น คิดจากฐานเงินเดือน เป็นต้น ซึ่งจะไม่ใช่ค่าคอมมิชชั่นที่สูง เพราะต้องแบ่งกระจายสำหรับหลายคน

บริษัทเล็ก : ตรงกันข้าม บริษัทเล็ก ๆ จะมีการคำนวณค่าคอมมิชชั่นที่ไม่ซับซ้อน เข้าใจง่าย เช่น คิดจากกำไรประจำปี ขายได้เท่าไหร่ ก็ได้เปอร์เซ็นค่าคอมมิชชั่นเท่านั้น ถ้าคุณขยันบางทีค่าคอมอาจจะมากกว่าเงินเดือนด้วยซ้ำ

มิตรภาพ ความสัมพันธ์ภายในบริษัท

บริษัทใหญ่ : บริษัทขนาดใหญ่ จำนวนพนักงานมาก ความใกล้ชิด ความสัมพันธ์ระหว่างพนักงานจึงมีน้อย บางคนทำงานที่เดียวกันมาหลายปี อาจไม่เคยเจอหน้ากันด้วยซ้ำ อีกทั้งยังมีการแข่งขันสูง การทำงานในบริษัทใหญ่ๆ จึงหาความสัมพันธ์ที่ดีไม่ค่อยได้ แต่ไม่ใช่ว่าจะไม่มีเลย

บริษัทเล็ก : คนน้อย ความใกล้ชิดก็จะมีมาก บริษัทเล็กๆ หลายที่จึงมีความสัมพันธ์ในรูปแบบของครอบครัว เพราะรู้จักกันหมด ทำงานด้วยกันตลอด พบเจอกันทุกวัน ถ้าใครที่ไม่ได้ชอบการแข่งขัน ชอบความเป็นครอบครัวบริษัทเล็กจะน่าอยู่กว่า

กฎระเบียบ และความยืดหยุ่นในการทำงาน

บริษัทใหญ่ : บริษัทใหญ่ๆ ความยืดหยุ่นในการทำงานมีน้อย มีกฎระเบียบที่ชัดเจน ตายตัว สายคือสาย หรือถ้ามีข้อผิดพลาดอาจโดนบทลงโทษในทันทีไม่มีการตักเตือน ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของบริษัทนั้นๆ

บริษัทเล็ก : บริษัทขนาดเล็กมักจะไม่มีกฎระเบียบมาเท่าไหร่นัก เป็นการทำงานแบบสบายๆ มากกว่า มีความยืดหยุ่นสูง ยิ่งถ้าเป็นบริษัทที่มีเจ้าของลงมาดูแลเองก็จะยิ่งดี เพราะถ้ามีปัญหาอะไรก็สามารถปรึกษาได้เลย

ไม่ว่าจะเป็นบริษัทขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ ต่างก็มีข้อดี ข้อเสียที่แตกต่างกันออกไป ถ้าถามว่าแบบไหนดีกว่าคงตอบได้ยาก เลือกที่คุณคิดว่าเหมาะสมกับคุณจะดีกว่า ได้ทำงานในที่ที่สบายใจน่าจะเป็นคำตอบที่ดีที่สุด

 

Tag :

Mostview

นวัตกรรมชีวเคมี นำแบคทีเรียสร้างเซลลูโลส ส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน

นักวิจัยจากจุฬาฯ สร้างนวัตกรรม ‘เซลลูโลส’ จากแบคทีเรีย ทดแทนการนำเข้านับหมื่นล้านบาท ช่วย เศรษฐกิจหมุนเวียน และเป็น zero waste ภายใต้สิทธิบัตร ‘เซลโลกัม’

SOURCE Global บริษัทผู้ใช้แผงโซลาร์เซลล์เปลี่ยนอากาศให้กลายเป็นน้ำดื่ม แก้ปัญหาขาดแคลนน้ำ

ท่ามกลางอากาศที่แห้งแล้งในทะเลทรายของลาสเวกัส ดูเหมือนจะเป็นเรื่องยากกับการแหล่งน้ำที่มีความอุดมสมบูรณ์รอบบริเวณที่มีอยู่ โดยทางตอนใต้ของเนวาดากำลังเผชิญภัยแล้งที่เลวร้ายที่ครั้งในประวัติศาสตร์ที่ต้องบันทึกไว้ จนนำไปสู่การขาดแคลนน้ำ และข้อจำกัดในการใช้

Asahi เพิ่มการผลิตเครื่องดื่มไร้แอลกอฮอล์ ชูเป็นสินค้าหลัก หลังคนญี่ปุ่นดื่มเบียร์น้อยลง

Asahi แบรนด์ผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เตรียมดันการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้มากขึ้นกว่าเดิม หวังสร้างยอดขายในสัดส่วน 50% ภายในปี 2040

SmartSME Line