วันจันทร์, พฤษภาคม 6, 2567

ใครคือเจ้าตลาด! เทียบฟอร์ม 3 ผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือ แบรนด์ไหนมีผลประกอบการดีที่สุด

by Anirut.j, 17 ธันวาคม 2563

ปัจจุบันอาจจะเรียกได้ว่า “สมาร์ทโฟน” กลายเป็นอุปกรณ์สื่อสารที่ผู้คนส่วนใหญ่มักต้องพกไว้ติดตัว ด้วยความสะดวกสบายที่สามารถใช้งานได้อย่างหลากหลายผ่านอุปกรณ์เพียงเครื่องเดียว ทั้ง โทรเข้า-โทรออก, ส่งข้อความ, เล่นสื่อโซเชียลมีเดีย ตลอดจนรับชมความบันเทิงต่าง ๆ ดังนั้นจึงปฏิเสธไม่ได้เลยว่า “สมาร์ทโฟน” เป็นอุปกรณ์ของผู้คนในยุคดิจิทัลที่ขาดไม่ได้

สำหรับในประเทศไทยมีผู้ให้บริการเครือข่ายมือถืออยู่ 3 ราย ที่ใครหลายคนเป็นลูกค้า ได้แก่ AIS, DTAC และ True ที่อยู่ให้บริการคู่กับคนไทยมาเป็นระยะเวลาหลายสิบปี หากมองในแง่ของการทำธุรกิจ สิ่งที่เป็นเทคโนโลยี ส่งสัญญาณผ่านคลื่นอากาศ ย่อมสามารถสร้างรายได้อย่างมหาศาล

สำหรับในปี 2563 แม้จะมีการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 แต่ก็สร้างผลกระทบกับผู้ให้บริการมือถือในประเทศไทยเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แม้ว่าผลประกอบการอาจจะมีสัดส่วนลดลงจากเดิม แต่ก็ไม่ได้มากสักเท่าไหร่ โดยผลประกอบการตลอด 3 ไตรมาสของปี 2563 ของแต่ละแบรนด์ผู้ให้บริการมีดังต่อไปนี้

AIS

รายได้ไตรมาสแรก/2563 จำนวน 41,205 ล้านบาท
รายได้ไตรมาส 2/2563 จำนวน 42,256 ล้านบาท
รายได้ไตรมาส 3/2563 จำนวน 41,715 ล้านบาท
รวม 125,176 ล้านบาท

DTAC

รายได้ไตรมาสแรก/2563 จำนวน 20,075 ล้านบาท
รายได้ไตรมาส 2/2563 จำนวน 19,196 ล้านบาท
รายได้ไตรมาส 3/2563 จำนวน 19,053 ล้านบาท
รวม 58,324 ล้านบาท

True

รายได้ไตรมาสแรก/2563 จำนวน 28,491 ล้านบาท
รายได้ไตรมาส 2/2563 จำนวน 33,878 ล้านบาท
รายได้ไตรมาส 3/2563 จำนวน 33,008 ล้านบาท
รวม 95,377 ล้านบาท

หากดูในส่วนของลูกค้าที่ใช้งาน (อ้างอิงจากไตรมาส 3/2563) พบว่า AIS ยังคงมีจำนวนเลขหมายของลูกค้าสูงที่สุดในตลาดที่ 40.9 ล้านหมายเลข แบ่งเป็นลูกค้ารายเดือน จำนวน 9.7 ล้านราย ลดลง 235,000 ราย ลูกค้าแบบเติมเงิน 31.2 ล้านราย ลดลง 313,000 ราย ซึ่งเป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ได้รับผลกระทบมาตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี และส่งผลต่อเนื่องมายังไตรมาส 3

ตามมาด้วย True ที่มีฐานลูกค้ารวมจำนวน 30.1 ล้านราย แบ่งเป็นลูกค้าระบบเติมเงิน 20.8 ล้านรายและระบบรายเดือน 9.3 ล้านราย และ DTAC มีจำนวนผู้ใช้บริการรวม 18.7 ล้านหมายเลข ลดลง 1.07 แสนเลขหมายจากไตรมาสก่อน โดยเป็นผลหลักมาจากการลดลงในระบบเติมเงิน เนื่องจากการฟื้นตัวที่ล่าช้าจากสถานการณ์ที่ยืดเยื้อของการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น

ที่มา: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

เรื่องที่เกี่ยวข้อง


Mostview

ปิดแล้ว! ร้าน Lawson ฉากหลังภูเขาฟูจิ หลังนักท่องเที่ยวไม่ทำตามกฏ ทิ้งขยะเกลื่อน

อีกหนึ่งจุดถ่ายภาพเวลานักท่องเที่ยวไปภูเขาฟูจิที่ประเทศญี่ปุ่น นั่นคือพื้นที่ร้านสะดวกซื้อ Lawson ที่มีฉากหลังเป็นภูเขาฟูจิ ที่เรียกว่าเป็นแลนด์มาร์คที่ใครมาต้องมาถ่ายรูปให้ได้ แต่ตอนนี้กำลังจะเหลือเพียงความทรงจำ กลายเป็นอดีต

ผลกระทบขึ้นค่าแรง 400 บาท อาจทำให้สินค้าขยับราคาขึ้น 15%

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้สำรวจความคิดเห็นภาคเอกชน ทั้งในภาคส่วนการผลิต การค้า และบริการ การปรับอัตราค่าแรงในแต่ละครั้งมักจะมีผลกระทบต่อทั้ง GDP เงินเฟ้อ ผลิตภาพแรงงาน รวมถึงอัตราการว่างงานทั้งบวกและลบ

Noumami บริษัทนอร์เวย์ ผลิตน้ำปลาจากแซลมอน แบรนด์แรกของโลก

“น้ำปลา” จัดเป็นสินค้าสัตว์น้ำพื้นเมืองของประเทศไทย โดยปลาที่นิยมนำมาเป็นวัตถุดิบ ได้แก่ ปลากะตัก ปลาสร้อย ปลาซิวแก้ว แต่ตอนนี้ไม่ใช่แค่ปลาดังกล่าวที่พูดมาสามารถนำมาทำเป็นน้ำปลาได้ เพราะปลาแซลมอนก็สามารถนำมาผลิตได้เช่นกัน

Wang Ning เจ้าของ Pop Mart ผู้กลายมาเป็นเศรษฐีจากการขายตุ๊กตา Molly ราคา 300 กว่าบาท ทั่วจีน

Pop Mart ร้านขายของเล่น Art Toys ชื่อดัง ที่ชั่วโมงนี้ไม่มีนักสะสมคนไหนไม่รู้จัก พร้อมที่จะมุ่งไปทันทีหากมีการเปิดขายคอลเล็กชันตัวละครใหม่ จนต้องมีการลงทะเบียนเพื่อรับคิวในการเข้าซื้อกันเลยทีเดียว

SmartSME Line