วันพุธ, เมษายน 24, 2567

"แฟรนไชส์กัญชา" ธุรกิจ "ไม่ตาย" แม้เผชิญ "วิกฤตโควิด"

by Smart SME, 11 กรกฎาคม 2564

ในวันที่ ธุรกิจ โดยเฉพาะผู้ประกอบการร้านอาหาร คาเฟ่ และ SMEs หลายรายกำลังได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัวโควิด-19จากมาตรการควบคุมการระบาดของรัฐบาล ตั้งแต่ช่วงปี 2563 ที่ผ่านมา

 

หลายธุรกิจต้องปรับตัว ก่อนจะพบทางรอดของธุรกิจตนเอง เช่นเดียวกันกับ ธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่มจากกัญชา ซึ่งพบว่า ภายหลังจากที่มีการปลดล็อก ให้ใช้ส่วนใบ ก้าน ราก ลำต้นในการประกอบอาหารได้หลาย ก็มีเจ้าของธุรกิจหลายรายที่ได้รับรายได้อย่างมหาศาล ผ่านทางการทำแฟรนไชส์

 

เราไม่อาจบอกได้ว่าธุรกิจเหล่านั้นเติบโตได้มากน้อยแค่ไหน เนื่องจากหลายแบรนด์ต่างอุบเงียบโดยถือเป็นกลยุทธ์ ความลับ ที่ไม่อาจเปิดเผยให้กับผู้แข่ง ที่สำคัญ การเปิดเผยถึงแผนการดำเนินงานอาจมีผลกระทบต่อการแข่งขันที่ค่อนข้างสูงในตลาดแฟรนไชส์กลุ่มนี้ได้

 

โดยจากข้อมูลได้เราพบว่า ในตลาดนี้มีแฟรนไชส์แบรนด์หลัก ที่อาศัยความเร็วและการช่วงชิงพื้นที่ทำตลาดได้ก่อนเจ้าอื่นๆ เช่น “สยามกัญยา” ซึ่งถือเป็นเจ้าแรกๆ ที่เปิดตัวด้วยแฟรนไชส์ราคา 200,000 บาท และเน้นเจาะกลุ่มร้านอาหาร ขยายสาขากว่า 200 สาขา ก่อนที่จะมีช่วงดร็อป แพ้ภัยตัวเอง เมื่อ “ดีมานด์” ไม่สอดคล้องกับ “ซัพพลาย” เนื่องด้วยวัตถุดิบขาดแคลน ไม่สามารถหามาป้อนให้กับลูกข่ายได้


.
นอกจากนี้ยังมีแบรนด์อื่นๆ ที่เติบโตขึ้นมา ในช่วงเวลาเดียวกัน อย่าง “คาเฟ่ ชากัญ” แฟรนไชส์คาเฟ่ เน้นเมนูหลักคือเครื่องดื่มจากกัญชา โดยมีค่าเฟรนไชส์เริ่มต้นที่ 69,000 บาท


.
“กัญญนัช”แฟรนไชส์คาเฟ่กัญชา ที่เริ่มต้นเปิดตัวช่วงเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา พร้อมกับตั้งเป้าการขยายสาขาในช่วงแรก คือ จังหวัดละ 1 สาขา ก่อนจะมีเป้าขยายเพิ่มเป็น 200-400 สาขาภายในปี 64 นี้ เน้นเจาะตลาด สนามบิน ห้างสรรพสินค้า โรงพยาบาล ปั๊มน้ำมัน โดยมีช่วงอายุลูกค้าอยู่ที่ 23-45 ปี ซึ่ง “กัญญนัช” วิเคราะห์การตลาดในกลุ่มนี้ว่า ยังคงมีกระแสนิยมติดลมบนอยู่อีก 5-8 ปีนับจากนี้ ราคาแฟรนไชส์รวมการก่อสร้างร้านด้วยแล้วมีตั้งแต่ 9.2แสน จนถึง 2.8 ล้านบาท


.
“Hemp House” แฟรนไชส์อาหาร เครื่องดื่ม และผลิตภัณฑ์ผสมกัญชา ในพื้นที่ทำเลอย่างอาคารสำนักงาน และห้างสรรพสินค้า ซึ่งเปิดตัวไปเมื่อเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา โดยมีค่าแฟรนไชส์เริ่มต้น 200,000 – 300,000 บาท ซึ่งคาดว่าจะได้รับการมีผู้ซื้อแฟรนไชส์ 100-200 สาขา ตั้งเป้าหมายยอดขายที่ 500 ล้านบาทในปีแรก

 

“รักษกัญ” แบรนด์จำหน่ายผลิตภัณฑ์จากกัญชา โดยเฉพาะ ขนมและเครื่องดื่ม เปิดตัวแฟรนไชส์ที่ราคา 300,000 บาท โดยตั้งเป้าขยาย 100 สาขา ภายในปี 64

 

ที่เรากล่าวมาข้างต้น คือ แฟรนไชส์ในกลุ่มบน ซึ่งมีราคาลงทุนสูง ขณะที่กลุ่มธุรกิจเครื่องดื่มที่มีราคาแฟรนไชส์ไม่สูงมากนัก ยังมีผลการตอบรับค่อนข้างดี

 

"วรกาญจน์ แอ่นปัญญา" เจ้าของแฟรนไชส์ “ชาอัน-อัน กัญจ๊ะ” เล่าให้เราฟังว่า แม้สถานการณ์จากโควิด-19 จะมีผลกระทบต่อธุรกิจแต่ก็ไม่มากนัก เนื่องจากกระแสในวันนี้ คนต้องการมีธุรกิจเสริมรายได้ จึงยังคงทำให้แฟรนไชส์ของเธอเป็นที่สนใจอยู่ เพราะด้วยจุดเด่นที่สามารถลงทุน ในจำนวนเงินไม่สูงมากนัก ราคาขายที่สามารถจับต้องได้ทั้งผู้ลงทุน และผู้บริโภค

 

โดยบริษัทไม่หักเปอร์เซ็นต์จากยอดขาย ไม่มีค่าธรรมเนียมรายปี/รายเดือน มีการสอนการทำตลาดออนไลน์-ออฟไลน์ พร้อมบริการให้คำปรึกษาหลังการขายผ่านกลุ่มไลน์ และเฟสบุ๊ก ที่สำคัญคือมีการสอนการขายบนแอปขายอาหาร เช่น Lineman, Food Panda, Grap Food โดยแฟรนไชส์มีราคาเริ่มต้นตั้งแต่ 29,900-69,900 บาท

.
ด้าน “เด็กชา” ซึ่งได้แตกไลน์ธุรกิจแฟรนไชส์เพิ่มขึ้นในชื่อของ “เด็กกัญ” โดยมีราคาแฟรนไชส์เริ่มต้นที่ 49,000 บาท หลังเปิดตัวในเดือนเม.ย. พบว่าเพียง 1 เดือนขยายแล้วกว่า 55 สาขา

 

“ไพรกัญชา” แฟรนไชส์อาหารและเครื่องดื่มจากกัญชา ที่ได้รับกระแสตอบรับเป็นอย่างดีเช่นกัน เนื่องจากราคาลงทุนที่ไม่สูงมากนัก เริ่มต้นที่ 25,000-50,000 บาท โดยพบว่าหลังจากเปิดตัวได้ 3 เดือน มีการขยายสาขาไปแล้ว 19 สาขา

 

“ฮิพกัญ” น้องใหม่แฟรนไชส์เครื่องดื่มกัญชา ที่มีทั้งเครื่องดื่มร้อน อย่างชา และกาแฟ เครื่องดื่มเย็นที่ใส่ลูกเล่นใหม่อย่างคราฟโซดากัญชา ก็ได้รับกระแสตอบรับเป็นอย่างดี โดยมีการสมัครสมาชิก และขายแฟรนไชส์ไปแล้วกว่า 20 สาขา ซึ่งสาขาแรกตั้งอยู่ที่โซน “สุขสยาม” ห้าง “ไอคอนสยาม” โดยมีราคาแฟรนไชส์เริ่มต้นที่สามารถจับต้องได้ ตั้งแต่ไซส์เล็ก 19,900 บาท จนถึงไซส์ใหญ่ราคา 129,000 บาท

 

ในช่วงภาวะเศรษฐกิจขณะนี้ จะเห็นได้ว่าแฟรนไชส์กัญชา ในระดับราคาไม่สูงมากนักยังคงเป็นธุรกิจที่น่าลงทุน และตลาดยังคงเปิดกว้างอยู่ โดยนอกจากจะเป็นการสร้างอาชีพเสริมแล้ว ยังสามารถต่อยอดไปกลายเป็นอาชีพหลักได้อีกทางหนึ่ง

 

อย่างไรก็ตามผู้ที่สนใจจะเริ่มต้นธุรกิจด้านเครื่องดื่มกัญชา ควรศึกษาถึงการลงทุน และข้อกฎหมายต่างๆ จากธุรกิจแฟรนไชส์ที่สนใจอย่างละเอียด เพื่อให้ได้ข้อมูลครบถ้วนก่อนตัดสินใจลงทุน

 

คเชนทร์  พลประดิษฐ์
คเชนทร์ พลประดิษฐ์ Senior Writer เว็บไซต์ smart sme

Mostview

นวัตกรรมชีวเคมี นำแบคทีเรียสร้างเซลลูโลส ส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน

นักวิจัยจากจุฬาฯ สร้างนวัตกรรม ‘เซลลูโลส’ จากแบคทีเรีย ทดแทนการนำเข้านับหมื่นล้านบาท ช่วย เศรษฐกิจหมุนเวียน และเป็น zero waste ภายใต้สิทธิบัตร ‘เซลโลกัม’

หนุ่มอายุ 25 ปี ใช้ AI สร้างรายได้เกือบ 2 ล้านบาท ใช้เวลาแค่ 2 เดือน

เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ถูกพูดถึงอย่างในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่ามา และคาดการณ์ว่าจะเข้ามามีบทบาทเป็นส่วนหนึ่งของการทำธุรกิจต่อไปในวันข้างหน้า

Asahi เพิ่มการผลิตเครื่องดื่มไร้แอลกอฮอล์ ชูเป็นสินค้าหลัก หลังคนญี่ปุ่นดื่มเบียร์น้อยลง

Asahi แบรนด์ผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เตรียมดันการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้มากขึ้นกว่าเดิม หวังสร้างยอดขายในสัดส่วน 50% ภายในปี 2040

SOURCE Global บริษัทผู้ใช้แผงโซลาร์เซลล์เปลี่ยนอากาศให้กลายเป็นน้ำดื่ม แก้ปัญหาขาดแคลนน้ำ

ท่ามกลางอากาศที่แห้งแล้งในทะเลทรายของลาสเวกัส ดูเหมือนจะเป็นเรื่องยากกับการแหล่งน้ำที่มีความอุดมสมบูรณ์รอบบริเวณที่มีอยู่ โดยทางตอนใต้ของเนวาดากำลังเผชิญภัยแล้งที่เลวร้ายที่ครั้งในประวัติศาสตร์ที่ต้องบันทึกไว้ จนนำไปสู่การขาดแคลนน้ำ และข้อจำกัดในการใช้

SmartSME Line