วันจันทร์, เมษายน 29, 2567

บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปกับบริบทสังคมไทย หากยอดขายดี เศรษฐกิจไม่ดี จริงหรือ?

by Anirut.j, 28 พฤศจิกายน 2566

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า “บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป” หรือคนไทยจะเรียกชื่อกันติดปากว่า “มาม่า” เป็นอาหารที่มีติดแทบทุกบ้านเป็นส่วนใหญ่ ด้วยปัจจัยสนับสนุนหลายด้านด้วยกัน ทั้งในเรื่องราคา ขั้นตอนการทำที่ไม่ยุ่งยาก การหาซื้อตามร้านค้า, ร้านสะดวกซื้อ ที่ค่อนข้างง่าย เหล่านี้จึงทำให้ “บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป” เป็นอาหารไม้ตายเวลาหิวของใครหลายคน

ไม่เพียงเท่านั้น “บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป” ยังถูกนำมาเปรียบเทียบเกี่ยวกับการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ผู้คนมักพูดว่า “ช่วงไหนที่บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปขายดี แสดงว่าช่วงนั้นเศรษฐกิจไม่ดี”

มูลค่า “บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป” ประเทศไหนกินเยอะสุด

ก่อนอื่นเรามาดูมูลค่าของบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปกันก่อน โดยตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในปี 2566 พบว่ามีมูลค่ารวม 20,000 ล้านบาท เติบโต 14% จากปีที่ผ่านมา ความนิยมในการบริโภคไม่ใช่มีแค่ในประเทศไทยเท่านั้น เพราะข้อมูลของ World Instant Noodles ระบุว่า จีนและฮ่องกง บริโภคบริโภคบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมากที่สุดเป็นอันดับ 1 คิดเป็น 45,070 ล้านเสิร์ฟ ส่วนประเทศไทยอยู่ในอันดับ 9 คิดเป็น 3,870 ล้านเสิร์ฟ และเมื่อดู Top 10 ก็มีประเทศมหาอำนาจของโลกที่เข้ามาติดอันดับเช่นกัน เช่น สหรัฐฯ ติดอันดับ 6, ญี่ปุ่น ติดอันดับ 5

สำหรับประเทศไทย แน่นอนว่าแบรนด์บะหมี่กึ่งสำเร็จที่ผู้บริโภครู้จักกันดีมีอยู่ 3 แบรนด์ด้วยกัน

1.มาม่า ของบริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด โดยผลประกอบการในปี 2565 ธุรกิจมีรายได้รวม 16,947 ล้านบาท กำไร 1,925 ล้านบาท นอกจากนี้ ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาก็มีข่าวออกมาว่าบริษัทประกาศจ่ายโบนัสเพิ่ม 1 เดือน ในช่วงวันที่ 25 ธ.ค.2566 ก่อนจะจ่ายเพิ่มอีก 3-5 เท่า ของเงินเดือนพนักงานในวันที่ 25 ม.ค.67

2.ไวไว ของบริษัท โรงงานผลิตภัณฑ์อาหารไทย จำกัด โดยผลประกอบการปี 2565 ธุรกิจมีรายได้รวม 7,734 ล้านบาท กำไร 125 ล้านบาท

3.ยำยำ ของบริษัท วันไทยอุตสาหกรรมการอาหาร จำกัด ธุรกิจมีรายได้รวม 6,106 ล้านบาท กำไร 296 ล้านบาท

หากนำตัวเลขผลประกอบการมาวิเคราะห์ เปรียบเทียบ ตลอดจนการแจกโบนัสพนักงาน 6,000 ของมาม่าในปีนี้ ก็อาจตีความได้ว่าธุรกิจอาหารประเภทนี้กำลังไปได้ด้วย มีผลกำไรที่ยอดเยี่ยม สะท้อนให้เห็นว่าผู้บริโภคซซื้อบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปกันเป็นจำนวนมาก และมีอัตราการเติบโตสูงขึ้นเรื่อย ๆ

แต่เรื่องนี้ก็ไม่ได้ให้คำตอบว่า การที่ยอดขายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปดี แสดงว่าเศรษฐกิจไม่ดี คำถามนี้อาจจะมองในมุมที่ว่าบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเป็นอาหารราคาถูก เพียงซองละ 8 บาท จึงเกิดการตีความว่าเป็นอาหารของคนมีรายได้น้อย มีเงินใช้จ่ายในชีวิตประจำวันที่ค่อนข้างจำกัด แต่ความจริงแล้วไม่ใช่แบบนั้นเลย เพราะบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ไม่ว่าจะจนหรือรวย ก็สามารถซื้อมาไว้ที่บ้านได้ ด้วยความที่กินง่าย ขั้นตอนไม่ยุ่งยาก แค่เทน้ำร้อน รอไม่เกิน 5 นาที ก็สามารถกินได้ทันที

นอกจากนี้ ปัจจัยสนับสนุนที่ทำให้บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปยังคงเป็นที่นิยมของหมู่ผู้บริโภค คงหนีไม่พ้น การทำการตลาดของแบรนด์บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปของแต่ละแบรนด์ที่จัดโปรโมชัน ออกรสชาติใหม่ ๆ ออกมาตามเทรนด์ที่เปลี่ยนแปลงไป เหล่านี้นำมาสู่ยอดขายที่เติบโตของธุรกิจ

อีกทั้ง เมื่อเปรียบเทียบในเรื่องของกลุ่มเป้าหมายจะพบว่า ผู้บริโภคที่ซื้อบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปนั้นจะมีรายได้ปานกลาง-สูง อาศัยอยู่ในเขตเมือง แน่นอนว่ากลุ่มนี้พวกเขามีกำลังซื้ออยู่แล้ว และจะซื้อในลักษณะกักตุน แม้ว่าที่ผ่านมาจะมีการปรับขึ้นราคา แต่ก็ยังซื้ออยู่ เรื่องราวเหล่านี้ไม่สามารถนำมาชี้วัดระบบทางเศรษฐกิจได้

ยิ่งไปกว่านั้น ประเทศที่มีการบริโภคบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมากที่สุด นั่นคือ จีน ซึ่งเป็นประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจลำดับต้น ๆ ของโลก หากนำตรรกะนี้เข้ามาใช้ว่า การที่คนกินบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเยอะ แสดงว่าเศรษฐกิจไม่ดี ก็ดูไม่สมเหตุสมผลสักเท่าไหร่

สุดท้าย เราควรหยุดที่จะตั้งคำถามนี้ แต่ควรมองอีกมุมหนึ่งว่าการที่สินค้าใดสินค้าหนึ่งขายดี แสดงให้เห็นถึงกำลังซื้อของผู้คนในประเทศนั้น ส่งผลต่อให้เกิดมีเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ ตลอดจนเรื่องที่ไม่ควรมองข้ามนั่นคืออาหารประเภทนี้อาจเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตของผู้คนก็เป็นได้

เรื่องที่เกี่ยวข้อง


Mostview

เปิดธุรกิจที่ได้รับประโยชน์ หากเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท เริ่มใช้งาน

ผลสำรวจบอกผู้มีสิทธิ์ใช้เงินดิจิทัลวอลเล็ต จะเลือกใช้จ่ายร้านค้าท้องถิ่น 40% รองลงมาเป็นร้านสะดวกซื้อ เช่น CJ, 7-Eleven 26%

สิงคโปร์ แจกเงินละ 8,000 บาท ให้ 1.1 ล้านครัวเรือนไปซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า-ประปา ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

จากสถานการณ์โลกร้อนทำให้หลายประเทศกลับมาตระหนักถึงเรื่องนี้กันมากยิ่งขึ้น ทำอย่างไรที่จะออกนโยบายที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทำให้ประชาชนตระหนักถึงเรื่องนี้เป็นอันดับต้น ๆ

จับตาราคา “เนย” เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในตลาดโลกใกล้แตะระดับสูงสุดเท่าทีเคยมีมา

ไม่ใช่ “โกโก้” เท่านั้นที่ราคาพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์จากปัจจัยเรื่องของสภาพอากาศที่เลวร้าย และโรคที่มากับพืชจนส่งผลกระทบต่อแหล่งเพาะปลูก ทำให้ได้ผลผลิตน้อย นำมาสู่การปรับราคาของสินค้าที่มี “โกโก้” เป็นส่วนผสม ซึ่งคาดการณ์ว่าราคาจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ

หาคำตอบ? เพราะอะไรลูกค้าถึงรำคาญการตั้งราคาของแบรนด์อาหารจานด่วน

เครือร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดขึ้นราคาเมนูอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยอ้างปัจจัยหลายอย่างรวมกัน ไม่ว่าจะเป็น ต้นทุนวัตถุดิบ, การขาดแคลนแรงงาน ตลอดจนความไม่สงบระหว่างรัสเซีย-ยูเครน

SmartSME Line