วันศุกร์, พฤษภาคม 3, 2567

รู้ยัง! SMEs ไทยมีปัญหาด้านอะไรบ้าง

by Smart SME, 29 กันยายน 2559

เมื่อพูดถึง SMEs อาจจะกล่าวได้ว่าพวกเขาเหล่านี้ถือเป็นกำลังสำคัญที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยก้าวไปข้างหน้า โดยได้รับการส่งเสริม สนับสนุน ตลอดจนการออกนโยบายต่างๆจากหน่วยงานภาครัฐ อย่างไรก็ตามจากข้อมูลของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมที่มีการศึกษาวิจัย พบว่า SMEsไทย ยังประสบปัญหาด้วยกันหลายด้านด้วยกัน ปัญหาแต่ละด้านมีอะไรมาบ้างมาดูกันครับ 1.ปัญหาด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม :เทคโนโลยีเป็นองค์ประกอบและปัจจัยที่สำคัญในการดำเนินธุรกิจ ซึ่ง SMEs ยังขาดความรู้พื้นฐานด้านเทคนิคอันทันสมัยที่นำมาสร้างความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์และบริการ ซึ่งหากมีการประยุกต์นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้สามารถยกระดับธุรกิจ สร้างมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ นำมาสู่การอยู่รอดของธุรกิจในสภาวะการแข่งขันที่รุนแรงได้ 2.ปัญหาด้านการผลิต : SMEs ส่วนใหญ่มักจะเสียเวลาไปกับเรื่องกระบวนการผลิตที่ไร้ประสิทธิภาพและประสิทธิผล มีการใช้ทรัพยากรได้ไม่เต็มที่ รวมไปถึงการขาดแคลนเงินทุนสำหรับการซื้อ/ปรับปรุง เครื่องจักร เข้ามาเพิ่มศักยภาพในการผลิต ทำให้ไม่สามารถสนองความต้องการของตลาดได้ดีเท่าที่ควร 3.ปัญหาด้านการตลาด : SMEs มักขาดข้อมูลทางด้านการตลาด ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลคู่แข่ง ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้บริโภค รวมถึงช่องทางการเข้าถึงผู้บริโภค ทำให้การกระจายสินค้าเป็นอุปสรรค การทำการตลาดเป็นไปได้ยาก นอกจากนี้คุณภาพผลิตภัณฑ์ยังมีความโดดเด่นไม่เพียงพอ ส่งผลให้ไม่เกิดการจดจำผลิตภัณฑ์จากผู้บริโภค 4.ปัญหาการอยู่ร่วมกับสังคม : ธุรกิจที่ดีคือธุรกิจที่อยู่ร่วมกับสังคมในอย่างสงบสุข สามารถพึ่งพาอาศัยได้ซึ่งกันและกัน ทว่า SMEs หลายรายยังขาดการจัดการจัดสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบในบริเวณรอบๆสถานประกอบการ ทำให้เกิดความไม่สมดุลและไม่ก่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนในระบบเศรษฐกิจที่ต้องการ 5.ปัญหาด้านการเงิน : SMEs ยังขาดทักษะการบริหารการเงินและบัญชีที่ถูกต้อง ตลอดจนการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ซึ่งสาเหตุดังกล่าวมากจากการขาดประสบการณ์และความน่าเชื่อถือของ SMEs ทำให้สถาบันทางการเงินและธนาคารพาณิชย์ต่างๆต้องมีข้อจำกัดในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน และการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อธุรกิจ 6.ปัญหาด้านบุคลากร : แรงงานที่มีทักษะ ฝีมือมีจำนวนค่อนข้างจำกัด รวมถึงยังขาดบุคลากรที่มีความชำนาญด้านการตลาด ประกอบกับระบบการบริหารการจัดการทรัพยากรบุคคลขาดการพัฒนาที่สม่ำเสมอ ทำให้ส่งผลต่อการผลิตและคุณภาพสินค้า 7.ปัญหาด้านการจัดซื้อและปัจจัยการผลิต : SMEs ยังขาดการจัดหาวัตถุดิบที่มีคุณภาพเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค รวมทั้งกระบวนการเพื่อใช้ในการตรวจสอบ ตัดสินใจเลือกวัตถุดิบ ตัดสินใจเลือกผู้จัดจำหน่ายในราคาที่สามารถยอมรับกันได้ ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นตาม ซึ่งการขาดการปรับตัวในเรื่องดังกล่าวทำให้ประสิทธิภาพของสินค้า และบริการไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่จะเป็นมากนัก 8.ปัญหาด้านการบริหารองค์กรและกลยุทธ์ : SMEs ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการเปรียบเทียบมาตรฐานการปฏิบัติงานองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรคู่แข่ง ทำให้ไม่สามารถสร้างกลยุทธ์ กำหนดทิศทาง เป้าหมาย และระยะเวลาในการปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน จึงไม่สามารถวัดผลความสำเร็จของการทำธุรกิจได้ การเข้าสู่ Industry 4.0 นั้น SMEs จำเป็นต้องมีการปรับตัวตามกับยุคที่เปลี่ยนแปลงไป อย่างไรก็ตามการก้าวไปสู่จุดนั้นได้ทุกภาคส่วนต้องให้ความสำคัญ มีการทำงานร่วมกันไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้ประกอบการ SMEs

Mostview

ปิดแล้ว! ร้าน Lawson ฉากหลังภูเขาฟูจิ หลังนักท่องเที่ยวไม่ทำตามกฏ ทิ้งขยะเกลื่อน

อีกหนึ่งจุดถ่ายภาพเวลานักท่องเที่ยวไปภูเขาฟูจิที่ประเทศญี่ปุ่น นั่นคือพื้นที่ร้านสะดวกซื้อ Lawson ที่มีฉากหลังเป็นภูเขาฟูจิ ที่เรียกว่าเป็นแลนด์มาร์คที่ใครมาต้องมาถ่ายรูปให้ได้ แต่ตอนนี้กำลังจะเหลือเพียงความทรงจำ กลายเป็นอดีต

คู่รักนักธุรกิจอินเดียบริจาคทรัพย์สิน 890 ล้านบาท พร้อมออกบวชเข้าสู่เส้นทางศาสนา

คู่รักชาวอินเดียผู้มั่งคั่งจากรัฐคุชราตได้บริจาคทรัพย์สินทั้งหมดคิดเป็นมูลค่า 200 ล้านรูปี (ประมาณ 890 ล้านบาท) เพื่อบวชเป็นพระ หลังได้รับแรงบันดาลใจจากการบวชของลูกชาย และลูกสาว

สิงคโปร์ แจกเงินละ 8,000 บาท ให้ 1.1 ล้านครัวเรือนไปซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า-ประปา ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

จากสถานการณ์โลกร้อนทำให้หลายประเทศกลับมาตระหนักถึงเรื่องนี้กันมากยิ่งขึ้น ทำอย่างไรที่จะออกนโยบายที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทำให้ประชาชนตระหนักถึงเรื่องนี้เป็นอันดับต้น ๆ

ผลกระทบขึ้นค่าแรง 400 บาท อาจทำให้สินค้าขยับราคาขึ้น 15%

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้สำรวจความคิดเห็นภาคเอกชน ทั้งในภาคส่วนการผลิต การค้า และบริการ การปรับอัตราค่าแรงในแต่ละครั้งมักจะมีผลกระทบต่อทั้ง GDP เงินเฟ้อ ผลิตภาพแรงงาน รวมถึงอัตราการว่างงานทั้งบวกและลบ

Noumami บริษัทนอร์เวย์ ผลิตน้ำปลาจากแซลมอน แบรนด์แรกของโลก

“น้ำปลา” จัดเป็นสินค้าสัตว์น้ำพื้นเมืองของประเทศไทย โดยปลาที่นิยมนำมาเป็นวัตถุดิบ ได้แก่ ปลากะตัก ปลาสร้อย ปลาซิวแก้ว แต่ตอนนี้ไม่ใช่แค่ปลาดังกล่าวที่พูดมาสามารถนำมาทำเป็นน้ำปลาได้ เพราะปลาแซลมอนก็สามารถนำมาผลิตได้เช่นกัน

SmartSME Line