วันอังคาร, เมษายน 23, 2567

เปิดภารกิจตอบแทนสังคม "Dtac” พลิก “เกษตรกรไทย 4.0”

by Smart SME, 11 พฤษภาคม 2560

ปี 2008 หรือย้อนไปเมื่อ 8-9 ปีที่ผ่านมา ดีแทค เริ่มจากการทำโครงการเพื่อสังคมด้านการเกษตร ซึ่งดีแทค ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตร แต่มีพาร์ทเนอร์ที่คลุกคลีกับแวดวงเกษตรกรอย่าง มูลนิธิร่วมด้วยช่วยกันสำนึกรักบ้านเกิด และ กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
คุณประพันธ์ จิวะพงษ์ ผู้อำนวยการ ฝ่ายกิจกรรมเพื่อสังคม ดีแทค เปิดเผยถึงการทำ CSR ของดีแทคตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นจนถึงปัจจุบันว่า เราอยากนำสิ่งที่องค์กรเราถนัด เช่นเทคโนโลยีสื่อสารมาช่วยเหลือ มาทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อคืนกำไรให้สังคม วันนี้อาจจะเรียกได้ว่า ภารกิจ CSR ได้กลายเป็นส่วนสำคัญ ควบคู่กับการประกอบธุรกิจ ด้วยการสร้างให้สำนึกความรับผิดชอบเป็นส่วนหนึ่งในวัฒนธรรมองค์กร สร้าง "คนดี" ผสานการสร้างแบรนด์ให้กับองค์กรในระยะยาว [caption id="attachment_67615" align="alignleft" width="1094"] คุณประพันธ์ จีวะพงษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายกิจกรรมเพื่อสังคม บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค)[/caption]     “เน็ตอาสา” พลิกปัญหา เป็นโอกาส สร้าง“เกษตรกรออนไลน์” ซึ่งเป็นการให้ความรู้ทางด้านอินเทอร์เน็ต โดยดีแทค ร่วมกับกระทรวงกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมใช้ชื่อโครงการว่า ‘เน็ตอาสา’ ในรูปแบบการนำพนักงานของดีแทค ไปพูดคุยกับผู้คนในชุมชนเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต เริ่มจากเดินเข้าไปหากำนัน หรือ ผู้ใหญ่ในหมู่บ้าน ถ้ามีคนในชุมชนสนใจ 20-30 คนขึ้นไป เราก็จะมีทีมเข้าไปอบรม ไปสอน ไปให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้งานอินเทอร์เน็ต คุณอยากเรียนรู้เรื่องการเปิดเพจขายของ หรือการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อสร้างอาชีพ เราก็สอนให้ ตั้งแต่เบสิคเลย รวมถึงเรามีโทรศัพท์ที่เป็นเดโมให้ เรียนฟรี ใช้ฟรี ไม่ต้องเสียสตางค์ ที่สำคัญคือเราไม่เลือกค่าย คุณเป็นใครก็ได้ที่อยากจะเรียนรู้ นอกจากนี้เราจับมือกับกระทรวงเกษตรฯ ซึ่งกระทรวงก็จะมีรายชื่อเช่น กลุ่มวิสาหกิจชุมชนต่างๆ มาให้ เราก็เข้าไป คือเราต้องการบอกให้ชาวบ้านรู้ว่า “ถ้าคุณเป็นเกษตรกร...แล้วคุณรู้เรื่องอินเทอร์เน็ต มันช่วยพลิกชีวิตเลย”

“คุณอยากเรียนรู้เรื่องการเปิดเพจขายของ หรือการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อสร้างอาชีพ เราก็สอนให้ ตั้งแต่เบสิคเลย รวมถึงเรามีโทรศัพท์ที่เป็นเดโมให้ เรียนฟรี ใช้ฟรี ไม่ต้องเสียสตางค์ ที่สำคัญคือเราไม่เลือกค่าย คุณเป็นใครก็ได้ที่อยากจะเรียนรู้”

ปัจจุบันดีแทคมีทีมเน็ตอาสาอยู่ 12 ทีม ใน 12 จังหวัด ซึ่งสามารถไปยังจังหวัดใกล้เคียงได้ เรามีรถให้ มีอุปกรณ์ให้ มีหลักสูตรแบ่งเป็น 2 หลักสูตรคือระกับพื้นฐานกับระดับ Advance ขึ้นมาหน่อย แต่ขึ้นอยู่กับหน้างานด้วย ก็ใช้วิธีปรับใช้กันไป ซึ่งเรามองว่าการเจริญเติบโตขึ้นของสมาร์ทโฟนจะกระจุกตัวอยู่แค่ในเมือง ซึ่งตามต่างจังหวัดจะใช้ประโยชน์จากสมาร์ทโฟนน้อยมาก ปัญหาคือกระทรวงเกษตร มีข้อมูลมากมายแต่เกษตรส่วนใหญ่เข้าไม่ถึง ยิ่งเมื่อ 8-9 ปีที่แล้วยิ่งไม่ต้องพูดถึงเรื่องอินเทอร์เน็ตหมู่บ้านเลย  เราเลยทดลองใช้วิธีส่ง SMS ข้อมูลการเกษตรส่งให้ โดยแบ่งเป็น 3 หมวดคือ ข้าว, พืชไร่ และประมง ซึ่งเกษตรกรสามารถเลือกรับข้อมูลหมวดใดหมวดหนึ่ง หรือจะเลือกทั้ง 3 หมวดก็ได้ สำหรับปีแรกมีคนที่สนใจสมัครประมาณ 25,0000 ราย เฉพาะลูกค้าดีแทค ขณะเดียวกันทางมูลนิธิร่วมด้วยช่วยกันสำนึกรักบ้านเกิดก็ทำ Call Center ควบคู่กันไปด้วย มีศูนย์ที่ให้บริการอยู่ 10 จังหวัดทั่วประเทศ โดยเราอาศัยการกระจายข่าวไปยังเครือข่ายของมูลนิธิ เข้ามาช่วยด้วย เป้าหมายเราไม่ได้ต้องการผู้ผลิต แต่ต้องเป็นเอสเอ็มอีด้วย รู้ว่าลูกค้าต้องการอะไร ออกแบบแพคเกจจิ้งอย่างไร ขนส่งทำแบบไหน คือต้องเป็นเกษตรแบบครบวงจร ****ภารกิจของดีแทค  คือ ต้องให้ Smart Farmer ใช้ประโยชน์ในการหาข้อมูลความรู้มาช่วยการทำงานของตนเอง 2. การสร้าง Smart Market และ 3. Smart Consumer ที่สามารถเลือกซื้อสินค้าที่สะอาดปลอดภัย  “ดีแทคฟาร์มแม่นยำ” ย้ำภารกิจเกษตรกร 4.0  เราเริ่มมีเครือข่ายเพิ่มมากขึ้น เราก็เริ่มทำโครงการโดยร่วมกับ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ  (เนคเทค-สวทช.) (NECTEC) พร้อมด้วย กรมส่งเสริมการเกษตร ร่วมมือกันพัฒนา “ดีแทคฟาร์มแม่นยำ” ฟาร์มต้นแบบในการพัฒนาเกษตรแม่นยำผ่านเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตสรรพสิ่ง (Internet of Things: IoT) เพื่อส่งเสริมกลึ่มเกษตรกรรายย่อย เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุน และควบคุมคุณภาพทางการเกษตร คิกออฟประเทศไทยสู่ยุคเกษตรกรรม 4.0 เต็มรูปแบบ โดยโครงการ “ดีแทคฟาร์มแม่นยำ” ศูนย์เทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้สังกัดของเนคเทค ได้พัฒนาด้านเทคโนโลยีด้านเซนเซอร์ โดยสร้างระบบควบคุมการเพาะปลูกแบบเครือข่ายเกษตรกร จำเพาะเจาะจงตามชนิดของพืช ในระยะแรกจะเน้นการติดตามและเก็บบันทึกปัจจัยการเพาะปลูก เช่น ความชื้นในดิน ความชื้นในอากาศ อุณหภูมิในอากาศ และปริมาณแสงในโรงเรือน   “ดีแทค ฟาร์มแม่นยำ” เป็นโครงการทดลองและวิจัยโดยนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาพัฒนาด้านการเกษตร โดยหวังผลในการเพิ่มผลผลิต ควบคุมคุณภาพ และลดต้นทุนให้กับเกษตรกรไทย พัฒนาโซลูชั่น IoT เพื่อควบคุมอุณหภูมิ ความชื้นในดิน ความชื้นในอากาศ แสง และปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องในการเพาะปลูก ซึ่งจะเชื่อมต่อกับแอปพลิเคชันในการแสดงผล การตั้งค่า เก็บข้อมูล และวิเคราะห์ผล เพื่อให้เกษตรกรสามารถทำการเกษตรได้อย่างแม่นยำ โดยเนคเทค/สวทช. รับผิดชอบในการวิจัยและผลิตอุปกรณ์ในส่วนของระบบเซนเซอร์ ขณะที่ดีแทครับผิดชอบด้านการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตและการวิเคราะห์ข้อมูลผ่านระบบ dtac Cloud Intelligence ด้านเป้าหมาย คาดว่า ระบบดังกล่าวจะช่วยเกษตรกรในการเก็บข้อมูล ประมวลผล และสามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อหาสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้กลุ่มเกษตรกรรุ่นใหม่รู้จักใช้เทคโนโลยีในการเพาะปลูกอย่างมีประสิทธิภาพ สร้างตลาดและโอกาสให้ผู้ประกอบการใหม่ที่สนใจเป็นผู้ประกอบการหรือสตาร์ทอัพ ซึ่งโครงการนี้จะเป็นหนึ่งในโครงการร่วมสร้าง Smart Farmer ครอบคลุมทั้งระบบนิเวศ ตั้งแต่การผลิต การขาย (โครงการเกษตรเชิงพาณิชย์) และการเชื่อมโยงกับผู้บริโภค โดยผ่าน Freshket สตาร์ทอัพในโครงการ dtac Accelerate เชื่อมโยงเกษตรกรผู้ผลิตกับร้านอาหารชั้นนำ
สิ่งที่ดีแทคทำ ไม่ใช่การขยายจำนวนเกษตรกรใหม่ แต่เป็นการต่อยอดให้ผู้ที่ทำอาชีพเกษตรกรอยู่แล้วและดูแลตัวเองได้แล้ว สามารถต่อ ยอดไปสอนคนอื่นๆ ได้มากกว่า

Mostview

นวัตกรรมชีวเคมี นำแบคทีเรียสร้างเซลลูโลส ส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน

นักวิจัยจากจุฬาฯ สร้างนวัตกรรม ‘เซลลูโลส’ จากแบคทีเรีย ทดแทนการนำเข้านับหมื่นล้านบาท ช่วย เศรษฐกิจหมุนเวียน และเป็น zero waste ภายใต้สิทธิบัตร ‘เซลโลกัม’

หนุ่มอายุ 25 ปี ใช้ AI สร้างรายได้เกือบ 2 ล้านบาท ใช้เวลาแค่ 2 เดือน

เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ถูกพูดถึงอย่างในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่ามา และคาดการณ์ว่าจะเข้ามามีบทบาทเป็นส่วนหนึ่งของการทำธุรกิจต่อไปในวันข้างหน้า

Asahi เพิ่มการผลิตเครื่องดื่มไร้แอลกอฮอล์ ชูเป็นสินค้าหลัก หลังคนญี่ปุ่นดื่มเบียร์น้อยลง

Asahi แบรนด์ผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เตรียมดันการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้มากขึ้นกว่าเดิม หวังสร้างยอดขายในสัดส่วน 50% ภายในปี 2040

SOURCE Global บริษัทผู้ใช้แผงโซลาร์เซลล์เปลี่ยนอากาศให้กลายเป็นน้ำดื่ม แก้ปัญหาขาดแคลนน้ำ

ท่ามกลางอากาศที่แห้งแล้งในทะเลทรายของลาสเวกัส ดูเหมือนจะเป็นเรื่องยากกับการแหล่งน้ำที่มีความอุดมสมบูรณ์รอบบริเวณที่มีอยู่ โดยทางตอนใต้ของเนวาดากำลังเผชิญภัยแล้งที่เลวร้ายที่ครั้งในประวัติศาสตร์ที่ต้องบันทึกไว้ จนนำไปสู่การขาดแคลนน้ำ และข้อจำกัดในการใช้

SmartSME Line