วันศุกร์, มีนาคม 29, 2567

7 แนวคิด “สร้างพาร์ทเนอร์ธุรกิจ” ที่แข็งแกร่ง

by Smart SME, 4 สิงหาคม 2560

พาร์ทเนอร์ธุรกิจ ช่วยให้การทำธุรกิจถึงเป้าหมาย การทำธุรกิจยุคปัจจุบัน นอกจากเทคโนโลยีและนวัตกรรม อีกส่วนสำคัญที่จะเข้ามาช่วยผู้ประกอบการให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและไปถึงเป้าหมายอย่างรวดเร็วคือการมี ”พาร์ทเนอร์หรือพันธมิตรทางธุรกิจ” ซึ่งต้องผนึกกำลังช่วยส่งเสริมกันและกันเพื่อให้ธุรกิจเดินต่อไปได้ไกลขึ้น จนกลายเป็นธุรกิจที่เติบโตมั่นคง โดยการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจที่แข็งแกร่ง SMEs ควรมีแนวคิดและการวางทิศทางร่วมกัน 7 ข้อดังนี้

  1. เริ่มจากการสร้างวิสัยทัศน์และหน้าที่การทำงานร่วมกัน

การกำหนดวิสัยทัศน์ ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของการวางรากฐานธุรกิจกับคู่ค้าหรือพาร์ทเนอร์ เพราะถ้าเพียงแค่เริ่ม แต่มุมมองความคิดกลับไม่ไปในทิศทางเดียวกัน ก็จะส่งผลให้เดินไปคนละทิศทางและเกิดปัญหาหลายอย่างตามมา ฉะนั้นจุดมุ่งหมาย และวิธีดำเนินงานร่วมกัน ต้องไปในทิศทางเดียวกัน

 

ตัวอย่างA เลือกเป็นพันธมิตรกับ B เพราะแต่ละคนเห็นความต้องการของตลาดสำหรับธุรกิจห้องครัว โดย A เป็นผู้รับเหมาก่อสร้างซึ่งเคยทำงานในร้านอาหารและสถานที่จัดเลี้ยง ส่วน B เป็นเจ้าของโรงเรียนสอนทำอาหารและมีส่วนเกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมการเตรียมอาหาร ซึ่งทั้งคู่มองเหมือนกันว่าจะเปลี่ยนห้องเช่าแห่งหนึ่งให้เป็นห้องครัวปฏิบัติการสำหรับโรงเรียนการทำอาหาร โดยนาย A ทำสัญญากับนาย B เพื่อจะได้ลูกค้าจากนาย B ในระยะยาวเนื่องจากนาย B เปิดแฟรนไชส์โรงเรียนสอนทำอาหารอยู่ด้วย ด้านนาย B ก็จะได้ประโยชน์จากนาย A เนื่องจากมีคอนเน็คชั่นการออเดอร์อาหารจากลูกค้าอยู่จำนวนมาก (Win-Win)

Fix it: ใช้เวลาปรึกษาหารือเกี่ยวกับวิสัยทัศน์และพันธกิจของบริษัทกับคู่ค้า และมองหาสิ่งที่จะช่วยกระตุ้นในการร่วมเป็นพาร์ทเนอร์กัน พร้อมกำหนดเป้าหมายและวางทิศทางธุรกิจให้เหมาะสม ทั้งนี้ ควรขียนระบุถึงวิสัยทัศน์และภารกิจร่วมกันเพื่อใช้เป็นข้อมูลอ้างอิง

  1. หาความต้องการและความคาดหวังของคู่ค้าให้เจอ

ทุกคนต่างมีเหตุผลและความต้องการในการเป็นพาร์ทเนอร์ บางคนอาจต้องการหาพันธมิตรเพื่อหาโอกาสทางการเงิน บางคนอาจต้องการพันธมิตรเพื่อสร้างความชำนาญในธุรกิจหรือบางคนอาจเพียงเพื่อหาคอนเน็คชั่น ซึ่งความต้องการภายในเหล่านี้อาจไม่ได้แสดงในทันที ฉะนั้นคุณควรหาความต้องการของพาร์ทเนอร์ให้เจอ เพราะหากคุณไม่สามารถตอบสนองเขาได้ สิ่งที่ตามมาก็จะกลายเป็นความขัดแย้ง

Fix it: ค้นหาสิ่งที่พาร์ทเนอร์คาดหวังจากคุณให้เจอ และอธิบายความคาดหวังของคุณให้เขาฟังด้วย ทำแผนรองรับเพื่อรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ เมื่อคู่ค้าเปลี่ยนแปลงความคาดหวัง

  1. ค้นหาจุดแข็งของแต่ละฝ่ายพร้อมนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์

เพราะการผนึกกำลังของพาร์ทเนอร์เกิดขึ้นจากหลายเหตุผล โดยความคาดหวังซึ่งกันและกันอาจทำให้จุดแข็งของแต่ละฝ่ายถูกมองข้าม และในบางครั้งคู่ค้าก็มักยอมรับกันแค่เพียงจุดแข็งที่เด่นชัดที่สุด ซึ่งการนำจุดแข็งต่างๆนอกจากจุดแข็งที่เด่นชัดเพียงอันเดียวมาใช้ จะช่วยให้ทุกฝ่ายเกิดแรงจูงใจและความมุ่งมั่นยิ่งขึ้น

Fix it: นำเอาจุดแข็งของแต่ละฝ่ายมาใช้ให้เป็นประโยชน์จะช่วยเพิ่มแรงจูงใจในการร่วมงานกันและยังเกิดเป็นความได้เปรียบทางธุรกิจในระยะยาว อย่าลืมจดบันทึกจุดแข็งของคุณและขอให้พาร์ทเนอร์ของคุณทำเช่นเดียวกัน แล้วนั่งคุยกันถึงวิธีที่พวกคุณจะนำจุดแข็งเหล่านั้นไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจ

  1. ช่วยสนับสนุนในข้อจำกัดหรือจุดอ่อนของพาร์ทเนอร์

เมื่อพาร์ทเนอร์คุณเริ่มประหยัดกับเรื่องเล็กๆน้อยๆ อาจเป็นสัญญาณถึงผลกระทบต่อความมั่นคงทางธุรกิจ จนส่งผลให้ธุรกิจพังลงได้ ฉะนั้นคุณจึงควรช่วยแก้ไขจุดอ่อนของเขา เช่นเรื่องกลยุทธ์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ งานขายและการตลาด บุคลากร การบริหารจัดการ รวมไปถึงเรื่องการเงิน ซึ่งการมองเห็นจุดบกพร่องได้เร็วก็จะช่วยยับยั้งปัญหาไม่ให้ลุกลามออกไปได้

Fix it: หาให้เจอว่าจุดอ่อนของเขาจะส่งผลกระทบยังไงกับคุณ แล้วเร่งช่วยอุดรอยรั่วส่วนนั้นของเขา แต่ถ้าคุณไม่สามารถช่วยได้ ให้กลับมาคิดก่อนว่าที่คุณไม่สามารถช่วยได้เพราะมันจะกระทบธุรกิจคุณยังไง แล้วเก็บเป็นบทเรียนอย่าให้มันเกิดขึ้นกับธุรกิจของคุณ

  1. กำหนดทิศทางสู่เป้าหมายของแต่ละฝ่าย

วิธีที่ดีที่สุดของการวางทิศทางสู่เป้าหมายของพันธมิตรธุรกิจ ต้องเริ่มจากการเขียนเป้าหมายร่วมกัน แล้วค่อยมาคิดหาวิธีเดินไปสู่เป้าหมายของตนเอง ซึ่งเป้าหมายของตนเองนั้นต้องสามารถปรับใช้และนำไปสู่การช่วยสนับสนุนความคาดหวังของกันและกัน

Fix it : นำเสนอและอัปเดตเป้าหมายการเป็นพาร์ทเนอร์ในครั้งนี้ร่วมกัน จากนั้นขอให้แต่ละฝ่ายกำหนดเป้าหมายต่างๆที่จะช่วยเกื้อหนุนเป้าหมายของกัน บอกเล่าถึงจุดแข็งของตนเอง โดยเขียนสิ่งเหล่านี้เพื่อให้แต่ละฝ่ายเกิดความมุ่งมั่นในเป้าหมาย เมื่อทำเสร็จแล้ว ให้ระบุไว้ว่าใครต้องรับผิดชอบส่วนไหน เพื่ออะไร?

  1. หาวิธีจัดการกับความขัดแย้งกัน ความผิดหวังและการหักหลังกัน

เป็นเรื่องปกติของการร่วมงานที่มักจะมีความขัดแย้งเห็นต่างเกิดขึ้น แต่อย่าปล่อยให้ความรู้สึกที่ไม่ดีติดอยู่กับพวกคุณนานเกินไป สร้างกฎเกณฑ์ให้พวกคุณเดินเข้าหากัน เมื่อบางอย่างต้องได้รับการแก้ไข ซึ่งการจัดการกับความเห็นต่างนี้ถือเป็นส่วนสำคัญของการสร้างพันธมิตรธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ และรักษาความสมดุลของสัมพันธ์ภาพ

Fix it: การจะบรรลุเป้าหมายร่วมกันอาจเป็นเรื่องยากอยู่ไม่น้อย ดังนั้น เพื่อรักษาสัมพันธภาพที่ดีของพาร์ทเนอร์ไว้ ควรกำหนดวาระการประชุมหรือปรึกษาหารือกันอย่างต่อเนื่อง ซึ่งบางสถานการณ์อาจต้องประชุมกันทุกอาทิตย์ แต่น้อยที่สุดควรนัดเจอกันเดือนละครั้ง โดยพูดคุยถึงทิศทางการจับมือกันเดินต่อไปของธุรกิจ พร้อมนำเสนอแผนงานที่จะสามารถเปลี่ยนแปลงไปในเชิงบวกให้เป็นรูปธรรม และทุกฝ่ายต้องร่วมเดินไปในทิศทางเดียวกัน

  1. กำหนดบทบาทและหน้าที่รับผิดชอบของการร่วมกันเป็นพาร์ทเนอร์

ทุกฝ่ายคงไม่สามารถเขียน Job roles ได้ ถ้าไม่ร่วมกันสร้างสมมติฐานขึ้นมาก่อน โดยการทำ Job roles จะคล้ายกับ job descriptions แต่จะแฝงไปด้วยว่า ความรับผิดชอบนี้เกิดขึ้นมาเพื่อขับเคลื่อนการทำงานสู่ผลลัพธ์ที่จะได้กลับมาร่วมกัน เพราะหากขาดความชัดเจนของบทบาทหน้าก็จะเกิดความไม่เข้าใจ จนกลายเป็นความขัดแย้งและล้มเหลวของการเป็นพาร์ทเนอร์ในที่สุด

Fix it: คุณต้องสร้างความชัดเจนถึงสิ่งที่คุณจะทำ และพาร์ทเนอร์ของคุณก็ต้องชัดเจนเช่นเดียวกันด้วย ซึ่งแต่ละคนจะต้องสามารถอธิบายได้ว่ามันจะส่งผลดียังไงต่อกัน หากภารกิจนั้นต้องทำสัญญาหรือการว่าจ้างอะไรต่างๆ ก็ควรทำให้ถูกต้องชัดเจนเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับทุกฝ่าย Source | businessknowhow


Mostview

ลาออกมาเปิด First Place Coffee รถขายกาแฟ สร้างยอดขายกว่า 550% ด้วย 3 กลยุทธ์ทำแล้วสำเร็จ

Devon McConville ไม่คิดที่จะมีธุรกิจขนาดเล็ก หรือเป็นบาริสต้า เพราะเส้นทางอาชีพของเธอเริ่มจากอาชีพทางด้านการเงินในบริษัทแห่งหนึ่งในฟีนิกส์ แต่มาวันหนึ่งก็พบว่าชีวิตขาดการเชื่อมโยงกับมนุษย์ ซึ่งค้นพบระหว่างดื่มกาแฟ

นวัตกรรมแห่งรสชาติ! ซีอิ๊วเม็ดตราเด็กสมบูรณ์ พกไปได้ทุกที่-ละลายเร็วภานใน 5 วินาที

ปกติเราจะเห็นซีอิ๊วตราเด็กสมบูรณ์มาในรูปแบบขวด แต่ล่าสุดได้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่เป็น “ซีอิ๊วเม็ดเด็กสมบูรณ์” ที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อตอบโจทย์พฤติกรรมของมนุษย์ในปัจจุบันที่ชอบความสะดวกสบาย รวดเร็วต่อการใช้งาน

กรุงเทพฯ คว้าอันดับ 1 เมืองชั้นนำด้านการท่องเที่ยวของเอเชียในปี 2567

“DestinAsian” นิตยสารเกี่ยวกับการเดินทาง จัดอันดับให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองท่องเที่ยวอันดับ 1 ของภูมิภาคเอเชีย

SmartSME Line