วันพุธ, เมษายน 24, 2567

ปวช./ปวส. อนาคตเด็กไทยจะไปต่อยังไงในยุค 4.0

by Smart SME, 15 สิงหาคม 2560

  • แม้นโยบายไทยแลนด์ 4.0 จะเร่งผลักดันให้เด็กเรียนสายอาชีพ แต่นโยบายเกี่ยวกับการเรียนต่อปริญญาตรีของผู้ที่จบ ปวส. เพื่อเรียนต่อมหาวิทยาลัยกลับต้องใช้ระยะเวลาเรียน 3-5 ปี
  • คณะวิชาที่อนุญาตให้เด็ก ปวส. สามารถเข้าเรียนต่อยังมีอยู่จำกัด ทำให้เด็กส่วนใหญ่ไม่เลือกเรียนสายอาชีวะ และอุตสาหกรรมต่างๆก็ต้องขาดกลุ่มฝีมือแรงงานในที่สุด
  • เด็กรุ่นใหม่มุ่งสู่ป.ตรี ผู้จบในระดับปริญญาตรีจะเข้าสู่ตลาดแรงงานมากที่สุดถึง 738,218 คน
  • คนไทยไม่ชอบงานหนัก งานยากลำบาก และงานสกปรก แต่กลับเลือกตกงานมากกว่าจะไปทำงานทดแทนแรงงานต่างด้าว
  • เยอรมันนี กรณีศึกษาของตลาดแรงงานสายอาชีวะ ที่ส่งเสริมให้เรียนสายอาชีพตั้งเเต่ยังเด็ก
  • อีก 8 ปีข้างหน้า แรงงานระดับกลางในสายวิทย์และเทคโนโลยี จะเติบโต
ข้อมูลสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) ระบุว่า ปัจจุบันมีความต้องการแรงงานคุณภาพสายอาชีพมีมากถึง 500,000 คนต่อปี ซึ่งในการเป็นไทยแลนด์ 4.0 ช่วง 5 ปีต่อจากนี้ ต้องเร่งสร้างแรงงานฝีมือสายอาชีวะไว้ถึง 1.99 ล้านคน โดยนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ที่ขับเคลื่อนทุกมิติพร้อมนวัตกรรมนี้ ทำให้เกิดกระแสเรียกร้องให้เด็กหันมาเรียนสายอาชีวะ เนื่องจากความต้องการแรงงานฝีมือในภาคอุตสาหกรรมที่สูงขึ้น แต่มุมกลับกันของเด็กอาชีวะในระดับ ปวส. กลับถูกหมางเมิน เนื่องจากหากเด็กกลุ่มนี้ต้องการศึกษาต่อในระดับป.ตรีก็จะต้องใช้เวลานานขึ้นอีก 3-5 ปี ทั้งดันทั้งเพิ่มค่าแรงแต่ยังขาดแคลนแรงงานฝีมืออาชีวะ นโยบายภาครัฐขณะนี้เน้นย้ำการพัฒนาแรงงานฝีมือเข้าสู่ตลาด เพราะแรงงานคุณภาพถือเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศ ทำให้หลายหน่วยงานทั้งภาครัฐฯและเอกชนออกมาขานรับนโยบายดังกล่าว พร้อมเร่งพัฒนา ผลักดันเด็กที่จบม.3ให้หันมาเรียนต่อสายอาชีพมากขึ้น ตลอดจนกำหนดค่าแรงฝีมือแรงงานอาชีพไว้สูงถึง 700 บาทต่อวัน ตามมาตรฐานฝีมือแรงงาน 20 สาขา ใน 5 กลุ่มอุตสาหกรรม เช่น ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนอะไหล่ยานยนต์ ยานยนต์ อัญมณี และกลุ่มลอจิสติกส์ แต่ไม่ว่าจะกระตุ้นมากเพียงใด ปัจจุบันประเทศไทยก็ยังขาดแคลนแรงงานวิชาชีพในระดับอาชีวะอยู่จำนวนมาก เด็กรุ่นใหม่มุ่งเรียนจบอย่างน้อยปริญญาตรี จากข้อมูลรายงาน 'ผู้สำเร็จการศึกษาและประมาณการผู้เข้าสู่ตลาดแรงงานปี 2561' ของกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ได้ประมาณการผู้เข้าสู่ตลาดแรงงานปี 2560 จำนวน 555,416 คนและปี 2561 จำนวน 634,205 คน รวมทั้งสิ้น 1,189,621 คน โดยผู้จบในระดับปริญญาตรีจะเข้าสู่ตลาดแรงงานมากที่สุด 738,218 คน ตัวอย่างตลาดแรงงานที่จะออกมาในปี 2561 ที่แบ่งสัดส่วนได้ดังนี้
  • ป.ตรี จำนวน 400,650 คน (63.17%)
  • ปวส. จำนวน 95,600 คน (15.07%)
  • ม.3 จำนวน 69,591 คน (10.98%)
  • ปวช. จำนวน 47,856 คน (7.55%)
  • ม. 6 จำนวน 20,508 คน (3.23%)
การเข้ามาแทนที่ของแรงงาน AEC ดร. ยงยุทธ  แฉล้มวงษ์ ผู้อำนวยการวิจัย ด้านการพัฒนาแรงงาน  สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) กล่าวว่าตลาดแรงงานไทยเริ่มมีกำลังลดลง โดยปี 2559 มีแรงงาน 38.7 ล้านคน และปัจจุบันเหลือ 37.8 ล้านคน ซึ่งหายไปจากตลาดราว 1 ล้านคน ทำให้ไทยต้องเผชิญปัญหาความต้องการแรงงานเพิ่มปีละ 3 แสนคน แต่จำนวนนี้ก็ไม่สามารถตอบสนองความต้องการในตลาดแรงงานได้ครบถ้วนทำให้ข้อเท็จจริงคือไทยเรายังขาดแคลนแรงงานมากกว่า 1.8 แสนคนต่อปี การขาดแคลนแรงงานนี้เป็นผลจากการที่ภาคการผลิตที่แท้จริง (real sectors) ยังคงปรับเปลี่ยนโครงสร้างช้ามากเนื่องจากยังคงใช้นโยบายพึ่งพาแรงงานจากประเทศ 3 ประเทศเพื่อนบ้านอย่าง พม่า, ลาว และกัมพูชา เกือบ 3 ล้านคน และแรงงานคนไทยเข้าไปแทนที่ (replacement) ก็มีน้อยมาก  เนื่องจากคนไทยไม่ชอบงานหนัก งานยากลำบาก และงานสกปรก แต่กลับเลือกตกงานมากกว่าจะไปทำงานทดแทนแรงงานต่างด้าวหรือเลือกเดินต่อไปในสายปริญญา โดยเชื่อว่าจะมีความก้าวหน้าได้รับค่าตอบแทนที่ดี จะมีอนาคตที่ดีกว่า เยอรมันนีกรณีศึกษาของระบบอาชีวะไทย เยอรมันจัดเป็นประเทศอุตสาหกรรมที่ส่งเสริมให้เด็กมีทักษะอาชีพในการทำงาน ดังนั้นระบบการศึกษาของเยอรมันจึงเอื้อต่อการมุ่งเน้นไปที่สายวิชาชีพ ทั้งเด็กของประเทศเขาเองยังชอบเลือกเรียนสายอาชีพมากกว่า เพื่อจะได้ทำงานเลี้ยงตัวเองได้เร็วขึ้น ในระดับม.2 ถึงม.3 นักเรียนจะมีสิทธิ์เลือก ซึ่งเป็นการฝึกงานจริงทั้งวัน พร้อมเขียนรายงานและเล่าประสบการณ์ว่าการฝึกงานได้อะไรบ้าง ทำให้เด็กเห็นคุณค่าของงาน และรู้ว่าตนเองชอบหรือไม่ชอบงานนี้จริงหรือไม่? รู้ว่าตัวเองชอบและอยากทำอาชีพอะไรได้เร็วขึ้น และไม่ยึดถือค่านิยมของอาชีพจนเกินไป โรงเรียนสายอาชีพของเยอรมันจะเน้นเป็นระบบ Dual System (ทวิภาคี) ที่ร่วมมือกันระหว่างรัฐบาลและเอกชน มีสาขาอาชีพให้เลือกเรียนมากมาย เช่น พนักงานห้างร้าน, งานค้าปลีก , ช่างไฟ, ช่างกล, โลจิสติกส์, ผู้ช่วยแพทย์, ช่างทำผม, งานบัญชี, พาณิชย์นาวี ฯลฯ ระยะเวลาเรียน 2-3 ปี แล้วแต่อาชีพที่เลือกแบ่งเรียนที่โรงเรียน 40% บริษัทที่ฝึกงาน 60% ฝึกงานอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 6 ชม. ต่อวัน และได้รับเงินค่าตอบแทนจากนายจ้างด้วย ซึ่งเหล่านี้ต่างจากมุมมองของคนไทยที่มองว่าคนเลือกเรียนสายอาชีพนั้นด้อยค่า เพราะมักมีค่านิยมที่จะมุ่งเน้นแต่จะเรียนมหาวิทยาลัยชั้นนำในระดับปริญญาตรี ตลาดความต้องการแรงงานในอีก 8 ปีข้างหน้า จากการประเมินของ TDRI พบว่า ตลาดแรงงานในปี 2568 แรงงานระดับกลางในสายวิทย์และเทคโนโลยี จะเติบโตเพียงปีละ 3 หมื่นคน ขณะที่แนวโน้มแรงงานไทยในระดับ ปวส. จะเติบโตจาก 1 ล้านคนเป็น 1.1 ล้านคนเท่านั้น โดยส่วนใหญ่ล้วนเป็นแรงงานในกลุ่ม STEM (วิทยาศาสตร์, เทคโนโลยี, วิศวกรรม, คณิตศาสตร์และสถิติ) ซึ่งจัดเป็นแรงงานพื้นฐานตามแนวทางไทยแลนด์ 4.0 ด้านตลาดแรงงานสายอื่นๆที่ไม่ใช่วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (S&T) จะแตกต่างกันคือ ความต้องการบุคลากรในสายธุรกิจ, บริการและสาขาอื่นๆในระดับ ปวช. จะเพิ่มขึ้นจาก 8 แสนเป็น 2 ล้านคน แต่ความต้องการของตลาดแรงงานในระดับ ปวส. ในสาขาที่ไม่ใช่ S&T กลับมีแนวโน้มลดลงจาก 8 แสนคนเหลือ 6 คน ผลจากการที่อุปสงค์ที่น้อยกว่าอุปทานนี้ ก็อาจทำให้ ปวส. ในสายงานที่ไม่ใช่ S&T ว่างงานจำนวนมากก็เป็นไปได้ คำถามคือกำลังคนส่วนที่หายไปในตลาดแรงงานไปไหน คำตอบคือไม่ได้หายไปไหนแต่ได้ผันตัวเองไปเรียนในระดับปริญญาตรี (ตามนโยบายเพิ่มจำนวนนักศึกษาของมหาวิทยาลัย) โดยไม่ได้เรียนผ่าน ปวส. ซึ่งทำให้แนวโน้มของแรงงานเพิ่มจาก 3.01 ล้านคน เป็นเกือบ 6 ล้านคนในช่วงเวลา 10 ปีข้างหน้า เช่นเดียวกันกับผู้เรียน ปวช. สาย S&T บางส่วนผันตัวเองไปเรียนระดับปริญญาตรี ทำให้จำนวนแรงงานเพิ่มขึ้นจาก 1.15 ล้านคนในปี 2558 เป็น 2.4 ล้านคนในปี 2568 หรือเพิ่มขึ้นปีละไม่ต่ำกว่า 1 แสนคน ภาคเศรษฐกิจจะเติบโตไปในทิศทางที่ต้องใช้กำลังคนด้าน STEM มากขึ้น นักศึกษาที่จบสาย S&T จึงมีโอกาสที่จะได้รับการจ้างงานมากกว่าผู้เรียนสาย Non-S&T ความหวังจึงอยู่ที่การขยายตัวของภาคบริการของประเทศทั้งในส่วนงานบริการ, ค้าขายปลีก-ส่ง, งานซ่อมบำรุง, งานอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและงานที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้สูงอายุ หากคนไทยรุ่นใหม่ๆไม่เลือกงาน ก็จะมีโอกาสได้ทำงานเหล่านี้มากขึ้น อย่างไรก็ตามตำแหน่งงานที่มีแนวโน้มการจ้างงานลดลง ได้แก่ งานในอุตสาหกรรมการผลิต การก่อสร้าง และการเกษตร ในส่วนของการจ้างงานเพิ่มขึ้น จะอยู่ในตำแหน่งงานที่เกี่ยวข้องกับการค้าส่ง, ค้าปลีก, ซ่อมบำรุง, ภาคบริการอย่างโรงแรม ที่พัก และร้านอาหาร ,ภาคกิจกรรมที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์, ภาคการศึกษา อ้างอิง www.thaiquote.org www.tcijthai.com www.manager.co.th  

Mostview

นวัตกรรมชีวเคมี นำแบคทีเรียสร้างเซลลูโลส ส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน

นักวิจัยจากจุฬาฯ สร้างนวัตกรรม ‘เซลลูโลส’ จากแบคทีเรีย ทดแทนการนำเข้านับหมื่นล้านบาท ช่วย เศรษฐกิจหมุนเวียน และเป็น zero waste ภายใต้สิทธิบัตร ‘เซลโลกัม’

หนุ่มอายุ 25 ปี ใช้ AI สร้างรายได้เกือบ 2 ล้านบาท ใช้เวลาแค่ 2 เดือน

เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ถูกพูดถึงอย่างในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่ามา และคาดการณ์ว่าจะเข้ามามีบทบาทเป็นส่วนหนึ่งของการทำธุรกิจต่อไปในวันข้างหน้า

Asahi เพิ่มการผลิตเครื่องดื่มไร้แอลกอฮอล์ ชูเป็นสินค้าหลัก หลังคนญี่ปุ่นดื่มเบียร์น้อยลง

Asahi แบรนด์ผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เตรียมดันการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้มากขึ้นกว่าเดิม หวังสร้างยอดขายในสัดส่วน 50% ภายในปี 2040

SOURCE Global บริษัทผู้ใช้แผงโซลาร์เซลล์เปลี่ยนอากาศให้กลายเป็นน้ำดื่ม แก้ปัญหาขาดแคลนน้ำ

ท่ามกลางอากาศที่แห้งแล้งในทะเลทรายของลาสเวกัส ดูเหมือนจะเป็นเรื่องยากกับการแหล่งน้ำที่มีความอุดมสมบูรณ์รอบบริเวณที่มีอยู่ โดยทางตอนใต้ของเนวาดากำลังเผชิญภัยแล้งที่เลวร้ายที่ครั้งในประวัติศาสตร์ที่ต้องบันทึกไว้ จนนำไปสู่การขาดแคลนน้ำ และข้อจำกัดในการใช้

SmartSME Line