วันอังคาร, เมษายน 23, 2567

แท็กซี่ลอยฟ้า ให้เลือกว่าเแบบไหนที่โดนใจคุณ

by Smart SME, 12 กันยายน 2560

ปัญหาเรื่องรถติดไม่ได้มีแค่ในกรุงเทพฯเมืองเดียว บรรดามหานครต่าง ๆ ทั่วโลกก็หนีไม่พ้นเรื่องแบบนี้ จะเดินทางไปไหนมาไหนทีสุดแสนจะเสียดายเวลา หลายแห่งมีเฮลิคอปเตอร์เอาไว้ให้ผู้บริหารบินไปนู้นมานี่ แต่ก็อย่างว่าแหละต้องเป็นบริษัทที่เงินถึงจริง ๆ จึงจะยอมควักกระเป๋าจ่ายในเรื่องนี้ ก็เลยเป็นที่มาของการพัฒนาระบบขนส่ง แท็กซี่ลอยฟ้า ในลักษณะอื่น โดยเฉพาะในรูปแบบที่ขนส่งได้มากกว่า 1 คน เรารวมมาให้ดูกันว่าในอนาคตอันใกล้นี้จะมียานยนต์บินได้รูปแบบไหนให้เลือกใช้กันบ้าง

แท็กซี่ลอยฟ้า 6 แบบที่กำลังได้รับการพัฒนา

 

Lilium

บริษัทสตาร์อัพในเยอรมันเริ่มโครงการนี้ในปี 2014 เป็นแท็กซี่เจ็ทขนาด 5 ที่นั่ง จะเริ่มบินไฟท์แรกในปี 2019 ความเร็วสูงสุด 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง บินด้วยพลังงานไฟฟ้า ขึ้นลงในแนวดิ่งได้ เรียกใช้บริการได้ตามยอดตึกของอาคารใหญ่ๆ แบบนี้ต้องลงทุนสร้างลาดจอดเอาไว้ตามที่สำคัญๆ แน่นอน  

Terrafugia: The Transition

เครื่องบินขนาดเท่ารถยนต์ลำนี้ถูกพัฒนามาตั้งแต่ปี 2006 ด้วยขนาดที่บอกไว้ว่าสามารถจอดในโรงรถที่บ้านได้เลย ว่าแต่ว่าถ้าโรงรถไม่ได้เชื่อมต่อกับรันเวย์คงต้องขับหากันเหนื่อยหน่อยเปิดให้จองกันได้แล้วในราคา 300,000 เหรียญสหรัฐ (10 กว่าล้านบาทเอง) ทำความเร็วสูงสุดที่ 100 ไมล์ต่อชั่วโมง ใช้เชื้อเพลิงเป็นน้ำมันไร้สารตะกั่ว  

Kitty Hawk: The Flyer

โปรเจคนี้ได้รับการหนุนหลังจาก Larry Page ผู้ร่วมก่อตั้ง Google ซึ่งมองจากรูปร่างแล้วมันเหมือนจะเป็นเครื่องเล่นมากกว่า เครื่องบินที่จะเอามาใช้ในการเดินทางจริง ถึงแม้จะใช้ไฟฟ้าในการขับเคลื่อนแต่ก็ทำได้ในระยะสั้นๆ เพียงแค่ 22 นาทีเท่านั้น แถมยังต้องขึ้นลงบนผิวน้ำอีกต่างหาก หากคุณมีเงินเหลือใช้สัก 10,000 เหรียญสหรัฐก็ลองไปหาซื้อของเล่นใหม่สำหรับฤดูร้อนของคุณดูก็ได้ สิ้นปี 2017 นี้ก็พร้อมจะให้คุณจองแล้ว  

Uber: Elevate

ผลงานที่ได้จากการจ้างนักวิจัยนาซ่าเพื่อออกแบบให้ยานยนต์ลำนี้สามารถขึ้นลงในแนวดิ่งได้ แต่เรื่องนี้กว่าจะออกมาเป็นสินค้าหรือบริการที่ใช้ได้จริงจะต้องผ่านขั้นตอนการตรวจสอบหรือรับรองให้ได้ก่อนว่าด้วยเครื่องยนต์หน้าตาแบบนี้จะถูกตีความว่าเป็นอะไรกฎหมายรองรับได้หรือไม่ ตัวเครื่องยนต์เองใช้ระบบไฟฟ้าและทำงานได้เงียบมาก จึงเหมาะสำหรับการใช้งานในชุมชนเพราะไม่มีเสียงรบกวน งานนี้ต้องออกแรงตกลงกับนาซ่าและรัฐบาลให้เสร็จก่อนจึงจะเปิดให้บริการได้  

Airbus: Pop.Up

งานนี้ Airbus ก็โดดลงมาเล่นกับเขาด้วย แล้วก็แปลกแหวกแนวไม่ซ้ำใคร เพราะดูผ่านๆ จะเห็นว่าหน้าตาก็รถสองที่นั่งธรรมดา แต่พอเจอรถติดอยากไปทางลัดขึ้นฟ้าก็สามารถเรียกให้โดรนขนาดใหญ่มาดึงตู้โดยสารบินขึ้นไปได้เลย ทิ้งส่วนของล้อเอาไว้ข้างล่างนั่นแหละ เดินทางได้ไกลสุดอยู่ที่ 62 ไมล์ ผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นว่าการพัฒนาระบบไฟฟ้ายังไม่ดีพอ คาดว่าจะต้องใช้เวลาในการพัฒนาไปอีกสักระยะหนึ่งกว่าจะออกมาให้ใช้งานจริง  

Aeromobil

ว่ากันว่านี่คือสิ่งที่ใกล้เคียงความเป็นจริงที่สุด ในเรื่องของรถยนต์กลายร่างเป็นเครื่องบิน ข่าวว่ารถยนต์หรือเครื่องบินรุ่นนี้ได้รับการรองรับสำหรับใช้ในยุโรปและอเมริกาแล้ว สนนราคาอยู่ที่ 1 ล้านเหรียญสหรัฐ บริษัทผู้ผลิตมีแผนจะส่งมอบรุ่นแรกในปี 2020 ส่วนเรื่องของเชื้อเพลิงใช้ 2 ระบบคือในตอนที่อยู่บนดินใช้พลังงานไฟฟ้า แต่เมื่อขึ้นไปอยู่บนฟ้าก็จะเปลี่ยนไปใช้น้ำมัน รูปภาพและเนื้อหาเรียบเรียงจาก https://www.theguardian.com/technology/2017/sep/10/are-flying-cars-ready-for-takeoff

Mostview

นวัตกรรมชีวเคมี นำแบคทีเรียสร้างเซลลูโลส ส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน

นักวิจัยจากจุฬาฯ สร้างนวัตกรรม ‘เซลลูโลส’ จากแบคทีเรีย ทดแทนการนำเข้านับหมื่นล้านบาท ช่วย เศรษฐกิจหมุนเวียน และเป็น zero waste ภายใต้สิทธิบัตร ‘เซลโลกัม’

หนุ่มอายุ 25 ปี ใช้ AI สร้างรายได้เกือบ 2 ล้านบาท ใช้เวลาแค่ 2 เดือน

เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ถูกพูดถึงอย่างในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่ามา และคาดการณ์ว่าจะเข้ามามีบทบาทเป็นส่วนหนึ่งของการทำธุรกิจต่อไปในวันข้างหน้า

Asahi เพิ่มการผลิตเครื่องดื่มไร้แอลกอฮอล์ ชูเป็นสินค้าหลัก หลังคนญี่ปุ่นดื่มเบียร์น้อยลง

Asahi แบรนด์ผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เตรียมดันการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้มากขึ้นกว่าเดิม หวังสร้างยอดขายในสัดส่วน 50% ภายในปี 2040

SOURCE Global บริษัทผู้ใช้แผงโซลาร์เซลล์เปลี่ยนอากาศให้กลายเป็นน้ำดื่ม แก้ปัญหาขาดแคลนน้ำ

ท่ามกลางอากาศที่แห้งแล้งในทะเลทรายของลาสเวกัส ดูเหมือนจะเป็นเรื่องยากกับการแหล่งน้ำที่มีความอุดมสมบูรณ์รอบบริเวณที่มีอยู่ โดยทางตอนใต้ของเนวาดากำลังเผชิญภัยแล้งที่เลวร้ายที่ครั้งในประวัติศาสตร์ที่ต้องบันทึกไว้ จนนำไปสู่การขาดแคลนน้ำ และข้อจำกัดในการใช้

SmartSME Line