วันพฤหัสบดี, เมษายน 25, 2567

กลยุทธ์พิชิตใจลูกค้า เปลี่ยนลูกค้าขาจรเป็นลูกค้าประจำ

by Smart SME, 3 ตุลาคม 2560

เจ้าของกิจการหลายรายอยากได้ลูกค้าที่ชื่นชมและเป็นแฟนพันธุ์แท้ของบริษัท

แต่จะทำให้ลูกค้ามาหลงใหลได้ปลื้มขนาดนั้นได้อย่างไร แน่นอนว่ามีโอกาสเป็นไปได้หากเราวางแผนการตลาดให้ดีตั้งแต่แรกเริ่ม และ การคำนึงถึง กลยุทธ์พิชิตใจลูกค้า 3 ข้อต่อไปนี้อาจเป็นตัวช่วยสำคัญให้พิชิตใจลูกค้าจนเขาเปลี่ยนเป็นแฟนประจำได้ กลยุทธ์พิชิตใจลูกค้า 1. เน้นลูกค้ากลุ่มใหญ่ ขั้นแรกต้องกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายให้ชัดเจนเสียก่อน ในกรณีนี้กลุ่มที่ดีที่สุดคือกลุ่มที่มีจำนวนประชากรมากที่สุด ไม่ใช่กลุ่มคนจำเพาะเจาะจงอย่างพวกคลั่งเทคโนโลยี แต่หากเราเน้นกลุ่มคนหมู่มากที่เหลือ เช่น วัยรุ่น คนทำงาน หรือพ่อแม่ทั้งหลายที่มีกำลังซื้อพร้อมอยู่แล้ว 2. มากกว่าแค่ความต้องการ ลองสมมติให้ตัวเองเป็นลูกค้า ไม่ใช่ผู้ผลิตแล้วมองว่าเราอยากได้สินค้ายังไง และปรับแต่งให้อยู่บนพื้นฐานง่ายต่อการใช้งานแต่ทันสมัยและก้าวล้ำ หากเป็นการบริการใดๆ ก็อาจเป็นแนวที่เข้าใจได้ ไม่รู้สึกขัดเขินที่จะเข้าไปใช้บริการเข้าทำนองว่าสูงสุดสู่สามัญนั่นเอง 3. ความเห็นของลูกค้าก็เป็นสิ่งสำคัญ เมื่อปล่อยสินค้าบริการออกสู่ตลาดแล้ว สิ่งต่อไปที่ควรทำ คือ เฝ้ามองกระแสตอบรับและความคิดเห็นจากลูกค้า เพื่อจะได้นำมาเป็นแนวทางในการปรับปรุงสินค้าบริการ ให้โดนใจลูกค้ามากยิ่งขึ้น

หลักการ กลยุทธ์พิชิตใจลูกค้า ทั้ง 3 ข้อนี้

อาจทำให้มุมมองทางการตลาดของเราเปลี่ยนไปแต่สิ่งหนึ่งที่เราไม่ควรเปลี่ยนคือคุณภาพของสินค้าบริการและความซื่อสัตย์ของบริษัท หากเราไม่มีสองสิ่งนี้ ไม่ว่ากลยุทธ์ทางการตลาดจะดีแค่ไหนก็ไม่อาจช่วยให้ครองใจลูกค้าได้ [บทความทั้งหมด] | [คลิปรายการทั้งหมด]

Mostview

หนุ่มอายุ 25 ปี ใช้ AI สร้างรายได้เกือบ 2 ล้านบาท ใช้เวลาแค่ 2 เดือน

เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ถูกพูดถึงอย่างในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่ามา และคาดการณ์ว่าจะเข้ามามีบทบาทเป็นส่วนหนึ่งของการทำธุรกิจต่อไปในวันข้างหน้า

Asahi เพิ่มการผลิตเครื่องดื่มไร้แอลกอฮอล์ ชูเป็นสินค้าหลัก หลังคนญี่ปุ่นดื่มเบียร์น้อยลง

Asahi แบรนด์ผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เตรียมดันการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้มากขึ้นกว่าเดิม หวังสร้างยอดขายในสัดส่วน 50% ภายในปี 2040

ธุรกิจอีคอมเมิร์ซมาแรง คนไทยซื้อผ่านแพลตฟอร์ม 67% คาดมูลค่าปี 2567 แตะ 7 แสนล้านบาท

ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เผยว่าธุรกิจอีคอมเมิร์ซมาแรงต่อเนื่อง โตแบบฉุดไม่อยู่ ปี 2566 มีมูลค่า 6.34 แสนล้านบาท คาดการณ์ปี 2567 มูลค่าแตะ 7 แสนล้านบาท และปี 2568 มูลค่าทะลุ 7.5 แสนล้านบาท

SmartSME Line