วันพฤหัสบดี, เมษายน 25, 2567

VAT 9%  ขึ้นปีหน้า จะรับมืออย่างไร?

by Smart SME, 9 ตุลาคม 2560

เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ประกาศพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 646) พ.ศ. 2560 เรื่องการปรับปรุงอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มว่าจะมีอัตรา 9% ( VAT 9% ) สําหรับการขายสินค้า การให้บริการ หรือการนําเข้าทุกกรณี ซึ่งความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป สามารถอ่านรายละเอียดของประกาศพระราชกฤษฎีกาได้ตามลิ้งค์ด้านล่าง www.ratchakitcha.soc.go.th เห็นแบบนี้แล้วอย่าเพิ่งตกใจ เพราะ VAT 7% เป็นสิ่งที่เราเข้าใจผิดมาตลอด แท้จริงแล้วประเทศไทยนั้นมีออัตราการเรียกเก็บ VAT อยู่ที่ 10% ตามมาตรา 80 แห่งประมวลรัษฏากรได้กำหนดให้ใช้ อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ในอัตราร้อยละ 10  โดย 9% จะนำเข้าสรรพากร และอีก 1% จะไปบำรุงท้องถิ่น  แต่ที่เราเคยเข้าใจว่าภาษีมูลค่าเพิ่มของเรานั้นเป็น 7%  เพราะที่ผ่านมาได้มีการออกประกาศ ตราพระราชกฤษฏีกาเพื่อลดอัตราภาษี ลงเหลือ 7%  ( VAT เหลือ 6.3% และให้เก็บภาษีท้องถิ่นเสริมเข้าไปในอัตรา 1/9 ของ VAT รวมกันแล้วเท่ากับ 7%  ) และเป็นแบบนี้ตั้งแต่ปี 2534 จนถึงปัจจุบันจึงทำให้เราเข้าใจมาตลอดว่าภาษีมูลค่าเมของเราคือ 7%  นั่นจึงหมายความว่า ถ้ามีการออกตราพระราชกฤษฏีกาเพื่อลดอัตราภาษีมาอีก เราก็จะยังได้จ่าย 7% เหมือนที่ผ่านๆ มา แต่ถ้าไม่มีการออกตราพระราชกฤษฏีกาเพื่อลดอัตราภาษี เราก็แค่กลับมาจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มตามอัตราเดิมเท่านั้น แต่สุดท้ายไม่ว่าจะออกมาเป็นอัตราไหน 7% หรือ 9% ก็ไม่ต้องกังวลใจ เพราะเราได้เตรียมวิธีรับมือมาให้เรียบร้อยแล้ว  ไขข้อข้องใจ แล้วใครต้องจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT ) ถ้าเอาแบบสั้นๆ คำตอบก็คือ ผู้ประกอบกิจการ แต่แล้วที่เห็นๆ คนในโซเชียลดราม่าเรื่องนี้ มันเป็นเพราะอะไร มาดูคำตอบกัน ภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็น ภาษีที่รัฐบาลเรียกเก็บจากมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นในแต่ละขั้นตอนการผลิตสินค้าหรือบริการ และการจำหน่ายสินค้าหรือบริการชนิดต่าง ๆ โดยผู้ประกอบการเป็นผู้มีหน้าที่เก็บจากลูกค้า  แล้วนำภาษีมูลค่าเพิ่มไปชำระให้แก่รัฐบาล นั่นหมายความว่า ค่าสินค้าและบริการ = ต้นทุนสินค้าหรือบริการ+ VAT + กำไร **แต่บางธุรกิจก็เลือกแยก VAT ออกมาให้ลูกค้าเห็นไปเลย หากเราอยู่ในฐานะผู้บริโภคหรือผู้ใช้บริการ (ซึ่งทุกคนต้องอยู่ในฐานะนี้อยู่แล้ว)  VAT จึงเป็นแค่อีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้สินค้ามีราคามากขึ้น แม้อาจจะไม่มีผลเท่ากับ เรื่องต้นทุนของสินค้าและบริการ แต่ถ้าหาก VAT มีการปรับเป็น 9% จริงๆ ก็มีโอกาสที่สินค้าและบริการจะมีราคาสูงขึ้นอย่างแน่นอน โดยส่วนธุรกิจอาจรวมราคา VAT ไปในสินค้าเลย หรือบางธุรกิจก็อาจแยก VAT ออกมาต่างหาก ไม่เพียงแต่เท่านั้น ผู้ประกอบกิจการ ควรที่จะให้ความใส่ใจในเรื่องนี้เป็นพิเศษและมองข้ามไม่ได้เช่นกัน เพราะการที่มี VAT เพิ่ม มันก็เหมือนมีต้นทุนที่เพิ่มขึ้น และสำหรับบางธุรกิจ การผลักภาระ VAT ให้ลูกค้า เช่น เขียนแยกไปเลย อาจจะไม่ใช่กลยุทธ์ที่ดีเท่าไหร่ เพราะทำให้ลูกค้ารู้สึกเหมือนถูกเอาเปรียบ ดังนั้น เพื่อรับมือกับ VAT ในปีหน้า เราแนะนำว่าให้รวม VAT เข้าไปป็นต้นทุนสินค้าเลยดีกว่า สำหรับผู้ประกอบกิจการ จจะต้องให้ความใส่ใจในเรื่องนี้มากเป็นิเสากว่าคนทั่วไปสักหน่อย เพราะ VAT ที่เพิ่มจะไม่เพียงแต่ส่ผลให้ต้นทุนเพิ่มเท่านั้น แต่อีกเรื่องหนึ่งที่ควรใส่ใจ เพื่อไม่ให้เกิดการเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง ที่ส่งผลกระทบต่อการธุรกิจแบบเต็มๆ รวมถึงอาจผิดกฏหมายในกรณีเลี่ยงภาษีด้วย  คือ ผู้ประกอบการต้องเช็คให้ดี ว่าธุรกิจของเราต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ ในกฏหมายได้กล่าวว่า ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจ  หากมีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน อย่างไรก็ตาม ยังมีกิจการบางประเภทที่ได้รับการยกเว้น สามารถดุได้จากข้อมูลด้านล่างนี้เลย ผู้ประกอบการที่ไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 1.  ผู้ประกอบการที่มีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี 2.  ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย 3.   ผู้ประกอบการที่ให้บริการจากต่างประเทศ และได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร 4.  ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักรและเข้ามาประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นครั้งคราว ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ที่กำหนดไว้ในประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ( ฉบับที่ 43) ฯ ลงวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2536 5.  ผู้ประกอบการอื่นตามที่อธิบดีจะประกาศกำหนดเมื่อมีเหตุอันสมควร

วิธีการรับมือกับ VAT 9% 

สำหรับคนทั่วๆ ไป อาจจะเป้นการเตรียมรับมือกับค่าสินค้าและบริการที่จะเพิ่มสูงขึ้น แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเพิ่มไปทุกธุรกิจหรือทุกอย่าง ซึ่งในฐานะผู้บริโภคเราสามารถเลือกได้ตามราคาที่เราพึงพอใจ ส่วนสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องเสียภาษีที่จะปรับอัตราปีหน้า แท้จริงแล้วมีแค่  2 อย่างเท่านั้น คือ ใช้สูตร ค่าสินค้าและบริการ = ต้นทุนสินค้าหรือบริการ+ VAT + กำไร  เพื่อให้ได้ราคาจำหน่ายที่ดีที่สุดสำหรับธุรกิจ และ อย่าลืมเช็คว่าธุรกิจของเราต้องยื่นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ เพื่อเลี่ยงการโดนเก็บภาษีย้อนหลัง หรือป้องกันการถูกมองว่ากิจการของเรานั้นเลี่ยงภาษี แค่เพียงเท่านี้ ท่านก็จะสามารถรับมือกับ VAT 9% ที่จะเกิดขึ้นได้โดยไม่ต้องกังวลอีกต่อไป อย่างไรก็ตาม เรายังไม่สามารถที่จะฟันธงได้ว่า ปีหน้า VAT นั้นจะเป็น 9% ได้อย่างแท้จริง แม้จะมีพระราชกฤษฎีกาออกมาแล้ว แต่ถ้าหากรัฐบาลได้มีการออกพระราชกฤษฏีกาเพื่อลดอัตราภาษีมาเพิ่มในอนาคต นั้นก็หมายความมาอัตรภาษีมูลค่าเพิ่มก็ยังมีโอกาสลดลงมาอยู่ที่ 7% เหมือนเดิม ซึ่งเรื่องนี้เราจะติดตามและมาอัพเดตให้ทุกท่านทราบต่อไป [บทความทั้งหมด] | [คลิปรายการทั้งหมด]

Mostview

หนุ่มอายุ 25 ปี ใช้ AI สร้างรายได้เกือบ 2 ล้านบาท ใช้เวลาแค่ 2 เดือน

เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ถูกพูดถึงอย่างในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่ามา และคาดการณ์ว่าจะเข้ามามีบทบาทเป็นส่วนหนึ่งของการทำธุรกิจต่อไปในวันข้างหน้า

ธุรกิจอีคอมเมิร์ซมาแรง คนไทยซื้อผ่านแพลตฟอร์ม 67% คาดมูลค่าปี 2567 แตะ 7 แสนล้านบาท

ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เผยว่าธุรกิจอีคอมเมิร์ซมาแรงต่อเนื่อง โตแบบฉุดไม่อยู่ ปี 2566 มีมูลค่า 6.34 แสนล้านบาท คาดการณ์ปี 2567 มูลค่าแตะ 7 แสนล้านบาท และปี 2568 มูลค่าทะลุ 7.5 แสนล้านบาท

เปิดธุรกิจที่ได้รับประโยชน์ หากเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท เริ่มใช้งาน

ผลสำรวจบอกผู้มีสิทธิ์ใช้เงินดิจิทัลวอลเล็ต จะเลือกใช้จ่ายร้านค้าท้องถิ่น 40% รองลงมาเป็นร้านสะดวกซื้อ เช่น CJ, 7-Eleven 26%

อาชีพชินแสดูดวงคนสมัครงาน ธุรกิจมาแรงในสิงคโปร์ คนนี้ดวงสมพงษ์กับบริษัทหรือไม่?

การสมัครงานนอกจากโปร์ไฟล์ที่เพียบพร้อมแล้ว ต้องมีโหงวเฮ้งที่ดีอีกด้วย เพราะนี่เป็นอีกหนึ่งวิธีการคัดเลือกผู้สมัครของบริษัท นอกจากจะเก่งแล้วยังต้องมีดวงสมพงษ์กับเจ้าของธุรกิจด้วย หากไม่เข้าข่าย ดูแล้วไม่เกื้อหนุนกัน เรซูเม่นั้นก็จะถูกปัดตกไป

SmartSME Line