วันพฤหัสบดี, เมษายน 25, 2567

สรุปเทรนด์การออกแบบ "แพคเกจจิ้ง" ที่น่าสนใจในปี 2018

by Smart SME, 3 มกราคม 2561

บทความจาก สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครชิคาโก

นายเดวิด ลุตเทนเบอร์เกอร์ ผู้อำนวยการบรรจุภัณฑ์ทั่วโลกของบริษัทมินเทล (Mintel) ซึ่งดำเนินธุรกิจที่ปรึกษาและขายข้อมูลในตลาดชั้นนำของโลก ได้เปิดเผย 5 แนวโน้มที่จะมีผลกระทบอุตสาหกรรม แพคเกจจิ้ง ในปี 2561 ดังนี้

แพคเกจ แพลนเนท (Packaged Planet)

วัฒนธรรมการของแพคเกจจิ้งแบบใช้แล้วโยนทิ้งอย่างทุกวันนี้ จะเป็นเรื่องล้าสมัย เนื่องจากพัฒนาการของบรรจุภัณฑ์ยุคใหม่ จะมีบทบาทสำคัญต่อการช่วยลดเศษอาหารของโลกและบรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบขึ้นมาจะต้องสื่อสารข้อมูลต่างๆ เพื่อประโยชน์ของผู้บริโภคด้วย

รีแพคเกจ (Repackage)

ปัจจุบันผู้บริโภคหันมาซื้อสินค้าออนไลน์มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นการออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อขายทางอีคอมเมิร์ซ จึงมีบทบาทสำคัญต่อการเพิ่มยอดขาย และการออกแบบบรรจุภัณฑ์นั้น จะต้องสะท้อนถึงความคาดหวังของผู้บริโภค และมากกว่านั้นควรดึงดูดและเพิ่มประสบการณ์การช็อปปิ้งทางออนไลน์มากขึ้น

คลีนลาเบล 2.0 (Clean Label 2.0)

บรรจุภัณฑ์สินค้าควรได้รับการออกแบบให้มีการสื่อสารที่ชัดเจน มีข้อความรูปภาพที่โดดเด่นเหมาะสม และต้องไม่ทำให้สับสน ไม่มีข้อมูลที่น้อยหรือมากเกินไป ซึ่งจะช่วยผู้บริโภคในการตัดสินใจซื้อสินค้าได้ง่ายขึ้น

ซีเช้นจ์ (Sea Change)

ปัญหาบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ตกเกลื่อนในมหาสมุทร จะกลายเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้ผลิตสินค้าหันมาทบทวนเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรทางน้ำ ซึ่งหนึ่งในนั้น ก็คือการใช้เศษขยะบนท้องทะเล มาเป็นวัตถุดิบมาในการออกแบบบรรจุภัณฑ์

รีนาวิเกท (Renavigate)

พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคเปลี่ยนไป ปัจจุบันซุปเปอร์มาร์เก็ตปรับรูปแบบการจัดวางสินค้าในช่องทางเดิน ดังนั้น เพื่อให้สินค้าได้รับความสนใจจากผู้บริโภค ผู้ผลิตสินค้าควรนำเสนอการออกแบบบรรจุภัณฑ์แบบร่วมสมัย เพื่อเป็นศูนย์รวมและสร้างจุดสนใจในช่องทางเดินของซุปเปอร์มาร์เก็ต credit images & source | mintel.com

Mostview

หนุ่มอายุ 25 ปี ใช้ AI สร้างรายได้เกือบ 2 ล้านบาท ใช้เวลาแค่ 2 เดือน

เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ถูกพูดถึงอย่างในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่ามา และคาดการณ์ว่าจะเข้ามามีบทบาทเป็นส่วนหนึ่งของการทำธุรกิจต่อไปในวันข้างหน้า

ธุรกิจอีคอมเมิร์ซมาแรง คนไทยซื้อผ่านแพลตฟอร์ม 67% คาดมูลค่าปี 2567 แตะ 7 แสนล้านบาท

ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เผยว่าธุรกิจอีคอมเมิร์ซมาแรงต่อเนื่อง โตแบบฉุดไม่อยู่ ปี 2566 มีมูลค่า 6.34 แสนล้านบาท คาดการณ์ปี 2567 มูลค่าแตะ 7 แสนล้านบาท และปี 2568 มูลค่าทะลุ 7.5 แสนล้านบาท

เปิดธุรกิจที่ได้รับประโยชน์ หากเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท เริ่มใช้งาน

ผลสำรวจบอกผู้มีสิทธิ์ใช้เงินดิจิทัลวอลเล็ต จะเลือกใช้จ่ายร้านค้าท้องถิ่น 40% รองลงมาเป็นร้านสะดวกซื้อ เช่น CJ, 7-Eleven 26%

SmartSME Line