วันพฤหัสบดี, เมษายน 25, 2567

บางกอกกล๊าส ลุยพลังงานทดแทนและวัสดุก่อสร้าง กับงบลงทุนกว่า 7,000 ลบ.

by Smart SME, 13 กุมภาพันธ์ 2561

บางกอกกล๊าส พุ่งเป้าพลังงานทดแทน และวัสดุก่อสร้าง ตั้งงบลงทุน 4 ธุรกิจหลักราว 7,000 ล้านบาท

นายปวิณ ภิรมย์ภักดี กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางกอกกล๊าส จำกัด (มหาชน) หรือ บีจี (BG) เปิดเผยว่า ในปี 2561 บริษัทมีการเปลี่ยนแปลงสำคัญด้านโครงสร้างบริษัทและการขยายฐานธุรกิจ หลังจากดำเนินการมายาวนานกว่า 40 ปี  ซึ่งการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้เป็นการปรับตัวเพื่อลดความเสี่ยงรอบด้านและเดินหน้าธุรกิจได้ครอบคลุมภาพรวมยิ่งขึ้น  ซึ่งปี 2560 ที่ผ่านมา นอกจากธุรกิจบรรจุภัณฑ์แก้ว หรือ บีจีซี (BGC) แล้ว ได้เพิ่มเติมธุรกิจใหม่  คือธุรกิจกระจกแผ่น หรือ บีจีเอฟ (BGF) เชื่อมโยงกับธุรกิจวัสดุก่อสร้างในอนาคต  ธุรกิจพลังงานทางเลือก หรือ บีจีอี (BGE) เชื่อมต่อกับธุรกิจเดิมที่มีอยู่ ธุรกิจบรรจุภัณฑ์อื่นๆ ที่ไม่ใช่บรรจุภัณฑ์แก้ว หรือ บีจีพี (BGP) ขณะที่ภาพรวมของธุรกิจในปี 2561 จะเติบโตตามภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว โดยเฉพาะบรรจุภัณฑ์เติบโตอย่างโดดเด่น เนื่องจาก ธุรกิจเครื่องดื่ม-อาหารโตเพิ่ม ส่งผลให้เกิดความต้องการใช้บรรจุภัณฑ์เพิ่มขึ้น ส่วนธุรกิจกระจกแผ่น ลงทุนไปแล้วกว่า 5,000 ล้านบาท ซึ่งการเติบโตอาจต้องใช้ระยะเวลา เนื่องจากเป็นธุรกิจใหม่ที่เริ่มดำเนินการช่วง กันยายน 2560 ที่ผ่านมาส่วนการลงทุนพลังงานทางเลือกอยู่ระหว่างการศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศ ขณะที่ส่วนที่ดำเนินการแล้ว คือโซลาร์รูฟทอปขนาด 4.5 เมกะวัตต์ ตั้งเป้าปีนี้ขยายเป็น 10 เมกะวัตต์ ทั้งนี้ภาพรวมการลงทุนภายในปี 2561-2562 งบการลงทุนทั้งหมดประมาณ 7,000 ล้านบาท โดยเป็นการลงทุนใน 4 กลุ่มธุรกิจหลัก คาดการณ์ปี 2561 ธุรกิจหลักจะขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ทั้งนี้ บริษัท บีจี คอนเทนเนอร์ กล๊าส จำกัด ซึ่งเป็นบริษัท ในเครือ ของ บริษัท บางกอกกล๊าส จำกัด (มหาชน) เตรียมยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทหุ้นหรือไฟลิ่ง ภายในเดือนเมษายนนี้

Mostview

หนุ่มอายุ 25 ปี ใช้ AI สร้างรายได้เกือบ 2 ล้านบาท ใช้เวลาแค่ 2 เดือน

เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ถูกพูดถึงอย่างในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่ามา และคาดการณ์ว่าจะเข้ามามีบทบาทเป็นส่วนหนึ่งของการทำธุรกิจต่อไปในวันข้างหน้า

เปิดธุรกิจที่ได้รับประโยชน์ หากเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท เริ่มใช้งาน

ผลสำรวจบอกผู้มีสิทธิ์ใช้เงินดิจิทัลวอลเล็ต จะเลือกใช้จ่ายร้านค้าท้องถิ่น 40% รองลงมาเป็นร้านสะดวกซื้อ เช่น CJ, 7-Eleven 26%

ธุรกิจอีคอมเมิร์ซมาแรง คนไทยซื้อผ่านแพลตฟอร์ม 67% คาดมูลค่าปี 2567 แตะ 7 แสนล้านบาท

ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เผยว่าธุรกิจอีคอมเมิร์ซมาแรงต่อเนื่อง โตแบบฉุดไม่อยู่ ปี 2566 มีมูลค่า 6.34 แสนล้านบาท คาดการณ์ปี 2567 มูลค่าแตะ 7 แสนล้านบาท และปี 2568 มูลค่าทะลุ 7.5 แสนล้านบาท

SmartSME Line