วันศุกร์, เมษายน 19, 2567

"แบงก์กิ้งเอเจนท์" รับ-ฝาก-ถอนเงินในร้านสะดวกซื้อ ใครกันได้ประโยชน์

by Smart SME, 19 กุมภาพันธ์ 2561

เนื่องจากปัจจุบันแนวโน้มธนาคารพาณิชย์มีการปรับลดสาขาและลดพนักงานลงต่อเนื่องเพื่อก้าวเข้าสู่สู่สังคมไร้เงินสด ด้วยการนำระบบดิจิทัลเข้ามาให้บริการทางการเงินแทน ทำให้เราสามารถทำธุรกรรมทางการเงินต่างๆได้จากโมบายแอพฯ ธนาคารแห่งประเทศไทย จึงเตรียมออกประกาศหรือหลักเกณฑ์ให้ธนาคารพาณิชย์สามารถมีตัวแทนให้บริการทางการเงิน หรือ "แบงก์กิ้งเอเจนท์"เพื่อทำหน้าที่รับ-ฝาก-ถอนเงินสด และชำระค่าบริการต่างๆในพื้นที่ที่ไม่มีสาขา ช่วยลดผลกระทบกับลูกค้าต่างจังหวัดให้เข้าถึงสถาบันการเงินได้สะดวกขึ้น โดย นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ชี้แจงว่า แบงกิ้งเอเจนท์ จะทำหน้าที่แทนสาขาธนาคารพาณิชย์ที่มีแนวโน้มลดลงหลังเทคโนโลยีเข้ามาแทนที่ และจะเร่งดำเนินการภายในไตรมาสแรก ปี 2561

เพราะโลกหมุนเร็ว "แบงก์กิ้งเอเจนท์" จึงต้องเกิดขึ้น

“ตัวอย่างของการปิดสาขาของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งเป็นผลพวงจากการปรับตัวนำเทคโนโลยีมาให้บริการ ส่งผลดีต่อต้นทุน และค่าธรรมเนียมลดลง ดังนั้น ในยุคที่ต้องใช้นวัตกรรมเพื่อให้ได้งานมากขึ้นในต้นทุนที่เท่าเดิม อาจส่งผลกระทบกับแรงงานกว่า 10 ล้านคน ทำให้แรงงานเหล่านี้ต้องปรับตัว เพิ่มทักษะ ขณะเดียวกัน ต้องนำข้อมูลที่มีนำไปใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานการรักษาสิทธิความเป็นส่วนตัว” โดยข้อมูลจาก ธปท. พบว่า สาขาของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบ ตั้งแต่เดือนมกราคม 2560 ถึงเดือนพฤศจิกายน 2560 ปิดสาขาลงไปแล้ว 204 สาขา หรือจากเดือนมกราคม 2560 ที่มีธนาคารถึง 7,004 สาขา เหลือ 6,800 สาขา เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2560 ที่ผ่านมา “แบงก์กิ้งเอเจนท์” มีลักษณะการให้บริการเหมือนกับธนาคารขนาดย่อม ซึ่งจะเข้ามาขยายช่องทางการทำธุรกรรมทางการเงินต่างๆ ให้ประชาชน ทั้งรับเงิน ฝาก-ถอนเงิน นั่นเพราะเทคโนโลยีก้าวไปไกลมาก สถานที่การทำธุรกรรมทางการเงินจึงไม่ได้อยู่เพียงแค่ในธนาคารอีกต่อไป แต่จะอยู่ทุกที่ที่เครือข่ายอินเตอร์เน็ตไปถึง ทั้งในสมาร์ทโฟน หรือแม้แต่ในร้าขนายของชำ โชห่วย และร้านสะดวกซื้อ อย่างเซเว่น – อีเลฟเว่น ทั้งนี้ นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ลงนามในหลักเกณฑ์การเป็นตัวแทนธนาคาร หรือ แบงค์กิ้งเอเจนท์แล้ว ซึ่งคาดว่าในเร็วๆนี้ จะมีการประกาศออกมาอย่างเป็นทางการอีกครั้ง เพื่อให้ประชาชนเข้ารับบริการทำธุรกรรมจากตัวแทนธนาคาร เช่น ร้านค้าโชห่วยและร้านสะดวกซื้อ ด้าน น.ส.ดารณี แซ่จู ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์สถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่า การมี แบงก์กิ้งเอเจนท์ จะช่วยให้ธนาคารสามารถขยายธุรกรรมทางการเงิน ทั้งรับเงิน ฝาก-ถอนเงิน ให้ประชาชนเข้าถึงได้ง่ายขึ้นโดยเฉพาะในต่างจังหวัดที่จะได้ประโยชน์มาก เนื่องจากเพิ่มช่องทางการทำธุรกรรมทางการเงินที่สะดวกขึ้น ไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง ขณะที่ธนาคารยังได้รับอานิสงส์ด้านต้นทุน เนื่องจากไม่จำเป็นต้องเปิดสาขาใหม่เพิ่มขึ้น และลดต้นทุนด้านการขนย้ายเงินไปพื้นที่ต่างจังหวัด

“เซเว่น อีเลฟเว่น” สะดวกซื้อเบอร์ 1 ที่มีศักยภาพและความพร้อมที่สุด

ขณะเดียวกัน สิ่งที่ควรคำนึงถึงคือ ร้านค้าที่ต้องการเป็นตัวแทน จะต้องมีระบบการควบคุมบริหารจัดการที่ดี ซึ่งจะต้องมองถึงความเสี่ยง ความปลอดภัย ด้านการทำธุรกรรมการเงิน ในส่วนของธนาคารนั้น จะมีหน้าที่กำหนดคุณสมบัติของตัวแทนตามแผนธุรกิจของแต่ละธนาคาร ซึ่งจำเป็นต้องคำนึงถึงความเสี่ยงดังกล่าวด้วย คาดว่าอีกไม่นานต่อจากนี้ เราคงจะได้เห็นภาพที่ชัดเจนขึ้น หลังจากการประกาศอย่างเป็นทางการจาก ธปท. แต่ประเด็นหลักที่คนกล่าวถึง คือการออกข้อกำหนดดังกล่าว ที่ร้านค้าสะดวกซื้อรายใหญ่ของประเทศอย่าง “เซเว่น อีเลฟเว่น” ดูจะเป็นผู้ได้เปรียบ เนื่องจากจำนวนสาขาที่มีอยู่ทั่วประเทศ ระบบการบริหารจัดการที่ดูจะมีความช่ำชอง ทั้งจากาการเป็นจุดชำระเงินค่าบริการต่างๆ ซึ่งเหล่านี้เมื่อเพิ่มเรื่องของการเป็น “เอเจนท์แบงค์กิ้ง” ก็มีความน่าจะเป็นสูงที่เป็นร้านสะดวกซื้อดังกล่าว นั่นก็เท่ากับเป็นการเพิ่มศักยภาพการเป็นเจ้าตลาดที่ครองส่วนแบ่งร้านสะดวกซื้อ ที่แทบจะไม่มีคู่แข่งเหลืออยู่อีกแล้ว ด้านร้านโชห่วย ร้านขายของชำ ซึ่งขณะนี้แม้ว่ากระทรวงพาณิชย์จะพยายามผลักดันเปลี่ยนระบบการจัดการภายในร้านค้าให้มีความทันสมัย รองรับการใช้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ผ่านเครื่อง EDC และโครงการร้านค้าโชห่วยไฮบริด แต่ก็ดูว่ายังห่างไกล กับคุณสมบัติที่แต่ละธนาคารจะเลือกให้เป็นตัวแทน ทั้งเรื่องของระบบการควบคุมการทำธุรกรรม และจำนวนสาขาที่กระจายอยู่ในพื้นที่ทั่วประเทศ

บทสรุปจากผลกระทบ "แบงก์กิ้งเอเจนท์"

สิ่งที่ตามมาหลังจากนี้คือการพูดถึง ผลประโยชน์ใครได้ ใครเสีย แน่นอน ประชาชนย่อมได้ประโยชน์จากการทำธุรกรรมทางการเงินที่สะดวกยิ่งขึ้น แต่ชะตากรรมการเปลี่ยนแปลงของระบบ เอเจนท์แบงค์กิ้ง จะส่งผลโดยตรงต่อพนักงานธนาคาร ที่จะต้องลดจำนวนลงอีกนับจากนี้ ขณะที่ร้านโชห่วย อาจจะได้รับอานิสงส์จากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเพียงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับร้านสะดวกซื้อรายใหญ่ ที่ดูเหมือนจะได้รับประโยชน์แบบเต็มเม็ดเต็มหน่วย

Mostview

นวัตกรรมชีวเคมี นำแบคทีเรียสร้างเซลลูโลส ส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน

นักวิจัยจากจุฬาฯ สร้างนวัตกรรม ‘เซลลูโลส’ จากแบคทีเรีย ทดแทนการนำเข้านับหมื่นล้านบาท ช่วย เศรษฐกิจหมุนเวียน และเป็น zero waste ภายใต้สิทธิบัตร ‘เซลโลกัม’

SOURCE Global บริษัทผู้ใช้แผงโซลาร์เซลล์เปลี่ยนอากาศให้กลายเป็นน้ำดื่ม แก้ปัญหาขาดแคลนน้ำ

ท่ามกลางอากาศที่แห้งแล้งในทะเลทรายของลาสเวกัส ดูเหมือนจะเป็นเรื่องยากกับการแหล่งน้ำที่มีความอุดมสมบูรณ์รอบบริเวณที่มีอยู่ โดยทางตอนใต้ของเนวาดากำลังเผชิญภัยแล้งที่เลวร้ายที่ครั้งในประวัติศาสตร์ที่ต้องบันทึกไว้ จนนำไปสู่การขาดแคลนน้ำ และข้อจำกัดในการใช้

Asahi เพิ่มการผลิตเครื่องดื่มไร้แอลกอฮอล์ ชูเป็นสินค้าหลัก หลังคนญี่ปุ่นดื่มเบียร์น้อยลง

Asahi แบรนด์ผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เตรียมดันการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้มากขึ้นกว่าเดิม หวังสร้างยอดขายในสัดส่วน 50% ภายในปี 2040

SmartSME Line