วันพฤหัสบดี, เมษายน 25, 2567

บิสคลับอีสานโอด สินเชื่อมากมายจากรัฐ กู้ไม่ได้จริงและเข้าไม่ถึงธุรกิจฐานราก

by Smart SME, 23 กุมภาพันธ์ 2561

(23 ก.พ. 61) คุณสุรชัย  กำพลานนท์วัฒน์ (เนคไทสีม่วงตรงกลาง) ผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์สมาร์ทเอสเอ็มอี ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท พีเอ็มจี คอร์ปอเรชั่น จำกัด และ ดร.กรัณย์  สุทธารมณ์ (เนคไทสีฟ้าตรงกลาง) ประธานเครือข่ายธุรกิจ บิสคลับ ได้ทำการลงนามความร่วมมือ (MOU) ระหว่างกัน เพื่อร่วมยกระดับและพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs ไทยให้แข็งแกร่งและเติบโตอย่างยั่งยืน จากนั้นเมื่อสอบถาม คุณปิยะมาศ บัวแก้ว (สวมสูทขาวกระโปรงน้ำเงิน) หนึ่งในคณะทำงาน ตำแหน่งประธานเครือข่ายธุรกิจบิสคลับจังหวัดอำนาจเจริญ และประชาสัมพันธ์บิสคลับไทยแลนด์ ถึงปัญหาการทำธุรกิจที่กลุ่มเศรษฐกิจฐานรากในท้องถิ่นภาคอีสานมักเจออยู่มีอะไรบ้าง คุณปิยะมาศได้ให้รายละเอียดว่า เนื่องจากผู้ประกอบการส่วนใหญ่ในภาคอีสานเป็นเศรษฐกิจฐานราก จดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชน จึงมีการรวมตัวทำธุรกิจกันเป็นกลุ่ม เช่น ชุมชนทอผ้า ชุมชนทอเสื่อ ชุมชนแปรรูปอาหาร ฯลฯ ฉะนั้น เมื่อมีการจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชน กลุ่มชุมชน หรือโอท็อป ช่องทางการเข้าถึงสินเชื่อจึงเป็นเรื่องยากมาก เนื่องจากเวลาที่ภาครัฐทำงบประมาณเพื่อปล่อยสินเชื่อ จะไม่มีการระบุถึงเลขทะเบียนของวิสาหกิจชุมชน ต้องเป็นนิติบุคคลเท่านั้น จึงทำให้การรวมกลุ่มทำโอท็อปในชุมชนที่มีเลขทะเบียนโอท็อปไม่สามารถกู้ได้ เพราะไม่ใช่เลขนิติบุคคลที่อยู่ในระบบของภาครัฐ ดังนั้นนโยบายสินเชื่อต่างๆที่รัฐออกมาจึงไม่สามารถตอบโจทย์กลุ่มธุรกิจฐานรากอย่างแท้จริง ตัวอย่างเช่น วงเงินกู้ร้อยละ 1% ของหน่วยงานรัฐ ที่การรวมกลุ่มต่างๆไม่สามารถกู้ได้ เว้นแต่ต้องเอาตัวเองไปจดเป็นบริษัท ห้าง ร้าน แต่เมื่อจดแล้วก็เท่ากับเป็นผู้ดำเนินกิจการใหม่ ซึ่งต้องไปดูระบบหมุนเวียนทางการเงินของกิจการใหม่อีกครั้ง ซึ่งรัฐไปยึดหลักเกณฑ์ของธนาคารที่ไม่มีความยืดหยุ่น โดยเฉพาะเรื่องเอกสารและข้อกำหนดต่างๆที่วางไว้อย่างรัดกุมเกินไป ที่สำคัญคืองบสินเชื่อที่รัฐให้มานั้น ส่วนใหญ่เป็นการปล่อยกู้เพื่อใช้ลงทุน เช่นมีการระบุที่ว่า หากต้องการลงทุนซื้อเครื่องจักร อุปกรณ์ การก่อสร้างหรืออื่นๆ เพื่อมาพัฒนาธุรกิจ ผู้ขอกู้จะต้อไปซื้อเครื่องจักร หรือไปจ่ายค่าต่างๆมาก่อนแล้วค่อยมาทำการเบิก ซึ่งมันขัดแย้งกัน เพราะถ้าผู้ประกอบการมีเงินไปซื้อมาก่อนแล้วเขาจะมาขอกู้ทำไมล่ะ? จากการลงพื้นที่ของตนเอง ทำให้รู้ว่าแทบไม่มีโครงการไหนเลยที่กู้ได้ จึงอยากฝากถึงหน่วยงานรัฐ ว่าหากต้องการวางนโยบายเงินกู้เพื่อช่วยผู้ประกอบการ SMEs ที่เป็นกลุ่มเศรษฐกิจฐานรากอย่างแท้จริง ขอให้มาลงพื้นที่เก็บข้อมูล ต้องไปศึกษาผู้ประกอบการรายย่อยในท้องถิ่นก่อน แล้วจากนั้นค่อยออกนโยบายมาเพื่อมาแก้ไขปัญหาให้ผู้ประกอบการ ซึ่งปัจจุบันสิ่งที่รัฐทำอยู่ คือการติดต่อกลับไปหาส่วนงานรัฐในจังหวัดนั้นๆ ซึ่งในบางครั้งข้อมูลที่ได้มาอาจเป็นผักชีโรยหน้า จึงอยากให้ลองติดต่อกับเอกชนหรือเครือข่ายธุรกิจบิสคลับในจังหวัดแทน เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงและข้อมูลที่สดใหม่

Mostview

หนุ่มอายุ 25 ปี ใช้ AI สร้างรายได้เกือบ 2 ล้านบาท ใช้เวลาแค่ 2 เดือน

เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ถูกพูดถึงอย่างในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่ามา และคาดการณ์ว่าจะเข้ามามีบทบาทเป็นส่วนหนึ่งของการทำธุรกิจต่อไปในวันข้างหน้า

Asahi เพิ่มการผลิตเครื่องดื่มไร้แอลกอฮอล์ ชูเป็นสินค้าหลัก หลังคนญี่ปุ่นดื่มเบียร์น้อยลง

Asahi แบรนด์ผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เตรียมดันการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้มากขึ้นกว่าเดิม หวังสร้างยอดขายในสัดส่วน 50% ภายในปี 2040

ธุรกิจอีคอมเมิร์ซมาแรง คนไทยซื้อผ่านแพลตฟอร์ม 67% คาดมูลค่าปี 2567 แตะ 7 แสนล้านบาท

ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เผยว่าธุรกิจอีคอมเมิร์ซมาแรงต่อเนื่อง โตแบบฉุดไม่อยู่ ปี 2566 มีมูลค่า 6.34 แสนล้านบาท คาดการณ์ปี 2567 มูลค่าแตะ 7 แสนล้านบาท และปี 2568 มูลค่าทะลุ 7.5 แสนล้านบาท

SmartSME Line