วันพฤหัสบดี, เมษายน 25, 2567

เอสเอ็มอี ต้องยืนด้วยลำแข้งตัวเอง พึ่งรัฐให้น้อยที่สุด

by Smart SME, 23 เมษายน 2561

นายเกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดเผยว่า แนวทางการแก้ปัญหาธุรกิจ เอสเอ็มอี ของรัฐบาลได้ขยับมาแก้ปัญหากลางทาง

ในเรื่องของปรับโครงสร้างหนี้ และการอุดหนุนสินเชื่อ ซึ่งดีกว่ารัฐบาลที่ผ่านมาที่ส่วนใหญ่เน้นในการแก้ไขที่ ปลายเหตุ เช่น การจัดแสดงสินค้า และการฝึกอบรม เป็นต้น อย่างไรก็ตาม รัฐบาลควรจะลงลึกเข้าไปแก้ไขในระดับต้นน้ำของปัญหา ก็คือเรื่องการเข้าไปปรับโมเดลธุรกิจของเอสเอ็มอีให้มีความทันสมัยไปสู่อุตสาหกรรม 4.0 ให้ ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมีการวางแผนธุรกิจเพื่อให้มีทิศทางการเติบโตในอนาคต ทั้งนี้เนื่องจากผู้ประกอบการเอสเอ็มอีส่วนใหญ่โตมาจากรายเล็กต้องพยายามต่อสู้เพื่อให้รอดพ้นไปวันๆ จึงไม่สนใจวางแผนธุรกิจระยะยาว โดยจากผลสำรวจการปรับตัวของธุรกิจ เอสเอ็มอี ในเบื้องต้น จากกลุ่มตัวอย่าง 685 ราย พบว่า มีสูงถึง 70-80% ที่ไม่มีการวางแผนล่วงหน้าเกิน 1 ปี ซึ่งเป็นทุกกลุ่มธุรกิจ ไม่มีการคิดวางระบบอย่างจริงจัง ดูแต่เงินที่คงเหลือ การเติบโตของธุรกิจจะเป็นไปตามเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ากลัว เพราะหากช่วงใดเศรษฐกิจฟื้นตัวช้าก็อยู่รอดได้ยาก
"ในอนาคตภาวะเศรษฐกิจจะเปลี่ยนไปมาก ภาครัฐจะต้องเข้าไปให้การอบรมในระยะยาว เพื่อผลักดันให้เอสเอ็มอีปรับตัวไปสู่อุตสาหกรรม 4.0"
นอกจากนี้ ในการสำรวจ พบว่ามี เอสเอ็มอี เพียง 20% ที่ปรับตัวได้ มีการวางแผนธุรกิจเกิน 1 ปี และมีภาพชัดเจนว่าในอีก 3-5 ปี จะเดินไปในทิศทางใด ซึ่งกลุ่มที่ปรับตัวได้จะเป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่มีหัวคิดก้าวหน้า หาความรู้มาปรับปรุงธุรกิจสม่ำเสมอ นำระบบไอทีเข้ามาใช้ ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการส่งออก และบริการท่องเที่ยว

ทั้งนี้ ภาครัฐจะต้องสื่อสารให้ เอสเอ็มอี ยืนด้วยลำแข้งของตัวเอง พึ่งพารัฐ ให้น้อยที่สุด ภาคเอกชนจะต้องรวมกลุ่มกันช่วยแก้ปัญหาต่างๆและให้รัฐเข้ามาช่วยสนับสนุนในสิ่งที่จำเป็น เพราะหากรอให้รัฐเข้ามาช่วยเหลือเพียงอย่างเดียวจะไปไม่รอด

อ่านข่าวอื่น >>> [คลิก] ดูรายการเที่ยงวันทันกระแส >>> [คลิก]
Tag :

Mostview

หนุ่มอายุ 25 ปี ใช้ AI สร้างรายได้เกือบ 2 ล้านบาท ใช้เวลาแค่ 2 เดือน

เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ถูกพูดถึงอย่างในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่ามา และคาดการณ์ว่าจะเข้ามามีบทบาทเป็นส่วนหนึ่งของการทำธุรกิจต่อไปในวันข้างหน้า

เปิดธุรกิจที่ได้รับประโยชน์ หากเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท เริ่มใช้งาน

ผลสำรวจบอกผู้มีสิทธิ์ใช้เงินดิจิทัลวอลเล็ต จะเลือกใช้จ่ายร้านค้าท้องถิ่น 40% รองลงมาเป็นร้านสะดวกซื้อ เช่น CJ, 7-Eleven 26%

ธุรกิจอีคอมเมิร์ซมาแรง คนไทยซื้อผ่านแพลตฟอร์ม 67% คาดมูลค่าปี 2567 แตะ 7 แสนล้านบาท

ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เผยว่าธุรกิจอีคอมเมิร์ซมาแรงต่อเนื่อง โตแบบฉุดไม่อยู่ ปี 2566 มีมูลค่า 6.34 แสนล้านบาท คาดการณ์ปี 2567 มูลค่าแตะ 7 แสนล้านบาท และปี 2568 มูลค่าทะลุ 7.5 แสนล้านบาท

SmartSME Line