วันศุกร์, เมษายน 19, 2567

สคบ.เคลียร์ชัด มัดจำเกิน 1 เดือนขอคืนได้ ห้องพัก กระอัก ไม่ปฏิบัติตามเจอ 1 แสน

by Smart SME, 26 เมษายน 2561

ถึงคราวคนตัวเล็กได้เฮกันทั้งเมือง โดยเฉพาะพนักงานหรือคนหาเช้ากินค่ำที่พักอาศัยใน ห้องพัก รายเดือน สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ได้ออกมายืนยันทุกรายละเอียดกับรายการ SMEs VOICE แล้วว่ากฎหมายคุ้มครองผู้พักอาศัย ที่จะเริ่มใช้ 1 พฤษภาคม 2561 นี้ จะให้ความเป็นธรรมกับผู้เช่าทั่วประเทศ

พลตำรวจตรี ประสิทธิ์ เฉลิมวุฒิศักดิ์ เลขาธิการ สคบ. กล่าวว่า สืบเนื่องมาจากผู้เช่าหอพักได้ร้องเรียนเข้ามาว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมจากผู้ประกอบการธุรกิจหอพัก เช่น มีการรีดเงินค่ามัดจำล่วงหน้า โดยเมื่อผู้เช่าต้องการยุติการเช่า ทางผู้ปล่อยเช่าก็ให้จ่ายค่าซ่อมแซมส่วนต่างๆอย่างไม่สมเหตุสมผล ประเด็นต่อมาคือการเรียกเก็บค่าน้ำค่าไฟที่สูงกว่าปกติ 2-3 เท่า  ซึ่งเมื่อลงพื้นที่ไปตรวจสอบก็พบว่ามีความเป็นจริง จึงได้หามาตรการแก้ไขจนเป็นกฎหมายที่ออกมานี้

ค่าไฟฟ้าประปาต้องเก็บจริงตามกำหนด ส่วนที่ใช้ร่วมให้หารเท่ากัน

สำหรับหลักเกณฑ์การเก็บค่าน้ำค่าไฟใหม่ ผู้ปล่อยเช่าจะสามารถทำการเก็บค่าน้ำค่าไฟจากผู้เช่าได้หลังจากเริ่มปรับใช้กฎหมาย โดยต้องอยู่ในเกณฑ์เดียวกันกับที่การไฟฟ้าหรือประปาเรียกเก็บ แต่เนื่องจากการทำห้องพักจะมีค่าลงทุนและดำเนินการที่เพิ่มขึ้น เช่นระบบประปาก็ต้องมีการลงทุนใช้เครื่องสูบน้ำแรงดันสูง ด้านไฟฟ้าก็จะมีไฟตามทางเดินและจุดต่างๆเพื่อความปลอดภัยของผู้พักอาศัย ในส่วนนี้ สคบ. อนุญาตให้เจ้าของหอพักสามารถคิดค่าใช้จ่ายได้ แต่ต้องอยู่ในหลักความเป็นจริง และต้องเก็บเฉลี่ยเท่ากันหมดตามจำนวนผู้ใช้จริง พร้อมชี้แจงให้ผู้เช่ารับทราบและยอมรับค่าใช้จ่ายส่วนนี้ได้ โดยขอบเขตนี้จะช่วยให้ความเป็นธรรมทั้งผู้เช่าและผู้ดำเนินกิจการ ส่วนหอพักที่ระบุการเก็บค่าน้ำค่าไฟแบบเหมาหัว หรือระบุอัตราขั้นต่ำ เช่น ค่าน้ำต่อห้องจะเก็บห้องละ 100-200 บาท ต่อไปนี้จะไม่สามารถทำได้เนื่องจากต้องทำให้ทุกอย่างโปร่งใส

ผู้เช่าจ่ายมัดจำเดือนเดียวเท่านั้น ห้องพัก ไหนเก็บเกินขอคืนได้ทันที

สำหรับเงินมัดจำก็ถือเป็นอีกปัญหาของผู้เช่า เนื่องจากมีการเก็บมัดจำสูง 2-3 เดือน นอกจากนั้นยังมีค่าเช่าล่วงหน้าอีก 1 เดือน รวมเป็นทั้งหมด 3 เดือน และเมื่อผู้เช่าไม่ต้องการเช่าแล้ว ทางผู้ปล่อยเช่าก็ไม่คืน อ้างว่าเป็นค่าบริหารจัดการและค่าซ่อมแซมส่วนต่างๆ จนทำให้ผู้เช่าไม่เหลือเงินมัดจำกลับคืน ซึ่งกฎหมายใหม่นี้ จะไม่สามารถเก็บได้เกิน 1 เดือน แต่เบื้องต้น อยากแนะนำให้ผู้เช่าถ่ายรูปสภาพห้องไว้ เมื่อถามถึงความขัดแย้งในข้อกฎหมาย กับ พรบ. หอพักปี 2558 ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ที่ได้ระบุไว้ว่าให้เจ้าของหอพักสามารถเก็บค่าเช่าล่วงหน้าได้ 3 เดือน พลตำรวจตรี ประสิทธิ์ ชี้แจงว่า กฎหมายที่จะปรับใช้นี้จะไม่ไปก้าวล่วง พรบ. ปี 2558 ที่ระบุถึงหอพักตามสถานศึกษาที่มีผู้เช่าอายุต่ำกว่า 25 ปี แต่จะไปคลอบคลุมธุรกิจห้องเช่าประเภทต่างๆ เช่น ห้องพัก บ้าน อพาร์ทเมนท์ อาคารชุด ฯลฯ ทั่วประเทศที่มี 5 ยูนิตขึ้นไป ซึ่งจะไม่รวมถึงโรงแรม ม่านรูด โดยเมื่อเริ่มปรับใช้กฎหมาย ผู้เช่าสามารถร้องขอคืนเงินประกันที่เกินไปจาก 1 เดือนได้ และควรทำสัญญากันใหม่

ผู้เช่าจ่ายเงินช้า เจ้าของกิจการ ไม่มีสิทธิ์ล็อคห้อง

ส่วนที่ผู้เช่าเกเรไม่จ่ายค่าห้องหรือจ่ายช้ามองว่าเป็นส่วนน้อย ซึ่งหากจะใช้มาตรการนี้กับคนส่วนใหญ่คงไม่เหมาะสม เพราะมีมาตรการอย่างอื่นอีกมากที่มาช่วยป้องกัน และหากผู้เช่าต้องการออกก่อนจะหมดสัญญาที่เคยทำไว้ในอดีต เช่น 6 เดือน หรือ 1 ปี ผู้เช่าก็สามารถทำได้โดยไม่ต้องเสียเงินมัดจำ แต่ผู้เช่าต้องบอกเลิกล่วงหน้าสัญญาก่อน 1 เดือน เมื่อกฎหมายใหม่ออกมาแล้ว แนะนำให้ผู้เช่าและผู้ปล่อยเช่าทำสัญญากันใหม่ แนะจากมีกฎหมายหลายข้อที่เปลี่ยนไป ทั้งนี้ กฎหมายที่ออกมาก็เพื่อช่วยคนตัวเล็กอย่างแท้จริง สำหรับผู้ประกอบกิจการห้องเช่า ถ้ามีผู้เช่ามาร้องเรียนการกระทำความผิด จะได้รับโทษปรับ 100,000 บาทต่อ 1 สัญญา ผู้สงสัยสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค หรือโทร 1166 อ่านเรื่อง: กฎหมายคุมค่าหอ ชาวหอ ต้องรู้!


Mostview

นวัตกรรมชีวเคมี นำแบคทีเรียสร้างเซลลูโลส ส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน

นักวิจัยจากจุฬาฯ สร้างนวัตกรรม ‘เซลลูโลส’ จากแบคทีเรีย ทดแทนการนำเข้านับหมื่นล้านบาท ช่วย เศรษฐกิจหมุนเวียน และเป็น zero waste ภายใต้สิทธิบัตร ‘เซลโลกัม’

สรุปเงื่อนไขเงินดิจิทัล 10,000 บาท นโยบายเรือธงกระตุ้นเศรษฐกิจให้เดินต่อ

อีกหนึ่งนโยบายเรือธงของรัฐบาลที่กลายเป็นที่จดจำของประชาชนในช่วงเลือกตั้งหาเสียงคงหนีไม่พ้นเงินดิจิทัล 10,000 บาท ว่าสุดท้ายแล้วจะเกิดขึ้นจริงหรือไม่

SOURCE Global บริษัทผู้ใช้แผงโซลาร์เซลล์เปลี่ยนอากาศให้กลายเป็นน้ำดื่ม แก้ปัญหาขาดแคลนน้ำ

ท่ามกลางอากาศที่แห้งแล้งในทะเลทรายของลาสเวกัส ดูเหมือนจะเป็นเรื่องยากกับการแหล่งน้ำที่มีความอุดมสมบูรณ์รอบบริเวณที่มีอยู่ โดยทางตอนใต้ของเนวาดากำลังเผชิญภัยแล้งที่เลวร้ายที่ครั้งในประวัติศาสตร์ที่ต้องบันทึกไว้ จนนำไปสู่การขาดแคลนน้ำ และข้อจำกัดในการใช้

Asahi เพิ่มการผลิตเครื่องดื่มไร้แอลกอฮอล์ ชูเป็นสินค้าหลัก หลังคนญี่ปุ่นดื่มเบียร์น้อยลง

Asahi แบรนด์ผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เตรียมดันการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้มากขึ้นกว่าเดิม หวังสร้างยอดขายในสัดส่วน 50% ภายในปี 2040

SmartSME Line