วันเสาร์, เมษายน 20, 2567

SME Bank อัดสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ หนุน ธุรกิจท่องเที่ยว

by Smart SME, 26 เมษายน 2561

ธุรกิจท่องเที่ยว ต้องมารวมกันตรงนี้

เราโอกาสดีดีที่สนับสนุนผู้ประกอบการด้าน ธุรกิจท่องเที่ยว หรือ ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง ได้เกิดขึ้นอีกแล้ว และไม่ใช่ใครอื่นไกลที่ไหน ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย SMEBank นี่เอง คราวนี้มีจุดประสงค์เพื่อยกระดับผู้ประกอบการในชุมชนและภูมิภาค ในการปรับปรุงประสิทธิภาพในการดำเนินกิจการ รวมทั้งเสริมสภาพคล่องในการต่อยอดกิจการ เพื่อให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ  และสนับสนุนนโยบาย Local Economy ของรัฐบาล ในจังหวัดต่างๆ วงเงินของโครงการ : 7,500 ล้านบาท   บุคคลธรรมดา : กู้สูงสุดไม่เกิน 2 ล้านบาท (กรณีที่มีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) หรือ มีหนังสือรับรอง จากหน่วยงานภาครัฐให้การส่งเสริม สนับสนุนให้วงเงินสินเชื่อสูงสุดไม่เกิน 5.0 ล้านบาท) นิติบุคคล : วงเงินสินเชื่อสูงสุดไม่เกิน 15 ล้านบาท (*เมื่อรวมวงเงินเดิมแล้วต้องไม่เกิน 15 ล้านบาท) ระยะเวลากู้ยืมสูงสุด : ไม่เกิน 7 ปี อัตตราดอกเบี้ย :  กรณีใช้หลักประกัน บสย. อัตราดอกเบี้ยร้อยละ MLR ต่อปี - กรณี ใช้หลักประกันตามเกณฑ์ปกติของธพว. เฉพาะประเภทที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง หรือ ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ปีที่ 1 คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ MLR - 1.5 ต่อปี ปีที่ 2 เป็นต้นไป คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ MLR - 1 ต่อปี สำหรับวงเงินหลักประกัน ไม่เกิน 5 ล้านบาทบสย.ค้ำประกัน และ/หรือ หลักประกันตามเกณฑ์ปกติของธพว.เฉพาะประเภทที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง หรือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง   ส่วน วงเงินส่วนเกินกว่า 5 ล้านบาท  หลักประกันตามเกณฑ์ปกติของธพว.เฉพาะประเภทที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง หรือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง

ใครที่สามารถกู้ได้บ้าง?

เป็นบุคคลผู้มีสัญชาติไทย หรือ นิติบุคคลไทย ผู้ประกอบการ SMEs ที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยว หรือ ธุรกิจที่เกี่ยวข้องเกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว หรือ ธุรกิจท่องเที่ยวชุมชน หรือ SMEs ที่ประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งผู้ให้สิทธิ (Franchisor) หรือผู้รับสิทธิ (Franchisee) หรือ ตัวแทนจำหน่ายสินค้า(Dealer) 2.1) ธุรกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยว หรือ ธุรกิจที่เกี่ยวข้องเกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว หรือ ธุรกิจท่องเที่ยวชุมชน ธุรกิจต่างๆที่ตั้งอยู่แหล่งท่องเที่ยว หรือ ในหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (CIV) หรือ ธุรกิจท่องเที่ยวชุมชน หรือ ตลาดต้องชม ธุรกิจที่พัก หรือ โรงแรม หรือ สถานบริการ หรือ สถานที่ตากอากาศ ธุรกิจภัตตาคาร หรือ ร้านอาหาร ธุรกิจนำเที่ยว ธุรกิจที่สนับสนุน และ/หรือ เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว เครื่องมืออุปกรณ์ที่เกี่ยวกับธุรกิจท่องเที่ยว รวมทั้ง การขนส่งทางบก ทางน้ำ ธุรกิจซักอบรีดการส่งวัตถุดิบ ให้ร้านอาหาร ที่พัก โรงแรม ธุรกิจที่มีการ เก็บรักษา สต็อกสินค้าหรือวัตถุดิบ ผลไม้และผลผลิตทางการเกษตร เพื่อนำไปผลิตหรือ จำหน่ายให้กับธุรกิจท่องเที่ยว หรือ ธุรกิจท่องเที่ยวชุมชน หรือนักท่องเที่ยว ธุรกิจเกี่ยวกับการดำเนินการ ยกระดับ สร้างมาตรฐาน ความปลอดภัย ธุรกิจผลิต หรือ จำหน่ายสินค้า หรือ ของที่ระลึก ธุรกิจเพื่อสุขภาพ ความงาม สมุนไพร สปา นวดแผนไทย ธุรกิจกีฬา สันทนาการ ธุรกิจการจัดงานนิทรรศการ งานแสดง งานออกร้าน การโฆษณาเผยแพร่ หรือ การดำเนินงานอื่นใด โดยมีความมุ่งหมาย เพื่อชักนำ หรือส่งเสริมให้มีการเดินทางท่องเที่ยว 2.2) ธุรกิจแฟรนไชส์ กรณีผู้ให้สิทธิ (Franchisor) ต้องเป็นกิจการที่ขึ้นทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าแล้ว และประกอบกิจการมาไม่น้อยกว่า 1 ปี และเป็นไปตามคุณสมบัติตามที่ธนาคารกำหนด เป็นผู้ประกอบการ SMEs ประกอบกิจการมาไม่น้อยกว่า 1 ปี โดยพิจารณาจากเอกสารของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ยกเว้นธุรกิจ แฟรนไชส์ที่เป็นผู้รับสิทธิ(Franchisee) หรือตัวแทนจำหน่ายสินค้า(Dealer) กรณีมีวงเงินกับสถาบันการเงิน ต้องไม่มีประวัติการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ในช่วง 12 เดือน และมีประวัติการชำระหนี้ปกติอย่างน้อย 6 งวด ก่อนวันที่ยื่นขอสินเชื่อ กรณีบุคคลธรรมดาต้องจดทะเบียนการค้ากับกระทรวงพาณิชย์ หรือ หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ณ วันยื่นกู้ต้องไม่เป็น NPL รายละเอียดเพิ่มเติม >>>[คลิก] ข่าวการเงินอื่นๆ >>> [คลิก]

Mostview

นวัตกรรมชีวเคมี นำแบคทีเรียสร้างเซลลูโลส ส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน

นักวิจัยจากจุฬาฯ สร้างนวัตกรรม ‘เซลลูโลส’ จากแบคทีเรีย ทดแทนการนำเข้านับหมื่นล้านบาท ช่วย เศรษฐกิจหมุนเวียน และเป็น zero waste ภายใต้สิทธิบัตร ‘เซลโลกัม’

SOURCE Global บริษัทผู้ใช้แผงโซลาร์เซลล์เปลี่ยนอากาศให้กลายเป็นน้ำดื่ม แก้ปัญหาขาดแคลนน้ำ

ท่ามกลางอากาศที่แห้งแล้งในทะเลทรายของลาสเวกัส ดูเหมือนจะเป็นเรื่องยากกับการแหล่งน้ำที่มีความอุดมสมบูรณ์รอบบริเวณที่มีอยู่ โดยทางตอนใต้ของเนวาดากำลังเผชิญภัยแล้งที่เลวร้ายที่ครั้งในประวัติศาสตร์ที่ต้องบันทึกไว้ จนนำไปสู่การขาดแคลนน้ำ และข้อจำกัดในการใช้

Asahi เพิ่มการผลิตเครื่องดื่มไร้แอลกอฮอล์ ชูเป็นสินค้าหลัก หลังคนญี่ปุ่นดื่มเบียร์น้อยลง

Asahi แบรนด์ผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เตรียมดันการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้มากขึ้นกว่าเดิม หวังสร้างยอดขายในสัดส่วน 50% ภายในปี 2040

SmartSME Line