วันพุธ, เมษายน 24, 2567

เพลง 5 สไตล์ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้ดีขึ้น

by Smart SME, 10 พฤษภาคม 2561

คุณรู้หรือไม่ว่าเสียง เพลง ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้ดีขึ้น

หลายคนอาจจะมองว่าการฟังเพลงในเวลาที่คิดงานไปด้วย อาจเป็นภาวะรบกวนมากกว่าจะได้ความบันเทิงซะอีก  หรือ อีกมุมหนึ่งอาจจะถูกมองว่าเราอู้งานด้วยซ้ำ แต่สิ่งที่ SmartSme จะนำมาฝากกัน คือข้อดีของการฟังเพลง ที่ช่วยให้คุณมีทักษะการทำงานที่ดีขึ้น หรือ หากกำลังคิดวางแผนธุรกิจอยู่นั้นก็จะช่วยให้ไอเดียของคุณลื่นไหลมากยิ่งขึ้น   เพลง ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นการศึกษาของ Mindlab International ในการลงพื้นที่และศึกษาพฤติกรรมของคนทำงานและฟังเพลงไปด้วยพบว่า 5 จังหวะดนตรีที่แตกต่างกันมีผลดีผลเสียต่อการทำงานแตกต่างกัน

  • เสียงเบสหนักๆ จะช่วยกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ แต่อาจจะทำให้เสียสมาธิและทำงานไม่รอบคอบได้
  • เพลงบรรเลงที่เมโลดี้เรียบๆ เหมาะ กับการฟังเพื่อให้มีสมาธิในการทำงานมากขึ้น
  • ดนตรีคลาสสิคจะช่วยให้เกิดความผ่อนคลาย เหมาะ สำหรับฟังในช่วงเวลาที่กำลังตรึงเครียด
  • ดนตรีของโมซาร์ตจะช่วยกระตุ้นกระบวนการในการคิด และความจำ เหมาะ สำหรับใช้ฟังระหว่างการเรียนรู้สิ่งใหม่
  • ดนตรีป๊อปที่มีดนตรีสนุกนานจะช่วยกระตุ้นการรับรู้ให้ดียิ่งขึ้น ช่วยลดการสะกดคำผิดลงได้

แล้วคุณละ ตอนนี้คุณเหมาะกับ เพลง จังหวะไหน....

1. เพลงบรรเลงที่มีเพียงเมโลดี้เรียบ ๆ ไม่มีเนื้อเพลงสร้างความสงบ ดนตรีรูปแบบนี้จะช่วยให้คนทำงานมีสมาธิ เหมาะกับงานที่ทำเป็นระยะเวลานาน และไม่มีความซับซ้อน เนื่องจากจังหวะเพลงมีเพียงเมโลดี้บรรเลงท่วงทำนองด้านดนตรีเรียบ ๆ ไม่มีเนื้อร้อง ทำให้แนวดนตรีชนิดนี้จะทำให้ผู้ฟังเกิดความรู้สึกสงบมากขึ้น

2. เสียงเบสหนัก ๆ เร่งพลังและความคิดสร้างสรรค์ จากงานวิจัยในปี 2005 พบว่า เพลงที่มีเสียงเบสเป็นเสียงหลักของเพลงจะกระตุ้นให้คุณมีพลังระหว่างการทำงาน และสร้างอารมณ์ที่คึกคักโดยเฉพาะในงานที่ต้องการความคิดสร้างสรรค์ จังหวะดนตรีประเภทนี้ได้ถูกแนะนำว่าควรฟังก่อนเริ่มต้นการประชุมเพื่อสร้างความมั่นใจ แต่ข้อเสียของเสียงเบสหนัก ๆ นี้ก็อาจจะทำให้ผู้ฟังเสียสมาธิได้ และอาจทำให้เกิดความ ไม่รอบคอบในการทำงานเกิดขึ้น

3. เพลงบรรเลงของโมซาร์ตกระตุ้นการทำงานของสมอง แนวดนตรีนี้จะส่งผลให้การเรียนรู้ดีขึ้น ซึ่งจากการทดลองกับกลุ่มนักเรียนหลายกลุ่ม โดยแบ่งแยกเด็กที่ได้ฟังเพลงบรรเลงของ  โมซาร์ต กับอีกกลุ่มที่ไม่ได้ฟังอะไรเลย พบว่า นักเรียนกลุ่มที่ฟังเพลงบรรเลงมีผลคะแนนที่ดีกว่านักเรียนกลุ่มที่ฟังเสียงอื่น  ขณะเดียวกัน การฟังเพลงชนิดนี้จะเหมาะกับการช่วยเรื่องกระบวนการคิดและความจำได้เป็นอย่างดี และถูกขนานนามว่า “เดอะ โมซาร์ต เอฟเฟ็กต์”

4. เพิ่มขีดความสามารถในการรับรู้ด้วยดนตรีป็อปที่มีจังหวะดนตรีสนุก จากการศึกษาของไมนด์แล็ป พบว่าการฟังเพลงป็อปที่มีจังหวะดนตรีสนุก จะช่วยให้คนทำงานมีการรับข้อมูลดีขึ้น 58% เมื่อเทียบกับคนที่ไม่ได้ฟังอะไรเลย รวมถึงการวิจัยยังพบข้อดีด้วยว่า การฟังดนตรีประเภทนี้ยังช่วยลดความผิดพลาดในแง่การสะกดคำได้ถึง 14% ด้วย

5. ดนตรีคลาสสิคลดความตรึงเครียด จากงานวิจัยพบว่า ดนตรีคลาสสิคนั้นจะช่วยให้ผู้ฟังรู้สึกผ่อนคลาย ทำให้อัตราการเต้นของหัวใจช้าลง ชะลอความดัน รวมถึงช่วยลดความเครียดในการทำงาน โดยงานวิจัยนี้ได้นำไปใช้กับนักเรียนพยาบาลเพื่อช่วยลดความเครียดในการทำงาน สอดคล้องกับแนวดนตรีประเภทนี้จะเหมาะกับงานที่ต้องใช้สมาธิสูงมาก รวมถึงด้านการแพทย์ที่ต้องช่วยลดความเครียดขณะปฏิบัติงานด้วย คราวนี้ใครที่คิดงานไม่ออก หาไอเดียไม่เจอลองเลือกจังหวะเพลงแล้วเปิดฟังกันเลย

ที่มา:  lifehack.org , jobthai อ่านเรื่องอื่นๆ >>>[คลิก]


Mostview

นวัตกรรมชีวเคมี นำแบคทีเรียสร้างเซลลูโลส ส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน

นักวิจัยจากจุฬาฯ สร้างนวัตกรรม ‘เซลลูโลส’ จากแบคทีเรีย ทดแทนการนำเข้านับหมื่นล้านบาท ช่วย เศรษฐกิจหมุนเวียน และเป็น zero waste ภายใต้สิทธิบัตร ‘เซลโลกัม’

หนุ่มอายุ 25 ปี ใช้ AI สร้างรายได้เกือบ 2 ล้านบาท ใช้เวลาแค่ 2 เดือน

เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ถูกพูดถึงอย่างในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่ามา และคาดการณ์ว่าจะเข้ามามีบทบาทเป็นส่วนหนึ่งของการทำธุรกิจต่อไปในวันข้างหน้า

Asahi เพิ่มการผลิตเครื่องดื่มไร้แอลกอฮอล์ ชูเป็นสินค้าหลัก หลังคนญี่ปุ่นดื่มเบียร์น้อยลง

Asahi แบรนด์ผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เตรียมดันการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้มากขึ้นกว่าเดิม หวังสร้างยอดขายในสัดส่วน 50% ภายในปี 2040

SOURCE Global บริษัทผู้ใช้แผงโซลาร์เซลล์เปลี่ยนอากาศให้กลายเป็นน้ำดื่ม แก้ปัญหาขาดแคลนน้ำ

ท่ามกลางอากาศที่แห้งแล้งในทะเลทรายของลาสเวกัส ดูเหมือนจะเป็นเรื่องยากกับการแหล่งน้ำที่มีความอุดมสมบูรณ์รอบบริเวณที่มีอยู่ โดยทางตอนใต้ของเนวาดากำลังเผชิญภัยแล้งที่เลวร้ายที่ครั้งในประวัติศาสตร์ที่ต้องบันทึกไว้ จนนำไปสู่การขาดแคลนน้ำ และข้อจำกัดในการใช้

SmartSME Line