วันศุกร์, เมษายน 26, 2567

พ่อค้าจีนหัวใส...ฉกจดเครื่องหมายการค้าและถือครองสิทธิคำว่า หมอนทอง

by Smart SME, 18 พฤษภาคม 2561

นายทศพล ทังสุบุตร อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา กล่าวถึงความคืบหน้ากรณีประเทศไทยได้ทำหนังสือแสดงความกังวลไปยังสำนักงานเครื่องหมายการค้าแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน กรณีผู้ประกอบการจีนนำคำว่า หมอนทอง หรือ จินเจิ่นโท ไปจดเครื่องหมายการค้าจนได้ถือครองสิทธิคำว่าหมอนทองในภาษาจีน

กรมได้ทำหนังสือแสดงความกังวลไปยังสำนักงานเครื่องหมายการค้าของจีน และทางการจีนรับทราบแล้ว และเพื่อป้องกันไม่ให้มีกรณีเช่นนี้อีก ก็ต้องดำเนินการผ่านกระบวนการร้องขอต่อศาลด้านทรัพย์สินทางปัญญาให้เพิกถอน โดยผู้ที่ได้รับความเสียหายต้องเป็นผู้ยื่นคำร้อง
"ขณะนี้สำนักงานทูตพาณิชย์ไทยในจีนได้ติดตามกรณีดังกล่าวอย่างใกล้ชิด และยังไม่พบข้อร้องเรียนจากผู้ประกอบการไทยในการนำเข้าสินค้าไทยที่ใช้คำว่าหมอนทอง แต่ก็ให้เพิ่มความระมัดระวัง เพราะหากใช้จินเจิ่นโทเป็นส่วนหนึ่งของชื่อแบรนด์ หรือปรากฏบนบรรจุภัณฑ์แบบเด่นชัด และส่งออกไปขายในจีน อาจถูกฟ้องร้องได้"
ขณะนี้ได้ขอข้อมูลการค้าของผู้ประกอบการไทยที่ส่งออกสินค้าทุเรียน หมอนทอง ไปยังจีน จากกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ และสำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ ณ กรุงปักกิ่งแล้ว เพื่อหารือแนวทางลดผลกระทบ หากมีผู้ส่งออกหรือกลุ่มเกษตรกรได้รับผลกระทบหรือเสียประโยชน์จากการจดเครื่องหมายการค้าดังกล่าวก็สามารถยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนได้

ความเห็นบางส่วนจากเรื่องนี้

จีนเค้าหัวใส่อยูแล้วเพราะทุเรียนมันก๊อปปี้ไม่ได้ ไม่เหมือนสิ้นค้าIT หรือนาฬิกาแบรดน์ดังๆที่จีนก๊อปปี้หมด แต่เค้าจดชื้อ ทุเรียนเป็นของเค้า ก็เหมือน จด โดเมน ชื้อเว๊ปไซต์ในคอมพิวเตอร์ ซึ่งหากใครเอาชือที่เค้าจดไปใช้อาจโดนลิขสิทธฺ์ อนาคตอาจจะกระทบกับการส่งออกก็เป็นได้ เช่นอาจต้องเสียค้าซือให้กับเค้า(ถ้าเป็นแบบนั้นคนไทคงยิ้มๆ:) ถ้าคนที่เคยอ่านสามก๊ก คงจะรู้จักพี่จีนเค้าดี เค้าไม่เคยทำอะไรที่ไม่คิดล่วงหน้า ไม่เป็นไร ขายในบ้านเราอย่างเดียวก็ได้ ไม่ต้องให้พวกมันกิน ทำไมเราไม่ฟ้องมั่งว่า ละเมิดลิขสิทธิ์ หมอนทองนี่ภาษาไทยนะ ญี่ปุ่นก้อเหมือนกัน เอาต้นเหงือกปลาหมอเราไปจดลิขสิทธิ์ทำยา รู้ก็ทั้งรู้ว่าเป็นของไทย จดทับศัพท์ คำว่า"ทุเรียนหมอนทอง" ไปเลย ไม่ต้องสนภาษาจีนหร๊อก.. เวลาเรียกก็เรียกทับศัพท์ ไม่ต้องเรียกคำแปล ขี้โกงซะทุกอย่าง ไอ้เวร คนรับจดก้อควายเนาะรุ้ทั้งรุ้ว่ามาจากไทยแทบจะ 100% เอาจริงๆ ผมก็ยังสงสัยอยู่ว่าของแบบนี้เอาไปจดลิขสิทธิ์ได้ด้วยเหรอ มันไม่ใช่ของที่เขาประดิษฐ์ คิดค้น ซะหน่อย แล้วจะอ้างสิทธิ์เหนือสิ่งนั้นได้ยังไง หน่วยงานที่รับจดก็ไม่ดูสี่ดูแปดอะไรเลยนะ แหม่ ถ้าเราเป็นผู้ผลิต และสิ้นค้าเป็นที่ต้องการของตลาด ก็น่าจะรวมตัวกันเป็นอุตสหกรรมทุเรียน ตั้งชื้อ durain thai เหมือน จะกินแซลม่อนก็ต้อง wild caught Alaska หรือ กีวี่ต้องนิวซีแลนด อพไรแบบนี้เพราะลูกค้ารู้อยู่แล้ว เค้าจะจดชื่ออะไรก็แล้วแต่ถ้าอยากเอาไปขาย เค้ามาซื้อที่ผู้ผลิต กำหนดราคาไปเลยว่า แต่ละช่วงผลผลิตออก ราคาเท่าไหรไม่ตัดราคากัน และบังคับให้ใช้ ฉลากสินค้าระบุ ทุเรียนไทย ถ้ากลัวเค้าไม่มาซื้อก็โปรโมทเป็นฤดูการท่องเทียวทานทุเรียนก็น่าจะได้เงินเข้าทางอื่นด้วย มันไม่ใช่ครั้งแรกหรอกค่ะ LV ก็เคยโดนจีนจดลิขสิทธิ์โลโก้ของเขามาแล้ว สุดท้ายต้องไปฟ้องเอาโลโก้ที่ตัวเองทำมาร้อยๆปีคืนจากจีน ก็คนไทย ผู้ใหญ่ผู้โตชอบกันนักไม่ใช่เหลอ ขายดีเป็นเทน้ำเทท่าไง อะไรที่มากไปมันไม่มีอะไรดีสักอย่าง พอเพียง ลืมแล้วหรือ ผู้ใหญ่ทั้งหลาย ตอนนี้หลายเรื่องราว ประเทศเรายุ่งวุ่นไปหมด ข้าวของแพง น้ำตาลลอยตัว แปลกมาก ไม่เคยพบไม่เคยเจอ แก๊สก็ลอยตัว ปวดจิต มันเกิดอะไรขึ้น จินเจิ่นทง เจิ่นโทอะไรก็เรียกไป แต่ผมเข้าใจแค่คำว่าหมอนทองคำเดียวเท่านั้น ถ้าไม่ใช่หมอนทองยังไงก็ไม่ได้มาจากไทย ตีเป็นของปลอมให้หมด ให้มันจดไปเถอะ หมอนทองมันชื่อพันธุ์ทุเรียน เกิดไปจดแซลมอล ชื่อแซลมอลไม่ต้องใช้ทั้งโลกแล้วมั้งครับ แบบกาแฟอาราบิก้า เขาไปจดอาราบิก้า ก็ใช้ไม่ได้ทั้งโลก แบบนี้หรอ ???? แค่สงสัย ใครยอมให้จด ถ้าแค่จีน ตลาดที่อื่นก็ตั้งเยอะ และฟ้องศาลโลกไม่น่าจะได้นะ เพราะมันเป็นสายพันธุ์ เจริญฮวบเลยนะไทเราขนาดปลูกที่ไทขยายพันธ์ข้ามพันธ์ทำทุกอย่างสุดท้ายจีนคาบไปแด๊กผู้ใหญ่ในไทยมีสมองไหมมัวเมาอำนาจเงินตราสักวันมันคงมาถอนรากถอนโครนผู้ใหญ่ในประเทศเสียบแทนตำแหน่งลมั่ง.. น่าคิดนะ
อ่านความเห็นทั้งหมด >>> [คลิก] อ่านข่าวอื่น >>> [คลิก]
Tag :

Mostview

หนุ่มอายุ 25 ปี ใช้ AI สร้างรายได้เกือบ 2 ล้านบาท ใช้เวลาแค่ 2 เดือน

เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ถูกพูดถึงอย่างในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่ามา และคาดการณ์ว่าจะเข้ามามีบทบาทเป็นส่วนหนึ่งของการทำธุรกิจต่อไปในวันข้างหน้า

เปิดธุรกิจที่ได้รับประโยชน์ หากเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท เริ่มใช้งาน

ผลสำรวจบอกผู้มีสิทธิ์ใช้เงินดิจิทัลวอลเล็ต จะเลือกใช้จ่ายร้านค้าท้องถิ่น 40% รองลงมาเป็นร้านสะดวกซื้อ เช่น CJ, 7-Eleven 26%

ธุรกิจอีคอมเมิร์ซมาแรง คนไทยซื้อผ่านแพลตฟอร์ม 67% คาดมูลค่าปี 2567 แตะ 7 แสนล้านบาท

ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เผยว่าธุรกิจอีคอมเมิร์ซมาแรงต่อเนื่อง โตแบบฉุดไม่อยู่ ปี 2566 มีมูลค่า 6.34 แสนล้านบาท คาดการณ์ปี 2567 มูลค่าแตะ 7 แสนล้านบาท และปี 2568 มูลค่าทะลุ 7.5 แสนล้านบาท

SmartSME Line