วันศุกร์, เมษายน 26, 2567

14 หน่วยงาน ส่งเสริม สนับสนุน SMEs เพื่อพัฒนาธุรกิจ

by Smart SME, 31 พฤษภาคม 2561

สิ่งหนึ่งที่ผู้ประกอบการ SMEs ควรรู้นอกจากวิธีการทำธุรกิจสร้างรายได้หาผลกำไรแล้ว ผู้ประกอบการควรมีตัวช่วยดีในการสนับสนุน หรือเป็นแหล่งความรู้เพื่อผู้ประกอบการจะได้นำมาพัฒนาในด้านต่างๆ

ปัจจุบันมีหลายองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน ที่เข้ามามีบทบาทในการสนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs ในทุกๆด้าน ซึ่งผู้ประกอบการบางรายอาจจะยังไม่รู้ว่ามีองค์กรอะไรบ้าง และองค์กรเหล่านี้มีส่วนช่วยเหลือสนับสนุนในด้านใด

1.กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ผู้ประกอบที่เพิ่งเริ่มต้นธุรกิจสิ่งแรกที่จะต้องทำ คือ การจดทะเบียนบริษัท ในปัจจุบันสามารถทำการ จดทะเบียนผ่านระบบออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์ www.dbd.go.th นอกจากนนี้การบริการแนะนำ ส่งเสริม และเผยแพร่มาตรฐานในการจัดทำบัญชีแก่ผู้ประกอบธุรกิจ ให้คำปรึกษาข้อกฎหมาย ระเบียบปฏิบัติ ขั้นตอนและวิธีการจดทะเบียนหรือการขออนุญาตตามกฏหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและงานอื่นตามกฏหมายที่เกี่ยวข้อง 2.กรมทรัพย์สินทางปัญญา เป็นหน่วยงานพัฒนาระบบคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา เสริมสร้างวามรู้ และส่งเสริมการใช้ประโยชน์ทรัพย์สินทางปัญญาในเชิงพาณิชย์ พร้อมทั้งให้ผู้ประกอบการ จดทะเบียน คุ้มครอง และป้องกันสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาทั้งในประเทศและต่างประเทศ ปัจจุบันผู้ประกอบการสามารถตรวจสอบเครื่องหมายการค้าออนไลน์ ในส่วนทำการจดเครื่องหมายการค้าสามารถยื่นคำขอทางเว็บไซต์ www.ipthailand.go.th กรมทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนจะต้องส่งต้นฉบับคำขอจดทะเบียนและเอกสารประกอบไปยัง กรมฯ ภายใน 15 วัน โดยสามารถยื่นด้วยตนเองหรือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน 3.สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เป็นหน่วยงานราชการในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการ ส่งเสริมการลงทุนทั้งในประเทศและการลงทุนของไทยในต่างประเทศ โดยการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา การสร้างนวัตกรรม การสร้างมูลค่าเพิ่มของภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการ และการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ตลอดจนส่งเสริมการแข่งขันที่เป็นธรรม และการลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม ผู้ประกอบการที่ได้รับการสนับสนุนจากทาง BOI จะได้รับสิทธิประโยชน์ดังนี้ สิทธิประโยชน์ด้านภาษี

  • ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงสุด 13 ปี (ขึ้นกับประเภทกิจการและเงื่อนไข)
  • ลดหย่อนภาษีเงินได้ 50% อีก 5 ปี (เฉพาะเขตส่งเสริมการลงทุน)
  • ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร
  • ยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบผลิตเพื่อการส่งออก
  • ยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับของที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในการวิจัยและพัฒนา

สิทธิประโยชน์ที่ไม่เกี่ยวกับภาษี

  • อนุญาตต่างชาติถือหุ้น 100% (ยกเว้นกิจการตามบัญชีหนึ่งท้ายพระราชบัญญัติประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวหรือที่มีกฎหมายอื่นกำหนดไว้เป็นการเฉพาะ)
  • อนุญาตให้ถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดิน
  • อนุญาตให้ช่างฝีมือ/ผู้ชำนาญการเข้ามาทำงาน

4.กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) ผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจและมีส่วนเกี่ยวข้องกับการ นำเข้า – ส่งออก สามารถเข้าร่วมกิจกรรมทางการตลาดที่จัดเพื่อช่วยเหลือ SME เช่น งานสัมมนา อบรม หรือเทรดแฟร์ต่างๆ นอกจากนี้ เจ้าของธุรกิจยังสามารถสมัครเป็นสมาชิกเว็บไซต์ Thaitrade.com เว็บไซต์นี้รวบนวมสินค้าของเมืองไทยที่ที่ทำการส่งออกไปยังต่างประเทศ หากมีผู้สนใจ ผู้ประกอบการสามารถทำการซื้อขายผ่านทางเว็บไซต์ได้โดยตรง DITP ยังมี ระบบ e-Learning เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าไปศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการส่งออกได้ที่ www.ditp.go.th 5.หอการค้าไทย เป็นองค์กรกลางในการอำนวยประโยชน์ให้แก่พ้อค้าและนักธุรกิจไทย โดยทำหน้าที่ประสานงานระหว่างภาครัฐบาลและภาคเอกชนอีกทั้งร่วมมือกันส่งเสริมการค้าและปกป้องรักษาผลประโยชน์ของประเทศ หรือ บริการจับคู่ธุรกิจ (business matching) โดยผู้ประกอบการสามารถแสดงความประสงค์ได้ว่าต้องการทำการค้ากับประเทศใด และยังให้ข้อมูลเกี่ยวกับเศรษฐกิจ การค้า ของแต่ละประเทศ www.thaichamber.org 6.กรมศุลกากร สำหรับผู้นำเข้าสินค้า จำเป็นต้องยื่นเรื่องกับกรมศุลกากรเพื่อบันทึกข้อมูลและตรวจสอบสินค้าเพื่อให้กรมศุลกากรออกใบเลขที่ส่งสินค้าขาเข้า และผู้ประกอบการสามารถนำใบขนสินค้านี้ไปชำระภาษีอากร www.customs.go.th 7.กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมให้ความช่วยเหลือธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม โดยให้บริการปรึกษาผ่านหน่วยงานที่มีชื่อว่า BSC หรือ Business Service Center ซึ่งมีสาขาถึง 14 แห่ง BSC มีทีมที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญในด้านต่างๆ เช่น การบริหารจัดการ การผลิต เทคโนโลยี การเงินการบัญชี ให้ข้อมูลทางอุตสาหกรรม การลงทุน โอกาสทางธุรกิจแก่ผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรม ผู้ต้องการเริ่มต้นธุรกิจ และบุคคลทั่วไปที่สนใจ นอกจากนี้ยังมีการจัดสัมมนาให้ความรู้แก่ SMEs อยู่เป็นประจำ สามารถเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่ www.dip.go.th 8.สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) สมอ. คือหน่วยงานให้การรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และรับรองคุณภาพให้กับองค์กรต่างๆ ตามมาตรฐาน ISO, OHS, HACCP ฯลฯ ซึ่งมาตรฐานเหล่านี้จะเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับอุตสาหกรรมของผู้ประกอบการโดยเฉพาะผู้ประกอบการที่ต้องการส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศ ทั้งนี้ จะต้องทำการศึกษาเพิ่มเติมว่าสินค้านั้นจำเป็นต้องมีเครื่องหมายมาตรฐานใดบ้าง โดยสามารถดูคู่มือการขอรับใบอนุญาตได้ที่ www.tisi.go.th 9.สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับอาหาร, ยา, เครื่องสำอาง, เครื่องมือแพทย์, วัตถุอันตราย (ที่ใช้ในบ้านเรือนหรือทางการสาธารณสุข), หรือ วัตถุเสพติด (วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทและยาเสพติดให้โทษ) จะต้องทำการขอเครื่องหมายอ.ย. เพื่อสร้างความไว้วางใจจากผู้บริโภคว่าผลิตภัณฑ์นั้นปลอดภัย สามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.fda.moph.go.th 10.สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ให้บริการ one-stop-service เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ SMEs ในการเข้าถึงข้อมูล องค์ความรู้ เครือข่ายธุรกิจแบบครบวงจร ผู้ประกอบการสมัครเข้าร่วมโครงการ และงานสัมมนาที่ทางสสว. จัดเพื่อหาความรู้ในด้านต่างๆ เพิ่มเติม ผู้ประกอบการยังสามารถลงทะเบียนผู้ประกอบการ เพื่อรับข่าวสารและสิทธิประโยชน์ต่างๆ เช่น เข้าร่วมกิจกรรมจับคู่เจรจาธุรกิจต่างประเทศที่สสว.เป็นพันธมิตร หรือได้รับสิทธิเข้าร่วมนิทรรศการ หรืองานแสดงสินค้าในต่างประเทศ โดย สสว. เป็นผู้สนับสนุนค่าใช้จ่าย ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.sme.go.th 11.สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ISMED) เป็นสถาบันที่พัฒนาผู้ประกอบการผ่านการถ่ายทอดความรู้ให้ผู้ประกอบการในรูปแบบการฝึกอบรม สัมมนา เรียนรู้ทางไกล และอื่นๆ นอกจากนี้ยังให้คำปรึกษา คำแนะนำในเรื่องการเริ่มต้นกิจการ พัฒนาสมรรถนะธุรกิจ พัฒนาธุรกิจต่างประเทศและการตลาด การปรับปรุงกิจการ เช่น การเพิ่มมูลค่าสินค้าผ่านการออกแบบผลิตภัณฑ์ เป็นต้น ผู้ประกอบการสามารถดูตารางการอบรมได้ www.ismed.or.th 12.สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจในสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สามารถสมัครขอทุนวิจัยกับ สวทช. ซึ่งให้เงินทุนช่วยเหลือการทำวิจัย สวทช. ยังร่วมงานกับภาคเอกชนหลายรายเพื่อจัดการแข่งขันที่ให้เงินทุนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น โครงการ Young Entrepreneur หรือ โครงการ Startup Voucher ซึ่งนอกจากเงินทุนแล้วผู้ร่วมโครงการยังได้รับสิทธิประโยชน์อื่นๆ เช่น การขยายไปตลาดต่างประเทศ โอกาสในการออกบูธงานนิทรรศการต่างๆ การจับคู่ธุรกิจ และการประสานแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ รวมถึงได้รับคำปรึกษาจากที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญโดยตรงในด้านต่างๆ เช่น การตลาด การเงิน กฏหมาย เป็นต้น สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.nstda.or.th 13.สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) NIA ให้การสนับสนุนทั้ง SME และสตาร์ทอัพที่มีธุรกิจเชิงนวัตกรรม ข่าวดีคือ ผู้ประกอบการสามารถสมัครขอทุนของโครงการ Open Innovation โดยมีเงินทุนสนับสนุน (เงินให้เปล่า) สูงสุด 1,500,000 บาท นอกจากนี้สตาร์ทอัพที่ได้รับการรับรองจาก NIA ยังมีสิทธิได้ข้อเสนอเงินกู้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำอีกด้วย สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.nia.or.th 14.บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) อีกหนึ่งหน่วยงานที่มีความสำคัญช่วยด้านการสนับสนุนเงินทุนแก่ผู้ประกอบการ SMEs อย่าง บสย. จะเข้ามามีส่วนช่วยเหลือเป็นผู้ค้ำประกันให้แก่ผู้ประกอบการในการขอสินเชื่อกับสถาบันการเงินต่างๆ เพื่อนำไปดำเนินธุรกิจ ผู้ประกอบการสามารถเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่ www.tcg.or.th บทความ Self Development อื่นๆ คลิก


Mostview

หนุ่มอายุ 25 ปี ใช้ AI สร้างรายได้เกือบ 2 ล้านบาท ใช้เวลาแค่ 2 เดือน

เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ถูกพูดถึงอย่างในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่ามา และคาดการณ์ว่าจะเข้ามามีบทบาทเป็นส่วนหนึ่งของการทำธุรกิจต่อไปในวันข้างหน้า

เปิดธุรกิจที่ได้รับประโยชน์ หากเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท เริ่มใช้งาน

ผลสำรวจบอกผู้มีสิทธิ์ใช้เงินดิจิทัลวอลเล็ต จะเลือกใช้จ่ายร้านค้าท้องถิ่น 40% รองลงมาเป็นร้านสะดวกซื้อ เช่น CJ, 7-Eleven 26%

ธุรกิจอีคอมเมิร์ซมาแรง คนไทยซื้อผ่านแพลตฟอร์ม 67% คาดมูลค่าปี 2567 แตะ 7 แสนล้านบาท

ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เผยว่าธุรกิจอีคอมเมิร์ซมาแรงต่อเนื่อง โตแบบฉุดไม่อยู่ ปี 2566 มีมูลค่า 6.34 แสนล้านบาท คาดการณ์ปี 2567 มูลค่าแตะ 7 แสนล้านบาท และปี 2568 มูลค่าทะลุ 7.5 แสนล้านบาท

SmartSME Line