วันอังคาร, เมษายน 23, 2567

ร้านกุ้งตะกร้าเศรษฐี ธุรกิจกุ้งเผาเริ่มจากพนักงาน12 คน แต่สร้างรายได้ 30 ล้านต่อปี

by Smart SME, 18 กรกฎาคม 2561

ปัจจุบัน ร้านอาหารทะเล หรือที่รู้จักกันดีในร้าน seafood มีการเปิดขายกันอย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็น ร้านขนาดใหญ่ แผงลอยตามตลาด หรือรถเข็นก็สามารถขายได้ อย่างไรก็ตาม การเปิดร้านอาหารทะเลนั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะสร้างยอดขายได้ถึงหลัก 10 ล้านบาทต่อปี แต่ร้านกุ้งตะกร้าเศรษฐี สามารถทำได้ตามที่กล่าวมา ด้วยเหตุนี้ ร้านกุ้งตะกร้าเศรษฐี จึงเป็นโมเดลธุรกิจที่น่าสนใจ ด้วยโครงสร้างที่เป็นธุรกิจขนาดเล็ก มีพนักงานพียง 12 คน แต่สามารถสร้างยอดขายได้ถึง 30 ล้านบาทต่อปี จึงเป็นกรณีศึกษาที่เหมาะแก่การเรียนรู้

คุณศักดา ศรีแก้ว เจ้าของธุรกิจ กุ้งตะกร้าเศรษฐี เล่าถึงที่มาของโมเดลธุรกิจว่า

ส่วนใหญ่หากคนคิดจะรับประทานอาหารทะเล สิ่งแรกที่พวกเขาคิดคือราคาแพง ตนจึงมีความคิดอยากขายอาหารทะเลที่มีราคาถูก ให้คนธรรมดา ตลาดล่างสามารถจับต้องได้ แม้จะได้กำไรไม่มาก แต่ก็ช่วยเติมเต็มคนที่ต้องการในเรื่องนี้ได้ โดยปีที่ผ่านมาตนได้เปิดร้านมาครบ 1 ปี สามารถสร้างยอดขายได้ 30-40 ล้านบาท “จากยอดขายถือว่าประสบความสำเร็จในขั้นเริ่มต้นที่อยากจะให้เดินไปข้างหน้า จากเต็นท์เล็กๆ ที่หวังแค่เพียงให้เด็กที่ไม่มีงานทำให้ได้มีงานทำ และให้คนกลับบ้านในช่วงเทศกาลสงกรานต์สามารถเลือกซื้ออาหารทะเล ซึ่งผมมั่นใจเลยว่ากุ้งตะกร้าเศรษฐีเป็นร้านที่นำของทะเลแบบครบวงจรมาขายข้างทาง ราคาไม่แพง โดยขั้นต่ำของทะเลที่นำมาลงจะมีปริมาณถึง 700 กิโลกรัม – 1 ตันต่อวัน” คุณศักดา มองว่าการทำธุรกิจในปัจจุบัน ใครทำก่อนถือว่าได้เปรียบ ซึ่งตนโชคดีที่เปิดร้านก่อน จึงได้กลุ่มลูกค้าก่อนคนอื่น และจะต้องไม่หยุดคิด ไม่หยุดพัฒนา จากตอนแรกมีเพียงแค่ 1 เต็นท์ ก็ขยายมาเป็น 2 เต็นท์ รวมถึงเลือกทำเลที่มีที่จอดรถยนต์เพียงพอต่อลูกค้า โดยในช่วงแรกที่เปิดร้านนั้นทำกำไรได้เพียงหลักพันเท่านั้น แต่พอเข้าเดือนที่ 4 ได้ย้ายมาเปิดในทำเลที่ใหญ่โตขึ้น มีการลงวัตถุดิบมากขึ้น เพื่อจะทำยังไงก็ได้ให้ลูกค้าผ่านไปผ่านมาแล้วเห็นวัตถุดิบของเราแบบครบวงจร คล้ายๆ กับสะพานปลา ที่ลูกค้าเดินเข้ามาเลือกวัตถุดิบ และสามารถสั่งปิ้ง ย่าง เผา ได้เลย “จุดเด่นของกุ้งตะกร้าเศรษฐีอยู่ที่ เรามีของที่สดทุกวัน รับประกันว่าคัดสรรค์มาเป็นอย่างดี และยังตามใจลูกค้าด้วยบริการทำเมนูต่างๆ เช่น ปูผัดผงกะหรี่, กุ้งแช่น้ำปลา, หอยแครงลวก ที่สามารถสั่งได้ว่าจะให้สุกมาก หรือสุกน้อย อยากทานแบบไหนบอกได้เลย” คุณศักดา กล่าวทิ้งทายว่า ข้อควรระมัดระวังสำหรับการทำธุรกิจอาหารทะเล คือเรื่องความสดของวัตถุดิบ โดยตนเลือกจะทิ้ง ไม่นำกลับมาขายใหม่ในวันต่อไป หรือแจกจ่ายให้กับพนักงาน อีกทั้งการขายอาหารทะเลจะทำอย่างไรให้ได้ของสด ถูกให้ถึงมือผู้บริโภค และเคล็ดลับสำคัญในการทำธุรกิจ คือการไม่หยุดพัฒนา คิดเสมอว่าที่ไหนมี เรามีมากกว่า ใครมีดี เรามีดีกว่า ติดตามรับชมรายการเต็มของรายการ SME Take Off ได้ที่


Mostview

นวัตกรรมชีวเคมี นำแบคทีเรียสร้างเซลลูโลส ส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน

นักวิจัยจากจุฬาฯ สร้างนวัตกรรม ‘เซลลูโลส’ จากแบคทีเรีย ทดแทนการนำเข้านับหมื่นล้านบาท ช่วย เศรษฐกิจหมุนเวียน และเป็น zero waste ภายใต้สิทธิบัตร ‘เซลโลกัม’

หนุ่มอายุ 25 ปี ใช้ AI สร้างรายได้เกือบ 2 ล้านบาท ใช้เวลาแค่ 2 เดือน

เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ถูกพูดถึงอย่างในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่ามา และคาดการณ์ว่าจะเข้ามามีบทบาทเป็นส่วนหนึ่งของการทำธุรกิจต่อไปในวันข้างหน้า

Asahi เพิ่มการผลิตเครื่องดื่มไร้แอลกอฮอล์ ชูเป็นสินค้าหลัก หลังคนญี่ปุ่นดื่มเบียร์น้อยลง

Asahi แบรนด์ผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เตรียมดันการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้มากขึ้นกว่าเดิม หวังสร้างยอดขายในสัดส่วน 50% ภายในปี 2040

SOURCE Global บริษัทผู้ใช้แผงโซลาร์เซลล์เปลี่ยนอากาศให้กลายเป็นน้ำดื่ม แก้ปัญหาขาดแคลนน้ำ

ท่ามกลางอากาศที่แห้งแล้งในทะเลทรายของลาสเวกัส ดูเหมือนจะเป็นเรื่องยากกับการแหล่งน้ำที่มีความอุดมสมบูรณ์รอบบริเวณที่มีอยู่ โดยทางตอนใต้ของเนวาดากำลังเผชิญภัยแล้งที่เลวร้ายที่ครั้งในประวัติศาสตร์ที่ต้องบันทึกไว้ จนนำไปสู่การขาดแคลนน้ำ และข้อจำกัดในการใช้

SmartSME Line