วันศุกร์, เมษายน 26, 2567

บสย.ค้ำประกันสินเชื่อ SME ตั้งเป้ายอดอนุมัติ 110,000 ล.

by Smart SME, 1 สิงหาคม 2561

ขานรับนโยบายรัฐสนับสนุนเอสเอ็มอี บยส.ค้ำประกันสินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการรายย่อย พร้อมลุยโครงการใหม่ ภายใน 2 สัปดาห์ พิชิตเป้าแสนล้าน นายสุรชัย ดนัยตั้งตระกูล ประธานกรรมการ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.)  เปิดเผยว่า ได้มอบนโยบายการดำเนินงาน บสย. ในฐานะหน่วยงานภายใต้กระทรวงการคลัง ซึ่งมีภารกิจด้านการค้ำประกันสินเชื่อให้ผู้ประกอบการ SME ทุกกลุ่มเข้าถึงแหล่งทุนให้มากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการค้ำประกันสินเชื่อใหม่ 2 โครงการ ที่ผ่านความเห็นชอบตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 กรกฏาคม 2561 วงเงินค้ำประกันสินเชื่อ รวม 165,000 ล้านบาท ได้แก่ โครงการค้ำประกันสินเชื่อ SME ทวีทรัพย์ (PGS 7) และโครงการค้ำประกันสินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการรายย่อย (Micro Entrepreneur) ระยะที่ 3  จะช่วยให้ผู้ประกอบการ SME ทุกกลุ่มเข้าถึงสินเชื่อได้คล่องตัวมากขึ้น นอกจากนี้ ยังได้มอบนโยบายการดำเนินงาน บสย.ในครึ่งปีหลัง โดยเร่งจัดทำแผนงานและเปิดรับคำขอค้ำประกัน ภายใน 2 สัปดาห์ ได้แก่ 1.โครงการค้ำประกันสินเชื่อ SME ทวีทรัพย์ (PGS7) วงเงิน 150,000 ล้านบาท 2.โครงการค้ำประกันสินเชื่อ เพื่อผู้ประกอบการรายย่อย (Micro Entrepreneur) ระยะที่ 3 วงเงิน 15,000 ล้านบาท  เพื่อเพิ่มโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินทุนตามนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยและผู้ประกอบการ SMEs ให้มีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุนจากสถาบันการเงินอย่างต่อเนื่อง นายสุรชัย กล่าวว่า 2 โครงการนี้ จะมีบทบาทสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และผู้ประกอบการ SMEs โดยเน้นย้ำให้ บสย.เร่งดำเนินการเพื่อให้สามารถเปิดรับคำขอการค้ำประกันสินเชื่อได้ทันภายใน 2 สัปดาห์ เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่ต่อเนื่อง ช่วยผู้ประกอบการ SME ทุกกลุ่มเข้าถึงสินเชื่อจากสถาบันการเงินได้คล่องตัว ลดการพึ่งพาเงินนอกระบบ ลดต้นทุนธุรกิจ อันเป็นนโยบายต่อเนื่องของรัฐบาล โดยใช้กลไกค้ำประกันสินเชื่อของ บสย. มั่นใจว่าผลการดำเนินงานสิ้นปี บสย.จะสามารถช่วยผู้ประกอบการเข้าถึงสินเชื่อ และมียอดการอนุมัติค้ำประกันสินเชื่อ 110,000 ล้านบาทเป็นไปตามเป้าหมายและแผนงานปี 2561  
Tag : sme บสย.

Mostview

หนุ่มอายุ 25 ปี ใช้ AI สร้างรายได้เกือบ 2 ล้านบาท ใช้เวลาแค่ 2 เดือน

เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ถูกพูดถึงอย่างในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่ามา และคาดการณ์ว่าจะเข้ามามีบทบาทเป็นส่วนหนึ่งของการทำธุรกิจต่อไปในวันข้างหน้า

เปิดธุรกิจที่ได้รับประโยชน์ หากเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท เริ่มใช้งาน

ผลสำรวจบอกผู้มีสิทธิ์ใช้เงินดิจิทัลวอลเล็ต จะเลือกใช้จ่ายร้านค้าท้องถิ่น 40% รองลงมาเป็นร้านสะดวกซื้อ เช่น CJ, 7-Eleven 26%

ธุรกิจอีคอมเมิร์ซมาแรง คนไทยซื้อผ่านแพลตฟอร์ม 67% คาดมูลค่าปี 2567 แตะ 7 แสนล้านบาท

ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เผยว่าธุรกิจอีคอมเมิร์ซมาแรงต่อเนื่อง โตแบบฉุดไม่อยู่ ปี 2566 มีมูลค่า 6.34 แสนล้านบาท คาดการณ์ปี 2567 มูลค่าแตะ 7 แสนล้านบาท และปี 2568 มูลค่าทะลุ 7.5 แสนล้านบาท

SmartSME Line