วันอังคาร, เมษายน 23, 2567

จะมีไหม? มีเมื่อไหร่? กฎหมายแฟรนไชส์ ที่ใครก็ถามถึง

by Smart SME, 3 สิงหาคม 2561

ที่ผ่านมา ประเทศไทยยังมีไม่กฎหมายแฟรนไชส์ ที่ว่าด้วยการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์โดยเฉพาะ แต่จะมีรูปแบบการดำเนินธุรกิจด้วยการทำ “สัญญาแฟรนไชส์” ที่เขียนขึ้นเป็นข้อตกลงระหว่าง 2 ฝ่าย ทั้งนี้ สัญญาแฟรนไชส์ ถือเป็น สัญญาประเภทหนึ่งจึงต้องอยู่ภายใต้ข้อบังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ สรุปกันแบบง่ายๆ ให้เข้าใจ คือ เนื้อหาสาระของสัญญา หรือข้อสัญญาที่เป็นสาระสำคัญ Franchisor (แฟรนไชส์ซอ) เจ้าของสิทธิ เป็นผู้กำหนดล่วงหน้าไว้ทั้งหมดแล้ว ซึ่งหมายถึง Franchisee (แฟรนไชส์ซี) ผู้รับสิทธิในการดำเนินธุรกิจ มีอำนาจการต่อรองน้อยกว่าแฟรนไชส์ซอ เมื่อตกลงทำสัญญาธุรกิจกันแล้ว คำถามต่อมา คือ แล้วเมื่อไหร่จะมีกฎหมายแฟรนไชส์อย่างจริงจังเสียที เรื่องนี้มีความพยายามกันมานานพอสมควร เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้กับแฟรนไชส์ซี เพื่อป้องกันไม่ให้ถูกเอาเปรียบ ไม่ถูกเรียกเก็บค่ารายเดือน รายปี ไปแบบ งงๆ โดยที่ไม่รู้ว่าที่เก็บไปนั้นนำไปสร้างประโยชน์ให้กับมาสู่แฟรนไชส์ซีจริงหรือไม่ รวมไปถึงบางธุรกิจแฟรนไชส์ที่ขาดความรับผิดชอบ ไม่มีการสนับสนุน ช่วยเหลือ ให้คำปรึกษา กับแฟรนไชส์ซี จนส่งผลให้กิจการไปไม่รอด ธุรกิจต้องปิดตัวลง เงินลงทุนไปยังไม่ทันได้ถอนทุนคืน ก็มีจำนวนไม่น้อย อะไรจะเป็นหลักประกันให้กับผู้ลงทุน? เงินที่ลงทุนไปนันจะไม่สูญเปล่า หรือหากเกิดปัญหาจะมีแนวทางการช่วยเหลืออย่างไร หรือในความเป็นจริงแล้ว แฟรนไชส์ซอ จะต้องเป็นผู้เลือก แฟรนไชส์ซี ที่เหมาะสมและมีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จเสียเอง ทั้งหมดนี้ไม่ได้หมายความว่าธุรกิจแฟรนไชส์ที่มีอยู่จะเอาเปรียบผู้ลงทุนด้วยสัญญาที่ไม่เป็นธรรมทั้งหมด ธุรกิจแฟรนไชส์ส่วนใหญ่มีการบริหารจัดการที่ดี มีความน่าเชื่อถือ อีกทั้งยังผ่านเกณฑ์มาตรฐานจากหน่วยงานราชการ การันตีคุณภาพ แต่อย่างน้อยควรมีข้อกฎหมายที่ให้ความเป็นธรรมกับทั้ง 2 ฝ่าย เมื่อเกิดปัญหาจะได้ไม่มีผู้เสียเปรียบอยู่ฝ่ายเดียว สร้างมาตรฐานให้กับ แฟรนไชส์ซอ และ แฟรนไชส์ซี ดำเนินธุรกิจควบคู่กัน ซึ่งอาจทำให้ปริมาณธุรกิจแฟรนไชส์ที่ลงทุนแล้วไม่ประสบความสำเร็จลดลงก็เป็นได้ บทความแฟรนไชส์อื่นๆ คลิก

Mostview

นวัตกรรมชีวเคมี นำแบคทีเรียสร้างเซลลูโลส ส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน

นักวิจัยจากจุฬาฯ สร้างนวัตกรรม ‘เซลลูโลส’ จากแบคทีเรีย ทดแทนการนำเข้านับหมื่นล้านบาท ช่วย เศรษฐกิจหมุนเวียน และเป็น zero waste ภายใต้สิทธิบัตร ‘เซลโลกัม’

หนุ่มอายุ 25 ปี ใช้ AI สร้างรายได้เกือบ 2 ล้านบาท ใช้เวลาแค่ 2 เดือน

เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ถูกพูดถึงอย่างในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่ามา และคาดการณ์ว่าจะเข้ามามีบทบาทเป็นส่วนหนึ่งของการทำธุรกิจต่อไปในวันข้างหน้า

Asahi เพิ่มการผลิตเครื่องดื่มไร้แอลกอฮอล์ ชูเป็นสินค้าหลัก หลังคนญี่ปุ่นดื่มเบียร์น้อยลง

Asahi แบรนด์ผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เตรียมดันการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้มากขึ้นกว่าเดิม หวังสร้างยอดขายในสัดส่วน 50% ภายในปี 2040

SOURCE Global บริษัทผู้ใช้แผงโซลาร์เซลล์เปลี่ยนอากาศให้กลายเป็นน้ำดื่ม แก้ปัญหาขาดแคลนน้ำ

ท่ามกลางอากาศที่แห้งแล้งในทะเลทรายของลาสเวกัส ดูเหมือนจะเป็นเรื่องยากกับการแหล่งน้ำที่มีความอุดมสมบูรณ์รอบบริเวณที่มีอยู่ โดยทางตอนใต้ของเนวาดากำลังเผชิญภัยแล้งที่เลวร้ายที่ครั้งในประวัติศาสตร์ที่ต้องบันทึกไว้ จนนำไปสู่การขาดแคลนน้ำ และข้อจำกัดในการใช้

SmartSME Line