วันเสาร์, เมษายน 20, 2567

ถ้วยกาแฟใช้ซ้ำ กลยุทธ์เพื่อลูกค้ารักษ์โลก กำลังมาแรงในเยอรมัน

by Smart SME, 4 กันยายน 2561

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต รายงานว่า ปัจจุบันชาวเยอรมันเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับภาชนะที่สามารถนำกลับมาใหม่มากขึ้น แม้ภาชนะแบบ To Go หรือนำกลับบ้าน ที่ทำจากกระดาษจะย่อยสลายง่ายกว่าเมื่อเทียบกับพลาสติก แต่ขยะกระดาษก็ยังเป็นปัญหา เนื่องจากมีปริมาณสูงขึ้น ด้วยเหตุนี้ร้านอาหารและร้าน กาแฟ หลายแห่ง จึงหันมาใช้ภาชนะที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ สำหรับลูกค้าที่สั่งซื้อกลับไปรับประทานที่บ้าน สืบเนื่องมาจากสถิติ ของถ้วยกาแฟใช้แล้วทิ้งในเยอรมันที่สูงถึง 7.6 ล้านใบใน 3 ปีก่อน องค์กรรักษาสิ่งแวดล้อมของเยอรมัน จึงทำโครงการ ‘ฮีโร่แก้ว - To go ด้วยการรียูส’ ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อลดขยะถ้วยกาแฟ ทำให้ผู้บริโภคชาวเยอรมันจำนวนไม่น้อยตระหนักถึงปัญหานี้ ขณะเดียวกัน สตาร์ทอัพรักษ์โลกอย่าง Recup ก็ได้ช่วยรณรงค์ให้นำภาชนะกลับมาซ้ำตามเมืองต่างๆ เช่น เมืองไฟรบวร์ก ที่รณรงค์ให้ร้านค้าหันมาใช้ถ้วยแก้วแบบรียูส โดยให้ลูกค้าจ่าย 1 ยูโรเป็นค่ามัดจำแก้วกาแฟ และหลังจากดื่มเสร็จก็สามารถนำแก้วมาคืนเพื่อรับ 1 ยูโรกลับไป แม้แต่ในเมืองมิวนิก ก็มีการประกาศห้ามขายบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วทิ้งทั้งหมด ซึ่งสโมสรฟุตบอลบาเยิร์นมิวนิกถึงกับแจกแก้วเบียร์แบบรียูสทุกครั้งที่มีการเล่นในบ้าน ตัวอย่างภาชนะแบบรียูสที่ใช้แทนขวดพลาสติก ก็เช่นกระติกน้ำร้อนน้ำเย็นยี่ห้อ FLSK ฯลฯ


Mostview

นวัตกรรมชีวเคมี นำแบคทีเรียสร้างเซลลูโลส ส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน

นักวิจัยจากจุฬาฯ สร้างนวัตกรรม ‘เซลลูโลส’ จากแบคทีเรีย ทดแทนการนำเข้านับหมื่นล้านบาท ช่วย เศรษฐกิจหมุนเวียน และเป็น zero waste ภายใต้สิทธิบัตร ‘เซลโลกัม’

SOURCE Global บริษัทผู้ใช้แผงโซลาร์เซลล์เปลี่ยนอากาศให้กลายเป็นน้ำดื่ม แก้ปัญหาขาดแคลนน้ำ

ท่ามกลางอากาศที่แห้งแล้งในทะเลทรายของลาสเวกัส ดูเหมือนจะเป็นเรื่องยากกับการแหล่งน้ำที่มีความอุดมสมบูรณ์รอบบริเวณที่มีอยู่ โดยทางตอนใต้ของเนวาดากำลังเผชิญภัยแล้งที่เลวร้ายที่ครั้งในประวัติศาสตร์ที่ต้องบันทึกไว้ จนนำไปสู่การขาดแคลนน้ำ และข้อจำกัดในการใช้

Asahi เพิ่มการผลิตเครื่องดื่มไร้แอลกอฮอล์ ชูเป็นสินค้าหลัก หลังคนญี่ปุ่นดื่มเบียร์น้อยลง

Asahi แบรนด์ผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เตรียมดันการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้มากขึ้นกว่าเดิม หวังสร้างยอดขายในสัดส่วน 50% ภายในปี 2040

SmartSME Line