วันศุกร์, เมษายน 19, 2567

รู้หรือไม่ เป็นผู้ประกอบ SME ต้องรู้จัก ภาษี อะไรบ้าง

by Smart SME, 14 กันยายน 2561

สิ่งหนึ่งที่ถือเป็นหน้าที่ของประชาชนต้องรับผิดชอบ คือ ภาษี ที่มีรูปแบบแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับสถานะบุคคล สถานะธุรกิจ ประเภทของกิจการ เป็นต้น สำหรับผู้ประกอบการ SME จะมีรูปแบบการเสียภาษีแตกต่างกันไปเช่นกัน ดังนั้นผู้ที่กำลังจะเริ่มธุรกิจจำเป็นต้องรู้ว่าภาษีที่จะต้องจ่ายมีอะไรบ้าง ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ดังนี้

1.ภาษีเงินได้
  • ภาษีหัก ณ ที่จ่าย หมายถึง ถ้ามีการจ่ายเงินเกินตามที่ตกลงกันไว้ ‘ผู้จ่ายเงิน’ จะต้องหักเงินจำนวนหนึ่งเพื่อนำส่งภาษีให้รัฐแทนผู้รับเงิน เช่น เงินเดือนจากการจ้างพนักงาน บริษัท จะคำนวณหักเงินภาษี ณ ที่จ่าย เพื่อนำส่งสรรพากร เป็นต้น โดยการคำนวนภาษีที่จะต้องหักจะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับว่าจ่ายให้ใคร จ่ายค่าอะไร ทั้งนี้ เมื่อผู้จ่ายได้ทำการหักเงิน ภาษี ณ ที่จ่าย จะต้องนำส่งเอกสารหลักฐานรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ให้กับผู้รับเงินหรือผู้ที่ถูกหักภาษี นำไปขอภาษีคืนจากรัฐตอนสิ้นปี
  • ผู้ประกอบการ SME ที่ไม่ได้เป็นนิติบุคคล หมายถึง ผู้ประกอบการที่เป็นบุคคลธรรมดา เช่น ห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่ใช่นิติบุคคล ประกอบกิจการบริการ ผลิต ค้าปลีก ค้าส่ง และได้รับเงินจากการประกอบธุรกิจ จะเสีย ‘ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา’ และจะต้องเสียภาษีเงินได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 0.5 ของยอดเงินได้พึงประเมินทั้งสิ้นที่ไม่หักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน ตามมาตร 48(2)
  • ผู้ประกอบการ SME ที่เป็นนิติบุคคล หมายถึง ผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจในรูปแบบ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ผู้ประกอบการประเภทนี้จะเสีย ‘ภาษีเงินได้นิติบุคคล’ ซึ่งเป็นภาษีที่สรรพากรเป็นผู้จัดเก็บเพื่อนำส่งรายได้ให้แก่รัฐ โดยเก็บอัตราสูงสุดไม่เดินร้อยละ 30 ของกำไรสุทธิ
ภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ผู้ประกอบการจะต้องยื่น 2 ครั้งต่อปี แบบบุคคลธรรมดา ภาษีครึ่งปีจะใช้ ภ.ง.ด. 94 และภาษีเงินได้ประจำปี ภ.ง.ด.90 แบบนิติบุคคล ภาษีครึ่งปีจะใช้ ภ.ง.ด.51 และภาษีเงินได้ประจำปี ภ.ง.ด.50 2.ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
  • เป็นภาษีที่ทุกคนจ่ายกันอยู่ในชีวิตประจำวันไม่ว่าจะเป็น การจ่ายเงินซื้อสินค้า ซื้อบริการ ราคาที่ต้องจ่ายจะถูกเพิ่ม VAT ไว้แล้ว ภาษีชนิดนี้ผู้ประกอบการสามารถจดทะเบียนเพิ่มได้ ซึ่งสินค้าและบริการจะจัดอยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม
  • ผู้ประกอบการที่จดทะเบียนมีหน้าที่เรียกเก็บภาษีนี้ ผ่านทางสินค้าหรือบริการที่มีอยู่ อัตราการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มปัจจุบันอยู่ที่ 7% ผู้ประกอบการที่เรียเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจะต้องนําส่งภาษีนี้ให้กับ สรรพากรในทุกเดือนโดยสามารถยื่นแบบ ออนไลน์ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
3.ภาษีสิ่งปลูกสร้าง
  • สําหรับผู้ประกอบการ SME ทําธุรกิจ หอพัก อพาร์ทเม้นท์ ให้เช่า เมื่อคุณมีรายได้จากการเปิดเช่าจะต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินจำนวน 12.5% ต่อปีของค่ารายปี ตัวอย่างเช่น ถ้าให้เช่าเดือนละ 3,000 บาท ค่ารายปี คือ 3,000 ×12 = 36,000 บาท จะเสียภาษี 5% = 4,500 บาท สามารถนำภาษีส่วนนี้ไปชำระได้ที่ สำนักงานเขต หรืออำเภอ ที่ตั้งอยู่ ภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี
  • ภาษีป้าย ป้ายติดหน้าร้าน ป้ายโฆษณา จะต้องเสียภาษี ซึ่งผู้ประกอบการจะต้องตรวจสอบว่าการติดป้ายลักษณะไหนบ้างที่ต้องเสียหรือลักษณะไหนได้รับการยกเว้น จะเสียภาษีเท่าไหร่นั้นขึ้นอยู่กับขนาดป้าย เริ่มต้นที่ 200 บาท ภาษีส่วนนี้ไปชำระได้ที่ สำนักงานเขต หรืออำเภอ ที่ตั้งอยู่ ภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี
ทั้งหมดนี้คือภาษีที่มีความเกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการ SME โดยตรง และจำเป็นต้องรู้ไว้เพื่อนำการชำระให้ถูกต้องทุกประการ หากมีการหลีกเลี่ยงไม่ชำระภาษี ถือเป็นการทำผิดกฏหมายพร้อมถูกตรวจสอบภาษีย้อนหลังทั้งหมด และแน่นอนว่าการเรียกเก็บภาษีย้อนหลังจะมากกว่าที่ต้องจ่ายตามจริงอย่างแน่นอน บทความอื่นๆ คลิก

Mostview

นวัตกรรมชีวเคมี นำแบคทีเรียสร้างเซลลูโลส ส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน

นักวิจัยจากจุฬาฯ สร้างนวัตกรรม ‘เซลลูโลส’ จากแบคทีเรีย ทดแทนการนำเข้านับหมื่นล้านบาท ช่วย เศรษฐกิจหมุนเวียน และเป็น zero waste ภายใต้สิทธิบัตร ‘เซลโลกัม’

SOURCE Global บริษัทผู้ใช้แผงโซลาร์เซลล์เปลี่ยนอากาศให้กลายเป็นน้ำดื่ม แก้ปัญหาขาดแคลนน้ำ

ท่ามกลางอากาศที่แห้งแล้งในทะเลทรายของลาสเวกัส ดูเหมือนจะเป็นเรื่องยากกับการแหล่งน้ำที่มีความอุดมสมบูรณ์รอบบริเวณที่มีอยู่ โดยทางตอนใต้ของเนวาดากำลังเผชิญภัยแล้งที่เลวร้ายที่ครั้งในประวัติศาสตร์ที่ต้องบันทึกไว้ จนนำไปสู่การขาดแคลนน้ำ และข้อจำกัดในการใช้

Asahi เพิ่มการผลิตเครื่องดื่มไร้แอลกอฮอล์ ชูเป็นสินค้าหลัก หลังคนญี่ปุ่นดื่มเบียร์น้อยลง

Asahi แบรนด์ผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เตรียมดันการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้มากขึ้นกว่าเดิม หวังสร้างยอดขายในสัดส่วน 50% ภายในปี 2040

SmartSME Line