วันพฤหัสบดี, เมษายน 25, 2567

ขับเคลื่อน SME 4.0 พื้นที่ “นครชัยบุรินทร์”

by Smart SME, 14 กันยายน 2561

ดร.อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานการประชุมเครือข่ายแนวร่วมภาครัฐและเอกชน เพื่อหารือแนวทางการขับเคลื่อน SMEs 4.0 ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 หรือ กลุ่มจังหวัด “นครชัยบุรินทร์” (นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และสุรินทร์) ร่วมด้วยผู้บริหารกระทรวงฯ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา และผู้ประกอบการ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมครั้งนี้ภาคเอกชนได้เสนอแนวทางการยกระดับอุตสาหกรรมส่วนของกลุ่มจังหวัด “นครชัยบุรินทร์” ใน 2 Flagship ด้วยกันคือ 1. การพัฒนาอุตสาหกรรมโคเนื้อ (อีสานวากิว) และ 2.ศูนย์พัฒนาบุคลากรและออกแบบผลิตภัณฑ์ผ้าไหม สำหรับFlagship ที่ 1 การพัฒนาอุตสาหกรรมโคเนื้อ (อีสานวากิว) จะมีการดำเนินการผ่านศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมภาคที่ 6 นครราชสีมา และสถาบันอาหาร ร่วมด้วย ม.เทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.เทคโนโลยีสุรนารี และอุทยานวิทยาศาสตร์และนวัตกรรม เพื่อจะยกระดับผลิตภัณฑ์ การตลาด และการสร้างแบรนด์ เพิ่มมูลค่าให้กับเนื้อโคส่วนเหลือทิ้งด้วยการแปรรูป จัดสร้างโรงตัดแต่งและโรงเชือด  ซึ่งจะช่วยสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคประมาณ 400 ราย และเกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้นประมาณ 1,000 ราย สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้เกิดการขายตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 200 ล้านบาท ด้าน Flagship ที่ 2 การจัดตั้งศูนย์พัฒนาบุคลากรและออกแบบผลิตภัณฑ์ผ้าไหม โดยมีแนวคิดเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าไหมด้วยนวัตกรรม เทคโนโลยี และการออกแบบให้เกิดการเพิ่มมูลค่าและยกระดับคุณภาพของผ้าไหมอีสานและผลิตภัณฑ์สิ่งทอ โดยการออกแบบในเชิงสร้างสรรค์ผสมผสานด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น อัตลักษณ์ของจังหวัด รวมทั้งการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการ่วมซื้อร่วมจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ โดยมีเกษตรกรที่ได้รับประโยชน์เป็นจำนวน 32,755 ราย ผู้ทอผ้าและผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ผ้าไหม จำนวน 17,836 ราย  มูลค่าทางเศรษฐกิจปัจุบันอยู่ที่ 216.30 ล้านบาท โดยหากมีการจัดตั้งศูนย์ดังกล่าวภายใต้งบประมาณ 45 ล้านบาทในช่วงระยะเวลา 3 ปี ตั้งแต่ปี 2562-2564 จะช่วยเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและยอดจำหน่ายให้กับอุตสาหกรรมผ้าไหมไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท

Mostview

หนุ่มอายุ 25 ปี ใช้ AI สร้างรายได้เกือบ 2 ล้านบาท ใช้เวลาแค่ 2 เดือน

เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ถูกพูดถึงอย่างในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่ามา และคาดการณ์ว่าจะเข้ามามีบทบาทเป็นส่วนหนึ่งของการทำธุรกิจต่อไปในวันข้างหน้า

ธุรกิจอีคอมเมิร์ซมาแรง คนไทยซื้อผ่านแพลตฟอร์ม 67% คาดมูลค่าปี 2567 แตะ 7 แสนล้านบาท

ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เผยว่าธุรกิจอีคอมเมิร์ซมาแรงต่อเนื่อง โตแบบฉุดไม่อยู่ ปี 2566 มีมูลค่า 6.34 แสนล้านบาท คาดการณ์ปี 2567 มูลค่าแตะ 7 แสนล้านบาท และปี 2568 มูลค่าทะลุ 7.5 แสนล้านบาท

SmartSME Line