วันศุกร์, เมษายน 19, 2567

สบน. เผยแผนระดมทุน ปี 2562 กว่า 1.16 ล้านล้าน

by Smart SME, 15 กันยายน 2561

สบน. เผยแผนระดมทุนและดำเดินงานปีงบฯ 2562 ระดมทุนในประเทศของรัฐบาลประมาณ 1.16 ล้านล้าน โดยมีวัตถุประสงค์ ชดเชยขาดดุลปีงบฯ 61 – 62 ปล่อยกู้รัฐวิสาหกิจ และปรับโครงสร้างหนี้

สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) แถลงผลการประชุม Annual PDMO Market Dialogue ประจำปีงบประมาณ 2562 เมื่อวันที่ 12 ก.ย.61 โดยมีวัตถุประสงค์ในการแลกเปลี่ยนและรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะตลาดตราสารหนี้ ความต้องการลงทุนของนักลงทุน และแนวทางการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ไทยในอนาคต เพื่อประกอบการพิจารณาจัดทำแผนการระดมทุนของรัฐบาลให้มีความเหมาะสม และสอดคล้องกับสภาวะตลาด ส่วนแผนการระดมทุนและแผนการดำเนินงานในปีงบฯ 62 นั้น สบน.ประมาณการความต้องการระดมทุนในประเทศของรัฐบาลจะมีทั้งสิ้น 1,163,668 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นการกู้เงินใหม่ในวงเงิน 592,353 ล้านบาท ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ชดเชยการขาดดุลในปีงบฯ 62 วงเงิน 4.5 แสนล้านบาท และกู้เงินเพื่อนำมาให้รัฐวิสาหกิจกู้ต่อวงเงิน 92,353 ล้านบาท รวมถึงกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลจากปีงบฯ 61 อีก 5 หมื่นล้านบาท นอกจากนี้ สบน.ยังจะมีการกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้เดิม (Rollover) 571,315 ล้านบาท เพื่อนำมาใช้ปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้เพื่อชดเชยขาดดุลงบประมาณ 346,436 ล้านบาท เมื่อรายจ่ายสูงกว่ารายได้ และการบริหารหนี้ หนี้เงินกู้บาททดแทนการกู้เงินตราต่างประเทศ และหนี้เงินกู้ พ.ร.ก.ไทยเข้มแข็งฯ รวมถึง การกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้เพื่อชดใช้ความเสียหายให้กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 167,532 ล้านบาท และการกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้มาเพื่อให้กู้ต่ออีก 57,347 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ในปีงบฯ 62 สบน.จะออกพันธบัตร Benchmark โดยวางแผนระดมทุนผ่านการออกพันธบัตรรัฐบาลที่ใช้ในการสร้างอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (Benchmark Bond) เป็นหลัก ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นพันธบัตรรุ่นเดิมในตลาด (Re-open) และมีรุ่นใหม่ (New-Issue) 1 รุ่น ได้แก่ พันธบัตรอายุ 20 ปี (LB386A) โดยมีวงเงินรวมของพันธบัตร (Bond Supply) จำนวน 600,000 ล้านบาท ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการของนักลงทุน และครบทุกช่วงอายุอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ครอบคลุมนักลงทุนทุกกลุ่ม สร้างอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (Reference Rate) ให้กับตลาดตราสารหนี้ในประเทศ นอกจากนี้ สบน.ยังได้กำหนดให้พันธบัตร Benchmark รุ่น 5 ปี เป็นรุ่น Exclusivity และมี Greenshoe Option โดยให้สิทธิเฉพาะแก่ MOF Outright PDs เท่านั้น ที่สามารถเข้าร่วมการประมูลพันธบัตร Benchmark รุ่น 5 ปีได้ รวมทั้งให้สิทธิในการซื้อพันธบัตร Benchmark ดังกล่าวเพิ่มเติมในอัตราถัวเฉลี่ยรับ (Average Accepted Yield : AAY) ไม่เกิน 20% ของพันธบัตรที่ได้รับจัดสรร ทั้งนี้ สบน.สามารถพิจารณาจัดสรรพันธบัตรเพิ่มเติม (Overallotment) ให้แก่ผู้เสนอประมูลตามอัตราร้อยละที่ผู้ประมูลเสนอ โดยจะสามารถจัดสรรพันธบัตรเพิ่มเติมในสัดส่วนที่กำหนดหากสภาวะตลาดเอื้ออำนวย ด้านแผนการดำเนินธุรกรรมแลกเปลี่ยนพันธบัตร (Bond Switching) ในงบฯ 61 จะมีไม่เกิน 100,000 ล้านบาท โดยจะดำเนินการทั้งรูปแบบผ่านตัวกลาง (Syndication) ซึ่ง สบน.จะมีการประกาศรับสมัคร เพื่อคัดเลือกผู้จัดการการแลกเปลี่ยนพันธบัตร (Arranger) ในช่วงปลายปี 61 และบนระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic-Switching: E-Switching) ที่ สบน. และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ร่วมกันพัฒนา เพื่อให้เป็นอีกช่องทางที่จะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับนักลงทุน และเพิ่มจำนวนผู้เล่นในการเข้าทำธุรกรรม โดย สบน.จะประกาศรูปแบบวงเงินรุ่นพันธบัตรที่จะใช้ในการแลกเปลี่ยน และช่วงเวลาให้ทราบต่อไป ข่าวอื่นๆ คลิก

Mostview

นวัตกรรมชีวเคมี นำแบคทีเรียสร้างเซลลูโลส ส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน

นักวิจัยจากจุฬาฯ สร้างนวัตกรรม ‘เซลลูโลส’ จากแบคทีเรีย ทดแทนการนำเข้านับหมื่นล้านบาท ช่วย เศรษฐกิจหมุนเวียน และเป็น zero waste ภายใต้สิทธิบัตร ‘เซลโลกัม’

SOURCE Global บริษัทผู้ใช้แผงโซลาร์เซลล์เปลี่ยนอากาศให้กลายเป็นน้ำดื่ม แก้ปัญหาขาดแคลนน้ำ

ท่ามกลางอากาศที่แห้งแล้งในทะเลทรายของลาสเวกัส ดูเหมือนจะเป็นเรื่องยากกับการแหล่งน้ำที่มีความอุดมสมบูรณ์รอบบริเวณที่มีอยู่ โดยทางตอนใต้ของเนวาดากำลังเผชิญภัยแล้งที่เลวร้ายที่ครั้งในประวัติศาสตร์ที่ต้องบันทึกไว้ จนนำไปสู่การขาดแคลนน้ำ และข้อจำกัดในการใช้

Asahi เพิ่มการผลิตเครื่องดื่มไร้แอลกอฮอล์ ชูเป็นสินค้าหลัก หลังคนญี่ปุ่นดื่มเบียร์น้อยลง

Asahi แบรนด์ผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เตรียมดันการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้มากขึ้นกว่าเดิม หวังสร้างยอดขายในสัดส่วน 50% ภายในปี 2040

SmartSME Line