วันพฤหัสบดี, มีนาคม 28, 2567

DIP แก้ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ ถอดงานละเมิดในอินเทอร์เน็ตไม่ต้องรอคำสั่งศาล

by Smart SME, 17 กันยายน 2561

กรมทรัพย์สินทางปัญญา แก้ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ 3 ประเด็น เสนอ กระทรวงพาณิชย์ เห็นชอบเตรียมยื่นให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาและทำการแก้ไข เพื่อปกป้องคุ้มครองเจ้าของสิทธิ์มากขึ้น

น.ส.นุสรา กาญจนกูล รองอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เผยว่า ได้เสนอร่างการแก้ไข พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ ให้แก่ นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมว.พาณิชย์ พิจารณาซึ่งได้รับความเห็นชอบแล้วคาดว่าจะมีการเสนอให้ คณะรัฐมนตรี ครม. พิจารณาเห็นชอบในเร็วๆนี้  โดยการแก้ไข พ.ร.บ. ในครั้งนี้จะเน้นไปที่ 3 ประเด็น คือ 1.ความรับผิดชอบผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (ISP) ในกระบวนการระงับการละเมิดลิขสิทธิ์บนอินเตอร์เน็ตแบบแจ้งเตือนและเอาออก (Notice and Takedown) ได้ทันทีไม่ต้องรอคำสั่งศาล 2.การปรับปรุงบทบัญญัติมาตรการที่เกี่ยวกับละเมิดมาตรการทางเทคโนโลยีให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น 3.การเข้าร่วมเป็นสมาชิกสนธิสัญญาว่าด้วยลิขสิทธิ์ องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WCT) สำหรับ Notice and Takedown แก้ไขให้เจ้าของสิทธิ์หากพบว่ามีการละเมิดลิขสิทธิ์ของตนเองบนอินเตอร์เน็ตในประเทศ เช่น  มีการโหลดเพลง ภาพยนตร์ ละคร ฯลฯ เผยแพร่บนเว็บไซต์ต่างๆ สามารถส่งหนังสือแจ้งเตือนไปยัง ISP เพื่อให้ถอดเนื้อหาที่ละเมิดออกจากเว็บไซต์ได้ทันที จาก พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ปัจจุบันเจ้าของสิทธิ์ต้องร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ ISP ถอดเนื้อหาการละเมิดออก ซึ่งใช้เวลานาน อาจส่งผลให้เกิดความเสียหายทางธุรกิจ ส่วนเว็บเซิร์ฟเวอร์ต่างประเทศก็ต้องร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ปิดกั้นเว็บไซต์นั้น หากผู้ที่ถูกกล่าวหาว่า ละเมิดลิขสิทธิ์ ยืนยันว่า เป็นเจ้าของสิทธิ์เหมือนกันก็สามารถโต้แย้งกลับไปยัง ISP เพื่อให้นำงานชิ้นนั้นกลับขึ้นมาบนเว็บไซต์ได้ โดย ISP ก็ต้องแจ้งไปที่คนที่ยื่น notice จากนั้นก็ต้องพิสูจน์กันในศาล หากคนยื่น notice ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นเจ้าของตัวจริง ISP ก็จะเอางานที่ถูกกล่าวหาละเมิดกลับขึ้นมาอยู่บนเว็บไซต์เช่นเดิม ส่วนประเด็นการปรับปรุงบทบัญญัติมาตรการ เกี่ยวกับละเมิดมาตรการทางเทคโนโลยี กำหนดว่า บุคคลใดผลิต ขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขาย ให้เช่า เสนอให้เช่า จัดหา นำเข้า หรือการค้าโดยวิธีอื่นใด ซึ่งอุปกรณ์หรือผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการแฮกบนอินเตอร์เน็ต เช่น กล่องปลดล็อครหัสเข้าอินเตอร์เน็ต ให้ถือว่าเป็นการละเมิดมาตรการทางเทคโนโลยี จากกฎหมายปัจจุบันยังไม่ครอบคลุมถึงผู้ผลิต และผู้ขายอุปกรณ์เหล่านี้ การเข้าเป็นสมาชิก WCT อยู่ระหว่างการสมัครเข้าเป็นสมาชิก แต่กฎหมายลิขสิทธิ์ของไทยบางประเด็นยังไม่สอดคล้องกับสนธิสัญญานี้ จึงต้องแก้ไขให้สอดคล้องกัน โดยได้ขยายระยะเวลาการคุ้มคอรงงานภาพถ่าย จากกฎหมายลิขสิทธิ์ของไทยปัจจุบัน คุ้มครอง 50 ปีหลังจากสร้างสรรค์ แต่จะขยายเป็นคุ้มครองตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์ และเพิ่มอีก 50 ปีหลังจากเสียชีวิตตาม WCT ซึ่งจะคุ้มครองต่อเนื่องและยาวนานขึ้น ข่าวอื่นๆ คลิก

Mostview

ลาออกมาเปิด First Place Coffee รถขายกาแฟ สร้างยอดขายกว่า 550% ด้วย 3 กลยุทธ์ทำแล้วสำเร็จ

Devon McConville ไม่คิดที่จะมีธุรกิจขนาดเล็ก หรือเป็นบาริสต้า เพราะเส้นทางอาชีพของเธอเริ่มจากอาชีพทางด้านการเงินในบริษัทแห่งหนึ่งในฟีนิกส์ แต่มาวันหนึ่งก็พบว่าชีวิตขาดการเชื่อมโยงกับมนุษย์ ซึ่งค้นพบระหว่างดื่มกาแฟ

Pizza Hut ญี่ปุ่นนำพิซซ่าโรยหน้าผักชีกลับมาขายอีกครั้ง งานนี้เพิ่มผักชี 2 เท่า

ที่ประเทศญี่ปุ่น “ผักชี” มีชื่อเรียกว่า “ปาคุจิ” แน่นอนว่าสมุนไพรชนิดนี้มีความคิดเห็นของหมู่คนญี่ปุ่นออกเป็น 2 ฝ่าย ไม่ชอบไปเลย ก็เกลียดไปเลย

นวัตกรรมแห่งรสชาติ! ซีอิ๊วเม็ดตราเด็กสมบูรณ์ พกไปได้ทุกที่-ละลายเร็วภานใน 5 วินาที

ปกติเราจะเห็นซีอิ๊วตราเด็กสมบูรณ์มาในรูปแบบขวด แต่ล่าสุดได้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่เป็น “ซีอิ๊วเม็ดเด็กสมบูรณ์” ที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อตอบโจทย์พฤติกรรมของมนุษย์ในปัจจุบันที่ชอบความสะดวกสบาย รวดเร็วต่อการใช้งาน

SmartSME Line