วันอาทิตย์, เมษายน 28, 2567

รู้จัก SQUEEZE by Tipco ร้านสมูทตี้ที่วันนี้นับถอยหลังเส้นทางธุรกิจ ปิดตำนาน 20 ปี

by Anirut.j, 9 พฤศจิกายน 2566

ถือว่าน่าตกใจอยู่ไม่ใช่น้อยเมื่อแบรนด์ SQUEEZE by Tipco ร้านสมูทตี้ของคนรักสุขภาพกำลังปิดกิจการลงในอีกไม่ถึง 1 เดือนนี้

SQUEEZE by Tipco โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า GoodBye Squeeze by Tipco

Squeeze by Tipco ขอขอบพระคุณลูกค้าทุกท่านที่อยู่กับเราตลอด 20 ปีที่ผ่านมา ถึงเวลาต้องจากลากันแล้ว…..

Squeeze by Tipco แบรนด์สมูทตี้ ผลไม้แท้เต็มแก้ว ระดับพรีเมี่ยม เปิดให้บริการมาถึง 20 ปี เราบริการลูกค้าและเสิร์ฟสมูตตี้ที่ดีที่สุด เพื่อให้ลูกค้าพึงพอใจที่สุด

พวกเราชาว Squeeze จำเป็นต้องแจ้งข่าวนี้สำหรับแฟนคลับที่รักสมูตตี้ของพวกเรา Squeeze by Tipco จะเปิดให้บริการวันสุดท้าย คือ 28 พฤศจิกายน 2566 ทุกสาขา

ขอขอบคุณลูกค้าทุกท่าน ที่ร่วมเป็นความทรงจำดีๆ ของชาว Squeeze by Tipco ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ขอบคุณทั้งคำชื่นชม และคำติชมต่างๆ ที่ทำให้ Squeeze by Tipco ปรับปรุงและพัฒนาขึ้นมาจนถึงตอนนี้

Squeeze by Tipco จะบริการลูกค้าทุกคนอย่างเต็มที่และสร้างความทรงจำดีๆ ให้ลูกค้า จนถึงวันสุดท้ายที่เราให้บริการ หากพนักงานทำผิดพลาดประการใด ต้องขออภัยลูกค้ามากๆค่ะ

นี่คือข้อความร่ำลาของ Squeeze by Tipco ที่ส่งต่อไปยังลูกค้าให้แวะมาที่ร้าน เก็บบรรยากาศ ความทรงจำดี ๆ ก่อนที่ภาพเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นอีกแล้ว

สำหรับ Squeeze by Tipco เป็นร้านสมูทตี้ อยู่ภายใต้ Tipco แบรนด์น้ำผลไม้ที่หลายคนคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี โดยเปิดตัวครั้งแรกเมื่อ 2547 เพื่อเจาะกลุ่มเป้าหมายของคนรักสุขภาพที่คาดการณ์ว่าจะเป็นเทรนด์มาแรงในอนาคต โดยลักษณะของร้านจะให้บริการครอบคลุมตั้งแต่ ลูกค้าสามารถนั่งทานในร้านได้, สั่งกลับบ้าน และบริการแบบเดลิเวอรีผ่านแอปพลิเคชันส่งอาหาร

 

ตัวอย่างเครื่องดื่ม Squeeze by Tipco

ตัวอย่างเครื่องดื่ม Squeeze by Tipco

 

แน่นอนว่า Squeeze by Tipco สร้างจุดเด่นให้กับเครื่องดื่มว่าเป็นสมูทตี้ระดับพรีเมียม มีสัดส่วนน้ำผลไม้คิดเป็น 60-70% ต่อแก้ว และมีผลไม้ให้เลือกหลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น มะม่วง, ส้ม, สตรอว์เบอร์รี่, แอปเปิล ไม่เพียงเท่านั้น แบรนด์ยังขยายบริการไปสู่อาหารประเภทอื่น ๆ เพื่อเป็นทางเลือกให้กับลูกค้าได้รับประทานคู่กับเครื่องดื่ม เช่น แซนด์วิช, สลัด ปัจจุบันมีสาขาทั้งหมดทั้งในห้างสรรพสินค้า, ในอาคารสำนักงาน และในโรงพยาบาล จำนวน 28 สาขา

เรามาดูผลประกอบการของบริษัท ทิปโก้ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้บริหารร้าน Squeeze by Tipco กันก่อนว่าเป็นอย่างไรบ้าง

-ปี 2563 รายได้รวม 2,576 ล้านบาท กำไรสุทธิ 482 ล้านบาท
-ปี 2564 รายได้รวม 2,524 ล้านบาท กำไรสุทธิ 429 ล้านบาท
-ปี 2565 รายได้รวม 2,988 ล้านบาท กำไรสุทธิ 280 ล้านบาท
-6 เดือนแรกของปี 2566 รายได้รวม 1,367 ล้านบาท กำไรสุทธิ 299 ล้านบาท

จะเห็นได้ว่าเมื่อมองในประเด็นผลประกอบการของบริษัทแล้ว ธุรกิจของ “Tipco” ถืออยู่ในระดับที่ดี กิจการทำกำไรในหลายปีที่ผ่านมา แม้ “Tipco” จะเป็นเจ้าตลาดเครื่องดื่มน้ำผลไม้ แต่การกระโดดต่อยอดธุรกิจมาสู่ร้านสมูทตี้กลับเป็นได้ผลลัพธ์ไม่ค่อยดีสักเท่าไหร่นัก เพราะผลการดำเนินงานของ Squeeze by Tipco ไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางเอาไว้ โดยอุปสรรคสำคัญคงหนีไม่พ้นแบรนด์ในตลาดที่มีการแข่งขันที่ค่อนข้างสูง

นอกจากนี้ในส่วนของพฤติกรรมผู้บริโภค เมื่อเปรียบเทียบเครื่องดื่มชา กาแฟ กับเครื่องดื่มสมูทตี้ น้ำผลไม้ปั่น ส่วนคนไทยจะชื่นชอบเครื่องดื่มประเภทแรกมากกว่า จึงทำให้แบรนด์สมูทตี้เป็นได้เพียงพระรองในตลาดเครื่องดื่มในภาพกว้าง เมื่อประเมินแล้วว่าธุรกิจคงเดินได้แค่นี้ ไปต่อไม่ได้ การหยุดจึงเป็นทางออกที่ดีที่สุดในเรื่องนี้

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

 

Mostview

เปิดธุรกิจที่ได้รับประโยชน์ หากเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท เริ่มใช้งาน

ผลสำรวจบอกผู้มีสิทธิ์ใช้เงินดิจิทัลวอลเล็ต จะเลือกใช้จ่ายร้านค้าท้องถิ่น 40% รองลงมาเป็นร้านสะดวกซื้อ เช่น CJ, 7-Eleven 26%

สิงคโปร์ แจกเงินละ 8,000 บาท ให้ 1.1 ล้านครัวเรือนไปซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า-ประปา ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

จากสถานการณ์โลกร้อนทำให้หลายประเทศกลับมาตระหนักถึงเรื่องนี้กันมากยิ่งขึ้น ทำอย่างไรที่จะออกนโยบายที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทำให้ประชาชนตระหนักถึงเรื่องนี้เป็นอันดับต้น ๆ

ธุรกิจอีคอมเมิร์ซมาแรง คนไทยซื้อผ่านแพลตฟอร์ม 67% คาดมูลค่าปี 2567 แตะ 7 แสนล้านบาท

ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เผยว่าธุรกิจอีคอมเมิร์ซมาแรงต่อเนื่อง โตแบบฉุดไม่อยู่ ปี 2566 มีมูลค่า 6.34 แสนล้านบาท คาดการณ์ปี 2567 มูลค่าแตะ 7 แสนล้านบาท และปี 2568 มูลค่าทะลุ 7.5 แสนล้านบาท

จับตาราคา “เนย” เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในตลาดโลกใกล้แตะระดับสูงสุดเท่าทีเคยมีมา

ไม่ใช่ “โกโก้” เท่านั้นที่ราคาพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์จากปัจจัยเรื่องของสภาพอากาศที่เลวร้าย และโรคที่มากับพืชจนส่งผลกระทบต่อแหล่งเพาะปลูก ทำให้ได้ผลผลิตน้อย นำมาสู่การปรับราคาของสินค้าที่มี “โกโก้” เป็นส่วนผสม ซึ่งคาดการณ์ว่าราคาจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ

SmartSME Line