วันอาทิตย์, พฤษภาคม 5, 2567

เด็กอายุ 23 ปี เปลี่ยนเศษขนมปังเป็นคราฟต์เบียร์ สู่ไอเดียธุรกิจสร้างรายได้เจ็ดหลัก

by Anirut.j, 21 ธันวาคม 2566

ตอน Anushka Purohit อายุ 10 ปี เธอตกใจเมื่อเห็นบาริสต้าของสตาร์บัคส์ทิ้งเค้ก และแซนด์วิชที่เหลือลงถังขยะ ความทรงจำตรงนี้ทำให้หนึ่งทศวรรษต่อมากลายเป็นแรงบันดาลใจที่ประกาศธุรกิจสตาร์ทอัพเปลี่ยนขนมปังส่วนเกินให้กลายเป็นคราฟต์เบียร์

ปัจจุบัน Purohit ในวัย 23 ปี เล่าเรื่องราวผ่าน CNBC ว่าเมื่อคุณไปทานบุฟเฟต์อาหารเช้าที่โรงแรม จะพบขนมปัง หรือเวลาขึ้นเครื่องบิน ทุกคนจะได้รับขนมปังหนึ่งชิ้น และน้ำดื่มหนึ่งขวด จะเห็นได้ว่าขนมปังอยู่ในทุกมื้ออาหารของเรา และเศษขนมปังส่วนใหญ่ที่ผู้คนไม่กิน หรือกินไม่หมดมักถูกโยนทิ้งไป

Purohit และเพื่อนร่วมชั้นเรียนมหาวิทยาลัย 3 คน ในฮ่องกง จึงเกิดไอเดียเจ๋ง ๆ ต่อยอดจากความเป็นคนชอบดื่มแอลกอฮอล์ คิดที่จะทำเครื่องดื่มชนิดนี้ขึ้นมา หลังจากนั้น พวกเขาซื้อชุดผลิตเบียร์ราคา 156 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 5,000 บาท) จาก Amazon และทำการทดลองเป็นระยะเวลา 3 สัปดาห์ ก่อนที่จะทำหม้อเบียร์จากขนมปังที่เหลือ

“ลองครั้งแรกพบว่าเบียร์รสชาติไม่ดีสักเท่าไหร่ แต่ทำให้ตระหนักได้ว่าแนวคิดนี้ใช้ได้ผล” Purohit กล่าว

ทีมงานใช้เวลาราว 6 เดือน ในการคิดค้นสูตรให้คงที่ ก่อนประกาศเปิดตัวเบียร์ในปี 2020 โดยมีหลายรสชาติด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น เบียร์รสเปรี๊ยวจากชบา, รสทาร์ตไข่, รสขนมปังสับปะรด สะท้อนให้เห็นถึงการใช้แหล่งอาหารอย่างคุ้มค่า

ตลอดระยะเวลาการดำเนินธุรกิจ บริษัทมีรายได้ 2.5 ล้านเหรียญฮ่องกง โดยในปี 2023 คาดว่าธุรกิจจะมียอดขายทะลุ 1.8 ล้านดอลลาร์ฮ่องกง และคาดว่าจะมีกำไร 1.2 ล้านดอลลาร์ฮ่องกง อย่างไรก็ตาม ธุรกิจสตาร์ทอัพไม่ได้ระดมทุนใด ๆ แต่ได้รับรางวัลประมาณ 6 ล้านดอลลาร์ฮ่องกงจากการแข่งขัน

ข้อมูลที่น่าสนใจในแต่ละปี ผู้คนในฮ่องกงต้องทิ้งอาหารคิดเป็น 71 กิโลกรัมต่อคน ดังนั้น นี่จึงเป็นโอกาสของพวกเขาภายใต้ชื่อแบรนด์ Breer

Breer จะรวบรวมขนมปังที่เหลือจากร้านอาหาร และร้านเบเกอรี่ในท้องถิ่น จากนั้นขนมปังจะถูกส่งไปยังโรงเบียร์ โดยผลิตเบียร์ได้มากถึง 4,000-6,000 ลิตร อย่างน้อย 6 ครั้งต่อปี ซึ่งปริมาณการผลิตจะผันผวนไปตามความต้องการในแต่ละช่วงเวลา

Purohit บอกว่าการเป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่ย่อมมาพร้อมกับความท้าทายในตัวเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งความยากลำบากในการได้รับความไว้วางใจ อย่างเช่นเมื่อเธอเริ่มขอขนมปังที่เหลือจากร้านเบเกอรี่ก็ต้องเผชิญกับคำถาม ไม่ว่าจะเป็น “คุณเพิ่งเข้าสู่วัยดื่มสุราตามกฎหมายเองนะ” “คุณรู้วิธีการต้มเบียร์ได้อย่างไร” “ผมจะเชื่อคุณได้อย่างไรว่าจะไม่เอาแค่ขนมปัง”

หลังอดทนมา 2 สัปดาห์ ร้านเบเกอรี่แห่งแรกที่เขาไปขอได้มอบขนมปังให้ 2 กิโลกรัม โดยมีเงื่อนไขว่าต้องนำเบียร์ที่ทำจากขนมปังกลับมา

Purohit แชร์เทคนิคการเป็นผู้ประกอบการอายุน้อยว่า

1.คุณต้องมีความหลงใหลกับสิ่งที่กำลังทำอยู่

หากคุณมีความหลงใหล และมีเป้าหมายในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง กำไรจะไหลมา หากไม่ชอบสิ่งที่ทำอยู่ คุณก็จะหาเหตุผลมา หรือข้อแก้ตัวที่จะไม่ทำมัน

2.คุณไม่มีทางรู้หากยังไม่ลองทำ

ฉันคงไม่อยู่ที่นี่ ถ้าไม่คว้าโอกาสนั้นไว้สักครั้ง คุณไม่ควรลังเลเริ่มต้นก้าวแรก

3.ระวังเรื่องเงิน

“เงิน” ไม่ใช่การลงทุนเพียงอย่างเดียวที่คุณต้องการ เงินทั้งหมดที่เราได้รับกลับเข้าสู่ธุรกิจแล้ว

ที่มา: cnbc


Mostview

ปิดแล้ว! ร้าน Lawson ฉากหลังภูเขาฟูจิ หลังนักท่องเที่ยวไม่ทำตามกฏ ทิ้งขยะเกลื่อน

อีกหนึ่งจุดถ่ายภาพเวลานักท่องเที่ยวไปภูเขาฟูจิที่ประเทศญี่ปุ่น นั่นคือพื้นที่ร้านสะดวกซื้อ Lawson ที่มีฉากหลังเป็นภูเขาฟูจิ ที่เรียกว่าเป็นแลนด์มาร์คที่ใครมาต้องมาถ่ายรูปให้ได้ แต่ตอนนี้กำลังจะเหลือเพียงความทรงจำ กลายเป็นอดีต

ผลกระทบขึ้นค่าแรง 400 บาท อาจทำให้สินค้าขยับราคาขึ้น 15%

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้สำรวจความคิดเห็นภาคเอกชน ทั้งในภาคส่วนการผลิต การค้า และบริการ การปรับอัตราค่าแรงในแต่ละครั้งมักจะมีผลกระทบต่อทั้ง GDP เงินเฟ้อ ผลิตภาพแรงงาน รวมถึงอัตราการว่างงานทั้งบวกและลบ

Noumami บริษัทนอร์เวย์ ผลิตน้ำปลาจากแซลมอน แบรนด์แรกของโลก

“น้ำปลา” จัดเป็นสินค้าสัตว์น้ำพื้นเมืองของประเทศไทย โดยปลาที่นิยมนำมาเป็นวัตถุดิบ ได้แก่ ปลากะตัก ปลาสร้อย ปลาซิวแก้ว แต่ตอนนี้ไม่ใช่แค่ปลาดังกล่าวที่พูดมาสามารถนำมาทำเป็นน้ำปลาได้ เพราะปลาแซลมอนก็สามารถนำมาผลิตได้เช่นกัน

Wang Ning เจ้าของ Pop Mart ผู้กลายมาเป็นเศรษฐีจากการขายตุ๊กตา Molly ราคา 300 กว่าบาท ทั่วจีน

Pop Mart ร้านขายของเล่น Art Toys ชื่อดัง ที่ชั่วโมงนี้ไม่มีนักสะสมคนไหนไม่รู้จัก พร้อมที่จะมุ่งไปทันทีหากมีการเปิดขายคอลเล็กชันตัวละครใหม่ จนต้องมีการลงทะเบียนเพื่อรับคิวในการเข้าซื้อกันเลยทีเดียว

SmartSME Line