วันพุธ, พฤษภาคม 8, 2567

PTG ลงทุน 35 ล้านบาท ซื้อแฟรนไชส์ Subway ตามแผนขยายธุรกิจให้ครอบคลุม

by Anirut.j, 7 มีนาคม 2567

บริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน) หรือที่เรารู้จักกันดีในปั๊มน้ำมัน PT ได้ส่งบริษัท จีเอฟเอ คอร์ปอเรชั่น (ไทยแลนด์) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อย เข้ามาลงทุนซื้อสิทธิ์ Subway แฟรนไชส์แซนด์วิชจากสหรัฐฯ ในสัดส่วน 70% คิดเป็นมูลค่า 35 ล้านบาท เพื่อสอดคล้องกับกลยุทธ์ของบริษัทที่ต้องการขยายบริการที่ไม่ใช่น้ำมันให้ครอบคลุมกับไลฟ์สไตล์ของผู้คนมากขึ้น

โดยการลงทุนมีวัตถุประสงค์ดำเนินธุรกิจในฐานะที่เป็นเจ้าของ Master Franchise ภายใต้ชื่อ และเครื่องหมายการค้า “Subway” และบริหารจัดการร้านอาหารภายใต้ชื่อ และเครื่องหมายการค้า “Subway” รวมทั้งบริการจัดการร้านอาหารในระบบแฟรนไชส์ภายใต้ชื่อ และเครื่องหมายการค้าอื่น ๆ ทั้งในส่วนที่เป็นชื่อ และเครื่องหมายการค้าของไทย และของต่างประเทศ รวมถึงการดำเนินงานในเรื่องอื่นใดทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ

สำหรับ Subway เปิดสาขาแรกในไทยที่สีลมเมื่อปี พ.ศ.2546 ปัจจุบัน Subway บริหารงานภายใต้ บริษัท อะเบาท์ แพสชั่น จำกัด (ABOUT PASSION COMPANY LIMITED) เปิดให้บริการร้านในหลากหลายทำเล เช่น ห้างสรรพสินค้า , คอมมูนิตี้มอลล์ , ปั๊มน้ำมัน , อาคารพาณิชย์ , รูปแบบ Stand Alone และการขายแฟรนไชส์ เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ในช่วงการแพร่ระบาดโควิด-19 พ.ศ.2562-2565 โดย Subway มีการปรับกลยุทธ์มากมาย ยกตัวอย่างเช่น จากขยายสาขาในห้างสรรพสินค้า อาคารสำนักงาน เปลี่ยนเป็นปั๊มน้ำมันแทน

เมื่อมองในมุมของ PTG แล้วจะเห็นได้ว่าแบรนด์สถานีบริการน้ำมันไม่ได้มองแค่บริการที่เกี่ยวกับน้ำมันต่อไป แต่ธุรกิจเริ่มมองหาบริการใหม่ ๆ เพื่อสร้างทางเลือก ความหลากหลายให้กับผู้คนที่มาใช้บริการ ซึ่งร้านอาหารถือเป็นตัวเลือกแรก ๆ ที่น่าสนใจ โดยที่ผ่านมาเราได้เห็นแบรนด์ร้านอาหาร/ฟาสต์ฟู้ดส์ เข้ามาอยู่ในสถานีบริการน้ำมันอยู่หลายแบรนด์ด้วยกัน

เมื่อวิเคราะห์ถึงแฟรนไชส์ Subway แล้ว แม้จะเป็นแฟรนไชส์ที่ประสบความสำเร็จในต่างประเทศ แต่ในประเทศไทยนั้นยังดูจะไม่ค่อยเท่าไหร่ด้วยปัจจัยหลาย ๆ ไม่ว่าจะเป็น

- ภาพลักษณ์แบรนด์ ที่อาจจะดูความเป็น Unique ค่อนข้างสูง กล่าวคือ หากผู้บริโภคที่ไม่ได้ชื่นชอบทานแซนด์วิชในลักษณะนี้ ก็ถือว่าไม่ตรงกลุ่ม ไม่ใช่ลูกค้าของซับเวย์อย่างแน่นอน

- ราคาที่ค่อนข้างแพงอยู่ เฉลี่ยแซนด์วิช 1 ชิ้น ราคาแตะหลักร้อยบาทขึ้นไป เมื่อเทียบกับ อาหารฟาสต์ฟู้ดค่ายอื่น ๆ ซึ่งได้ครบชุด ดูคุ้มค่าในการจ่ายกว่า แซนด์วิช เพียงชิ้นเดียว

- คู่แข่งที่หลากหลาย เช่น KFC, McDonald’s และอื่น ๆ ที่จัดโปรโมชันแข่งขันกันอย่างดุเดือด

แต่ Subway ก็มีรูปแบบอันเป็นเอกลักษณ์ คือเป็นร้านจำหน่ายแซนด์วิชและเครื่องดื่ม (ปัจจุบันมีเมนูอาหารอื่น ๆ เสริมเข้ามาด้วย) โดยแซนด์วิชลูกค้าสามารถ Customize ตั้งแต่เลือกประเภทขนมปัง, เลือกส่วนผสม, วัตถุดิบ, เลือกไส้, เลือกผัก, เลือกซอส, เนื้อสัตว์ ได้เอง

สุดท้ายต้องมารอดูกันว่า Subway ที่อยู่ในมือของ PTG จะเป็นอย่างไร

ที่มา: SET

เรื่องที่เกี่ยวข้อง


Mostview

ผลกระทบขึ้นค่าแรง 400 บาท อาจทำให้สินค้าขยับราคาขึ้น 15%

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้สำรวจความคิดเห็นภาคเอกชน ทั้งในภาคส่วนการผลิต การค้า และบริการ การปรับอัตราค่าแรงในแต่ละครั้งมักจะมีผลกระทบต่อทั้ง GDP เงินเฟ้อ ผลิตภาพแรงงาน รวมถึงอัตราการว่างงานทั้งบวกและลบ

KFC มาเลเซียปิดกว่า 100 สาขา เพราะถูกชาวมุสลิมคว่ำบาตรธุรกิจสัญชาติสหรัฐฯ

KFC แฟรนไชส์สัญชาติอเมริกันกำลังตกเป็นเป้าหมายการรณรงค์คว่ำบาตรธุรกิจของประเทศที่มีความเชื่อมโยงกับอิสราเอลที่ทำสงครามกับชาวปาเลสไตน์จนมีประชาชนเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก

Wang Ning เจ้าของ Pop Mart ผู้กลายมาเป็นเศรษฐีจากการขายตุ๊กตา Molly ราคา 300 กว่าบาท ทั่วจีน

Pop Mart ร้านขายของเล่น Art Toys ชื่อดัง ที่ชั่วโมงนี้ไม่มีนักสะสมคนไหนไม่รู้จัก พร้อมที่จะมุ่งไปทันทีหากมีการเปิดขายคอลเล็กชันตัวละครใหม่ จนต้องมีการลงทะเบียนเพื่อรับคิวในการเข้าซื้อกันเลยทีเดียว

นี่คือเหตุผล เพราะอะไรการทำงานหนักไม่การันตีว่าจะประสบความสำเร็จเสมอไป

ทุกคนมักคิด และถูกปลูกฝังมาตลอดว่าให้ทำงานหนักเข้าไว้ แล้วผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นไปตามที่ตั้งเป้าไว้ แต่นี่อันเป็นความเชื่อที่ผิดก็ได้ หากเราตั้งข้อสงสัยว่า “ความหมายการทำงานหนักที่แท้จริงคืออะไร?” ทำไมผู้คนต่างทำตาม และดิ้นรนให้เกิดขึ้นจริง

SmartSME Line