วันเสาร์, เมษายน 27, 2567

สรรพากรจับมือศุลกากร เล็งใช้ Big Data จัดเก็บภาษี

by Smart SME, 24 กันยายน 2561

กรมสรรพากรจับมือกับศุลกากร ยกระดับการจัดเก็บภาษีผ่าน Big Data แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน นำมาวิเคราะห์จับตากลุ่มผู้หลีกเลี่ยงภาษี กรมสรรพากรและกรมศุลกากร รองรับนโยบายของรัฐบาลในการบูรณาการข้อมูลขนาดใหญ่ระหว่างหน่วยงานภาครัฐ เพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูลให้เกิดประโยชน์ในการบริหารการจัดเก็บภาษีอากร ภายใต้กระแสโลกยุคดิจิทัล และสอดคล้องกับนโยบาย Thailand 4.0 ทำให้มีข้อมูลภาษีอยู่ในระบบ สร้างความโปร่งใส และอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนได้มากขึ้น ​นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า ความร่วมมือในครั้งนี้ เพื่อนำ Big Data จากเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในกระบวนการทำงาน หรือเรียกว่า Digital Transformation หวังเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการจัดเก็บภาษีอากร ควบคู่กับการยกระดับการให้บริการและสนับสนุนผู้ประกอบการในการดำเนินธุรกิจ ให้มีศักยภาพในเวทีเศรษฐกิจระดับโลก  โดยการเชื่อมโยงข้อมูลทั้งสรรพากรและกรมศุลกากร ที่มีการระบุรายชื่อผู้เสียภาษีนำเข้าและส่งออก  เพื่อแบ่งประเภทผู้เสียภาษีอย่างถูกต้อง และแบ่งกลุ่มประเภทมีความเสี่ยงต้องจับตาเป็นพิเศษ ช่วยวางรากฐานประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษีอากร ควบคู่กับการยกระดับการให้บริการและสนับสนุนผู้ประกอบการในการดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง  สำหรับรายได้ภาษีในปี 61 คาดว่าเกินเป้าหมาย 1.86 ล้านล้านบาท และคาดว่าการจัดเก็บภาษีในปีงบประมาณ 2562 จะทำได้เพิ่มขึ้น ด้านนายกุลิศ สมบัติศิริ อธิบดีกรมศุลกากร กล่าวว่า  ชี้เเจงว่า กรมศุลกากรถือเป็นหน้าด่านในการจัดเก็บภาษีนำเข้าเฉลี่ย 2 หมื่นตู้คอนเทนเนอร์ BTU ต่อวัน  เป็นยอดการจัดเก็บภาษีศุลกากรสัดส่วนร้อยละ 19 และอีกร้อยละ 81 เป็นการจัดเก็บให้กับภาษีให้กับหน่วยงานอื่น เช่นภาษีให้กับกรมสรรพากรถึงร้อยละ 60  ความร่วมมือในครั้งนี้ ทำให้การสืบค้าข้อมูลของผู้เสียภาษี ไม่เหวี่ยงแห่ หรือทำการสุ่มตรวจอีกต่อไป เนื่องจากการทำ Big Data จะทราบเส้นทางการเสียภาษีได้จากขั้นตอนการตรวจสอบในใบขนส่งสินค้าแต่ละประเภท เพื่อประเมินความเสี่ยงในการหลบเลี่ยงภาษีหรือการแอบลักลอบนำของเข้ามาขายในประเทศ

Mostview

หนุ่มอายุ 25 ปี ใช้ AI สร้างรายได้เกือบ 2 ล้านบาท ใช้เวลาแค่ 2 เดือน

เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ถูกพูดถึงอย่างในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่ามา และคาดการณ์ว่าจะเข้ามามีบทบาทเป็นส่วนหนึ่งของการทำธุรกิจต่อไปในวันข้างหน้า

เปิดธุรกิจที่ได้รับประโยชน์ หากเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท เริ่มใช้งาน

ผลสำรวจบอกผู้มีสิทธิ์ใช้เงินดิจิทัลวอลเล็ต จะเลือกใช้จ่ายร้านค้าท้องถิ่น 40% รองลงมาเป็นร้านสะดวกซื้อ เช่น CJ, 7-Eleven 26%

ธุรกิจอีคอมเมิร์ซมาแรง คนไทยซื้อผ่านแพลตฟอร์ม 67% คาดมูลค่าปี 2567 แตะ 7 แสนล้านบาท

ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เผยว่าธุรกิจอีคอมเมิร์ซมาแรงต่อเนื่อง โตแบบฉุดไม่อยู่ ปี 2566 มีมูลค่า 6.34 แสนล้านบาท คาดการณ์ปี 2567 มูลค่าแตะ 7 แสนล้านบาท และปี 2568 มูลค่าทะลุ 7.5 แสนล้านบาท

จับตาราคา “เนย” เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในตลาดโลกใกล้แตะระดับสูงสุดเท่าทีเคยมีมา

ไม่ใช่ “โกโก้” เท่านั้นที่ราคาพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์จากปัจจัยเรื่องของสภาพอากาศที่เลวร้าย และโรคที่มากับพืชจนส่งผลกระทบต่อแหล่งเพาะปลูก ทำให้ได้ผลผลิตน้อย นำมาสู่การปรับราคาของสินค้าที่มี “โกโก้” เป็นส่วนผสม ซึ่งคาดการณ์ว่าราคาจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ

SmartSME Line