วันศุกร์, เมษายน 26, 2567

แก้ปัญหา SME ติดหล่ม ขาดหลักทรัพย์-ไร้บัญชี

by Smart SME, 29 กันยายน 2561

ธุรกิจรายจิ๋วติดหล่มขาดหลักทรัพย์-ไร้บัญชี  เข้าไม่ถึงสินเชื่อ ด้าน ธพว.พร้อมใช้แพลตฟอร์ม  SME D Bank   แก้โจทย์ ทำงานเชิงรุก ธนวรรธน์ พลวิชัย รองอธิการบดีอาวุโสวิชาการและงานวิจัย และผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ  มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เผยการสำรวจหัวข้อ “การเข้าถึงสินเชื่อของ SMEs ไทย” พบว่า ในช่วง 3-5 ปีที่ผ่านมามีความต้องการขอสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องร้อยละ 56.23 ยื่นขอจากธนาคารพาณิชย์ร้อยละ 41.21  ธนาคารของรัฐร้อยละ 30.80 นายธนวรรธน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ผู้ประกอบการกังวลว่า ในปี 62 ถึงกำหนดต้องจัดทำบัญชีเดียว จึงเป็นข้อกังวลของผู้ประกอบการรายเล็ก แต่ในส่วนของเอสเอ็มอีพร้อมพัฒนาปรับบัญชีให้มีมาตรฐาน การทำบัญชีเดียวซึ่งมีผลต่อการขอสินเชื่อในอนาคตนั้นพบว่า SME ขนาดเล็กไม่มีการทำบัญชีเลยถึงร้อยละ 10.95  ขณะที่ SME ที่ไม่ใช่นิติบุคคล ไม่ได้ทำบัญชีถึงร้อยละ 12.10  สาเหตุที่ไม่ทำบัญชีเนื่องจาก “ลืม” ไม่มีเวลาทำ มองว่าไม่ได้เอาไปใช้อะไร เสียเวลาจัดทำ ไม่รู้ว่าทำบัญชีอย่างไร และเอกสารไม่ครบถ้วน นายมงคล  ลีลาธรรม   กรรมการผู้จัดการ  ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Development Bank หรือ ธพว.)  กล่าวว่า จากผลสำรวจดังกล่าว ชี้ให้เห็นว่า ผู้ประกอบการ SME ขนาดเล็ก ที่มีจำนวนกว่า 3 ล้านราย โอกาสเข้าถึงสินเชื่อยากกว่าขนาดกลาง รวมถึงยังมีความต้องการให้การเข้าถึงสินเชื่อสะดวกยิ่งขึ้น และธนาคารของรัฐจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนวิธีการทำงาน เพื่อให้ผู้ประกอบการ SME นึกถึงเป็นอันดับแรกเมื่อต้องการกู้เงิน ดังนั้น ธพว.ได้ยกระดับการทำงานเชิงรุก เป็นฝ่ายเดินเข้าไปอำนวยสินเชื่อให้แก่ผู้ประกอบการเอง ผ่านแพลตฟอร์ม SME D Bank แอปพลิเคชันบริการครบวงจรเพื่อเอสเอ็มอีไทย ทำงานควบคู่กับหน่วยบริการเคลื่อนที่ “รถม้าเติมทุน ส่งเสริม SMEs ไทย ฉับไว ไปถึงถิ่น” โดยกระบวนการหลังจากโหลดแอปพลิเคชั่น SME D Bank  แล้ว ผู้ประกอบการสามารถยื่นขอสินเชื่อได้ทุกที่ทุกเวลา โดยข้อมูลการยื่นกู้จะส่งไปยังฐานข้อมูล จากนั้นเจ้าหน้าที่ธนาคารจะติดต่อกลับภายใน 3 วัน  เพื่อนัดหมายให้หน่วยรถม้าเติมทุนฯ  วิ่งเข้าไปพบ เพื่อดูข้อมูลเชิงประจักษ์การดำเนินธุรกิจจริง สามารถพิจารณาสินเชื่อได้โดยไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน ผู้ประกอบการรู้ผลได้ใน 7 วัน ด้วยวิธีการดังกล่าว จึงตอบโจทย์ให้ผู้ประกอบการรายย่อย ลดขั้นตอนการขอสินเชื่อ ช่วยให้เข้าถึงแหล่งทุนได้สะดวกสบาย และมากยิ่งขึ้น ขจัดข้อจำกัดเรื่องเวลาและสถานที่ไปอย่างหมดสิ้น อีกทั้ง ในแพลตฟอร์ม SME D Bank ยังมีเครื่องมือเสริมแกร่งธุรกิจ (Tools Box)  รวบรวมแอปพลิเคชัน และซอฟต์แวร์กว่า 140 รายการ และคลังข้อมูลความรู้สำหรับเอสเอ็มอี (e-Library) นับพันรายการ ช่วยยกระดับความสามารถแก่เอสเอ็มอี โดยเฉพาะด้านการบัญชี  ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการเพิ่มพูนความรู้  เพิ่มโอกาสเข้าถึงแหล่งทุน และพร้อมรับการต้องทำบัญชีเดียวในอนาคตอันใกล้ นับตั้งแต่เปิดตัวแพลตฟอร์ม SME D Bank เมื่อกลางเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา นับว่าประสบความสำเร็จอย่างสูง มียอดดาวน์โหลดแล้วมากกว่า 35,000 ดาวน์โหลด

Mostview

หนุ่มอายุ 25 ปี ใช้ AI สร้างรายได้เกือบ 2 ล้านบาท ใช้เวลาแค่ 2 เดือน

เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ถูกพูดถึงอย่างในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่ามา และคาดการณ์ว่าจะเข้ามามีบทบาทเป็นส่วนหนึ่งของการทำธุรกิจต่อไปในวันข้างหน้า

เปิดธุรกิจที่ได้รับประโยชน์ หากเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท เริ่มใช้งาน

ผลสำรวจบอกผู้มีสิทธิ์ใช้เงินดิจิทัลวอลเล็ต จะเลือกใช้จ่ายร้านค้าท้องถิ่น 40% รองลงมาเป็นร้านสะดวกซื้อ เช่น CJ, 7-Eleven 26%

ธุรกิจอีคอมเมิร์ซมาแรง คนไทยซื้อผ่านแพลตฟอร์ม 67% คาดมูลค่าปี 2567 แตะ 7 แสนล้านบาท

ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เผยว่าธุรกิจอีคอมเมิร์ซมาแรงต่อเนื่อง โตแบบฉุดไม่อยู่ ปี 2566 มีมูลค่า 6.34 แสนล้านบาท คาดการณ์ปี 2567 มูลค่าแตะ 7 แสนล้านบาท และปี 2568 มูลค่าทะลุ 7.5 แสนล้านบาท

SmartSME Line