วันศุกร์, พฤษภาคม 17, 2567

กสทช.เล็งยกเลิกค่าไลเซ่น 10,000 ล้าน ช่วยทีวีดิจิทัล

by Anirut.j, 4 ธันวาคม 2561

“กสทช.”เปิดแผนเยียวยา ทีวีดิจิทัล ยอมรับ รับประเมินตลาดทีวีผิดพลาด เตรียมดึงคลื่น 700 จากทีวีดิจิทัล ออกประมูล 5G ปี 62 นำเงินช่วยเหลือผู้ประกอบการทีวีดิจิทัล ทั้ง ลดค่าเช่าโครงข่าย 50% และ ล้างค่าใบอนุญาตที่เหลืออีกหมื่นล้านบาท

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. เปิดเผยว่า กสทช.เตรียมแผนเยียวยาแก้ไขปัญหาทีวีดิจิทัล ในปี 2562 ที่จะถึงนี้ จากปัญหาของอุตสาหกรรมทีวีดิจิทัลที่เกิดขึ้นอย่างหนักในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งการประมูลทีวีดิจิทัลเมื่อ 5 ปีที่แล้ว ส่วนหนึ่งยอมรับว่าการประเมินสภาพอุตสาหกรรมในขณะนั้น ไม่ตรงกับสภาพการแข่งขันที่เปลี่ยนแปลง ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี เกิดเทคโนโลยี ดิสรัปชั่นในอุตสาหกรรมโทรทัศน์ และการใช้งานบริการโซเชียลมีเดีย และการแพร่ภาพกระจายเสียง ผ่านโครงข่ายอินเทอร์เน็ต หรือไม่ใช่เครือข่ายกระจายเสียง (โอเวอร์ เดอะ ท๊อป หรือ โอทีที) ทำให้ผู้ประกอบการหลายช่องไม่สามารถประกอบธุรกิจอยู่ได้

ดังนั้น ในแผนงานปี 2562 สำนักงานกสทช.จะหาวิถีแก้ไขปัญหาทีวีดิจิทัลในระยะยาว ประกอบด้วย 4 แนวทาง ดังนี้

1.เร่งรัดปรับปรุงการใช้งานคลื่นความถี่ย่าน 700 เมกะเฮิรตซ์ เพื่อนำไปใช้ประกอบกิจการโทรคมนาคมให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด รวมทั้งเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการปรับปรุงคลื่นความถี่ดังกล่าว ได้แก่ ผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ในระบบดิจิทัล และผู้ให้บริการโครงข่ายโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิทัลอย่างเป็นธรรม

2.สนับสนุนการดำเนินการของผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลในส่วนของค่าภาระอันเกิดจากการปฏิบัติตามประกาศ Must Carry จนถึงปี 2565

3.สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการออกอากาศผ่านโครงข่ายโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล (MUX) เพื่อสนับสนุนผู้ให้บริการโทรทัศน์ดิจิทัล 50% ของค่าเช่าโครงข่ายจนถึงปี 2565 

4. สนับสนุนให้มีการสำรวจความนิยม (เรตติ้ง) ของผู้ให้บริการโทรทัศน์ดิจิทัลที่ออกอากาศผ่านโครงข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อสามารถนำเอาข้อมูลการสำรวจความนิยมรายการดังกล่าวไปใช้อ้างอิงเพื่อหารายได้ได้อย่างเป็นธรรม

ดังนั้น ในเดือนก.พ.2562 กสทช.จะจัดประมูลคลื่น 700 เมกะเฮิรตซ์ให้แก่ผู้ประกอบการโทรคมนาคม และสลับคลื่น 470 เมกะเฮิร์ตซ์มาให้กับผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลใช้แทน

โดยคลื่นความถี่ย่าน 700 ดังกล่าว ปัจจุบันมีอยู่จำนวน 45 เมกะเฮิรตซ์ จะแบ่งความถี่ออกเป็น 3 ใบอนุญาตคือ 10 เมกะเฮิรตซ์ 1 ใบ 15 เมกะเฮิรตซ์ 1 ใบและ 20 เมกะเฮิรตซ์ 1 ใบ ซึ่งจากการประเมินราคาคลื่น 700 นั้น พบว่าราคาเริ่มต้นจะอยู่ที่ 14,000 ล้านบาทต่อ 10 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งหากประมูลคลื่นได้หมดก็เข้ามา 40,000-50,000 ล้านบาท ซึ่งก็จะสามารถนำมาช่วยเหลือทีวีดิจิทัลได้

ในแผนงานของ กสทช.ในการจะขับเคลื่อน 5 จี ให้เกิดได้ในปี 2563 กสทช.ได้กำหนดหลักเกณฑ์การประมูลคลื่นความถี่หลายย่านพร้อมกัน (Multiband) ในการต่อยอดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ เช่น
ประมูลคลื่นความถี่ย่าน 700 เมกะเฮิรตซ์พ่วงกับ 2600 เมกะเฮิรตซ์, 3500 เมกะเฮิรตซ์พ่วงกับ 26 กิกะเฮิรตซ์ หรือ 28 กิกะเฮิรตซ์ แต่ในส่วนของคลื่น 700 นั้นอาจจะไม่พ่วงกับคลื่น 2600 เมกะเฮิรตซ์ตามที่ระบุข้างต้น เนื่องจากคลื่น 2600 ยังอยู่ที่การครอบครองของบมจ.อสมท จำนวน 140 เมกะเฮิรตซ์ จึงจะต้องเรียกคืนคลื่นความถี่ก่อน ดังนั้นคลื่น 700 ที่จะประมูลในเดือนก.พ.ปี 2562 จะพ่วงกับคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ที่คงเหลืออยู่ 35 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งก็จะมีการประมูลโดยพ่วงกันไป
ทั้งนี้ กสทช.มองว่า ทีวียังเป็นสื่อที่สำคัญกับประชาชน มีความจำเป็นขั้นพื้นฐาน

นอกจากนี้ในการเยียวยาทีวีดิจิทัล กสทช. มีช่องทางช่วยเหลือในส่วนที่ทีวีดิจิทัลยังต้องชำระเงินค่าประมูลใบอนุญาตส่วนที่เหลืออีก 30% มูลค่าประมาณ 10,000 กว่าล้านบาท ซึ่งหากผลการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 700 เมกะเฮิรตซ์ออกมา ต้องพิจารณาว่าสามารถช่วยให้ผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลไม่ต้องชำระเงินค่าใบอนุญาตส่วนที่เหลือได้หรือไม่ โดยนำเงินจากการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 700 เมกะเฮิรตซ์มาช่วยเหลือ

ทั้งนี้แนวทางการช่วยเหลือทีวีดิจิทัลตามที่ กสทช. เสนอไป เชื่อว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาได้ในระยะยาว โดยไม่อยากให้มีการปิดกิจการหรือเอาคนออก เพราะจะกระทบกับเศรษฐกิจโดยรวม


Mostview

คนไทย 30% ไม่มีเงินเก็บสำหรับการเกษียณ และ 60% มีเงินเก็บไม่ถึง 200,000 บาท

ภายในงาน KKP Financial Talk: Money Master #เรื่องเงินอย่าปล่อยให้รู้งี้ ซึ่งมีการพูดถึงปัญหาและคำแนะนำให้กับ Sandwich Generation ผู้แบกภาระการดูแลทั้งคนรุ่นก่อน และรุ่นหลังไว้ ในขณะที่เศรษฐกิจไม่เกื้อหนุนให้พวกเขาได้สบายขึ้น

กล้าพอไหม! Airbnb เปิดให้เข้าพักบ้านลอยฟ้า มีลูกโป่งกว่า 8,000 ใบ โยงติดอยู่บนหลังคา

หากอยากจะทำอะไรตื่นเต้นต้องมาทางนี้ เมื่อ Airbnb แพลตฟอร์มจองที่พักได้เปิดตัวโปรเจคต์ “Icon” เพื่อสร้างประสบการณ์พักผ่อนให้กับลูกค้า เปลี่ยนสิ่งที่เป็นเรื่องมหัศจรรย์ให้กลายเป็นความจริง

ซีพีออลล์ ทำรายได้ไตรมาส 1/2567 รวม 241,307 ล้านบาท กำไรสุทธิ 6,319 ล้านบาท

บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) รายงานผลประกอบการในไตรมาส 1/2567 พบว่าบริษัทมีรายได้รวม 241,307 ล้านบาท มีกำไรสุทธิ 6,319 ล้านบาท

SmartSME Line