วันพุธ, พฤษภาคม 8, 2567

กู๊ดเยียร์ ย้ายฐานผลิตออกจากเวเนฯ พร้อมแจกยาง 10 เส้นชดเชยเลิกจ้าง

by Phawanthaksa, 12 ธันวาคม 2561

สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานว่า กู๊ดเยียร์ บริษัทยางรถยนต์ชื่อดังของโลก ย้ายฐานการผลิตออกจากเวเนซูเอลา และปลดพนักงานเมื่อวันจันทร์ที่ 10 ธ.ค. 61 ที่ผ่านมา พร้อมจ่ายเงินค่าชดเชยให้แก่พนักงานกว่า 1,200 คนและแจกล้อยาง 10 เส้น ซึ่งมีค่ามหาศาล เนื่องจากเป็นสิ่งที่ประเทศกำลังขาดแคลน

โดยปีนี้ ถือเป็นปีแห่งความวุ่นวายทางเศรษฐกิจของเวเนฯ มากที่สุด เพราะบริษัทลงทุนจากต่างชาติต่างทยอยย้ายฐานผลิต เช่น เคลลอค (Kellogg) คิมเบอร์ลีย์ คลาร์ก (Kimberley Clark) เนื่องจากภาวะเงินด้อยค่า ผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจในรูปแบบสกุลเงินท้องถิ่นจึงขาดความมั่นคง

ปัจจุบันประเทศเวเนซุเอลากำลังเผชิญวิกฤติปัญหาเงินเฟ้อ 80,000% และคาดว่าจะขยับไปถึง 1,000,000%

ปัญหาที่เกิดขึ้นต้องย้อนไปเมื่อปี 1976 การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของอุตสาหกรรมน้ำมันในเวเนฯ ที่ประธานาธิบดีคาร์ลอส เปเรซ ออกนโยบายยึดธุรกิจพลังงานเอกชน กลับมาเป็นของรัฐฯ และตั้งหน่วยงาน Petroleos de Venezuela S.A. เพื่อควบคุมกิจการพลังงานในประเทศทั้งหมด และหมุนกลับให้ประชาชนผ่านโครงการต่างๆ จนชาวเวเนซุเอลาเสพติดการได้เงินสบายๆ โดยไม่รู้ตัว

โดยเฉพาะในปี 1999 ยุคของรัฐบาลฮูโก้ ชาเวซ ที่มีการแจกเงินอย่างไร้ประสิทธิภาพ เช่น โครงการบ้านพักราคาต่ำกว่าท้องตลาด สินค้าถูกกว่าทุน แต่ก็อยู่ได้เพราะมีเงินจากน้ำมันมาอุดหนุน ซึ่งสวนทางกับธุรกิจส่วนใหญ่ที่อยู่ไม่ได้และปิดตัวไป หรือถูกรัฐมาควบคุมการผลิตของขายเอง รวมถึงการตรึงราคาสินค้าบางตัว แล้วนำมาขายกันในตลาดมืด

ปี 2014 ราคาน้ำมันลดลง ทำให้กระทบต่อรายได้ของเวเนฯ ที่ผูกไว้กับน้ำมันเกือบ 100% ปี 2016 ราคาน้ำมันยังคงลดลงต่อเนื่อง ทำให้สถานการณ์ในประเทศเข้าขั้นวิกฤต เมื่อรัฐไม่มีเงินมาจ่ายเงินเดือนพนักงาน ถึงขั้นต้องให้หยุดงาน และมาทำแค่สัปดาห์ละ 2-3 วัน การล่มสลายทางเศรษฐกิจ ส่งผลให้ประเทศเวเนซุเอลามีคนแค่ 2 ชนชั้น คือคนรวยมาก และคนจนที่ไม่มีอันจะกิน แม้แต่ชนชั้นกลางก็เริ่มกลายมาเป็นคนจน

ต่อมารัฐบาลมาดูโร่ พยายามแก้ปัญหาเงินเฟ้อหลายวิธี เช่น การเพิ่มเงินเดือนขั้นต่ำ 30 เท่า การสร้างเงินสกุลใหม่ที่มีค่ามากกว่าเงินสกุลเดิม 100,000 เท่า แต่ก็ไม่เป็นผล ทำให้คนจนในเวเนฯ ในปัจจุบันต้องเลือกระหว่าง จะเป็นพวกแบมือขอ หรือดิ้นรนไปตายเอาดาบหน้า เพราะกว่า 4 ล้านคน จากทั้งหมดราว 32 ล้านคน ได้ลี้ภัยไปยังประเทศเพื่อนบ้านอย่างบราซิล หรือโคลัมเบีย

ซึ่งการย้ายฐานผลิตของกู๊ดเยียร์ครั้งนี้ นับเป็นอีกหนึ่งผลพวงจากการบริหารประเทศที่ผิดพลาด จนเกิดวิกฤติเงินเฟ้อที่พุ่งสูง


Mostview

ผลกระทบขึ้นค่าแรง 400 บาท อาจทำให้สินค้าขยับราคาขึ้น 15%

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้สำรวจความคิดเห็นภาคเอกชน ทั้งในภาคส่วนการผลิต การค้า และบริการ การปรับอัตราค่าแรงในแต่ละครั้งมักจะมีผลกระทบต่อทั้ง GDP เงินเฟ้อ ผลิตภาพแรงงาน รวมถึงอัตราการว่างงานทั้งบวกและลบ

KFC มาเลเซียปิดกว่า 100 สาขา เพราะถูกชาวมุสลิมคว่ำบาตรธุรกิจสัญชาติสหรัฐฯ

KFC แฟรนไชส์สัญชาติอเมริกันกำลังตกเป็นเป้าหมายการรณรงค์คว่ำบาตรธุรกิจของประเทศที่มีความเชื่อมโยงกับอิสราเอลที่ทำสงครามกับชาวปาเลสไตน์จนมีประชาชนเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก

นี่คือเหตุผล เพราะอะไรการทำงานหนักไม่การันตีว่าจะประสบความสำเร็จเสมอไป

ทุกคนมักคิด และถูกปลูกฝังมาตลอดว่าให้ทำงานหนักเข้าไว้ แล้วผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นไปตามที่ตั้งเป้าไว้ แต่นี่อันเป็นความเชื่อที่ผิดก็ได้ หากเราตั้งข้อสงสัยว่า “ความหมายการทำงานหนักที่แท้จริงคืออะไร?” ทำไมผู้คนต่างทำตาม และดิ้นรนให้เกิดขึ้นจริง

เศรษฐกิจไม่ดี! KFC-Pizza Hut ในจีน ดึงกลยุทธ์สุดฤทธิ์เรียกลูกค้า เพื่อให้ธุรกิจอยู่รอด

Yum China Holdings เจ้าของ KFC และ Pizza Hut เชนร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดในจีน วางแผนที่จะเปิดสาขาเพิ่มในพื้นที่ที่ยังไม่เคยเปิด โดยใช้กลยุทธ์ขายเมนูในราคาต่ำเพื่อดึงลูกค้าเข้ามาในจำนวนมาก

SmartSME Line