วันอังคาร, พฤษภาคม 14, 2567

ภาษีที่ SME ควรต้องรู้...ก่อนเริ่มดำเนินธุรกิจ (ตอนที่ 14)

by ดร.สกล อยู่วิทยา, 15 มกราคม 2562

ข้อพิจารณาของการหักค่าใช้จ่ายของเงินได้จากวิชาชีพอิสระ (เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 6)

เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 6 เป็นเงินได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระ ซึ่งกฎหมายกำหนดไว้ 6 ประเภท ได้แก่ วิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลปะ วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี และประณีตศิลปกรรม โดยกฎหมายกำหนดให้เลือกหักค่าใช้จ่ายได้ ดังนี้

1.เงินได้จากการประกอบโรคศิลปะ เช่น แพทย์ พยาบาล เภสัชกรรม เทคนิคการแพทย์ ให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาในอัตราร้อยละ 60

2.เงินได้จากวิชาชีพอิสระนอกจากข้อ 1. ให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาในอัตราร้อยละ 30

โดยมีข้อที่จะต้องพิจารณา คือ จะต้องเป็นการประกอบวิชาชีพเอง ถึงจะเป็นไปตามเงื่อนไขนี้ ไม่ใช่ไปเป็นลูกจ้างซึ่งได้รับค่าตอบแทนในรูปของเงินเดือน ค่าจ้าง ซึ่งถือเป็นเงินได้จากการจ้างแรงงาน (เป็นเงินได้ประเภทที่ 1 ตามมาตรา 40 (1) ) หรือไม่ได้เป็นลูกจ้างแต่ได้รับค่าตอบแทนเป็นจำนวนเงินแน่นอน ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความยากง่ายของงานที่ทำ ซึ่งถือเป็นเงินได้จากการรับทำงานให้ (เป็นเงินได้ประเภทที่ 2 ตามมาตรา 40 (2) ) ซึ่งเงินได้ทั้ง 2 ประเภทดังกล่าวกฎหมายกำหนดให้หักค่าใช้จ่ายแบบเหมา ทั้งเงินได้ประเภทที่ 1 และเงินได้ประเภทที่ 2 รวมกันได้เพียงร้อยละ 50 และเป็นจำนวนเงินรวมกันไม่เกิน 100,000 บาท เท่านั้น

สำหรับความแตกต่างของค่าตอบแทนที่ผู้ประกอบโรคศิลปะได้รับจะถือเป็นเงินได้ประเภทใดนั้น กรมสรรพากรได้ทำหนังสืออธิบายไว้ ดังนี้

(1)กรณีผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบโรคศิลปะทำงานในสถานพยาบาลของรัฐหรือเอกชน โดยได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเดือนหรือค่าจ้าง ค่าตอบแทนที่ได้รับถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร

(2)กรณีผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบโรคศิลปะตาม (1) มีรายได้พิเศษจากสถานพยาบาลที่ตนทำงานอยู่ เช่น เงินค่าล่วงเวลาจากการเข้าเวร หรือค่าตอบแทนพิเศษในการรักษาผู้ป่วย เป็นต้น ค่าตอบแทนที่ได้รับถือเป็นเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร

(3)กรณีผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบโรคศิลปะตาม (1) ไปทำงานเป็นครั้งคราวในสถานพยาบาลอีกแห่งหนึ่งโดยได้รับค่าตอบแทนหรือค่าจ้างจากการทำงานเป็นจำนวนแน่นอนในแต่ละเดือน ไม่ว่าหน้าที่หรือตำแหน่งงานหรืองานที่รับทำให้นั้นจะเป็นงานประจำหรือชั่วคราว ค่าตอบแทนที่ได้รับถือเป็นเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 (2) แห่งประมวลรัษฎากร

(4)กรณีผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบโรคศิลปะทำสัญญาหรือข้อตกลงพิเศษกับสถานพยาบาลที่ตนทำงานอยู่เพื่อประกอบโรคศิลปะเป็นการส่วนตัวนอกเวลาทำการปกติ โดยการรับตรวจและรักษาผู้ป่วย และมีข้อตกลงแบ่งเงินที่ตนได้รับจากผู้ป่วยให้แก่สถานพยาบาลเป็นลายลักษณ์อักษรค่าตอบแทนที่ได้รับถือเป็นเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 (6) แห่งประมวลรัษฎากร

(5)กรณีผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบโรคศิลปะทั้งที่ทำงานประจำและมิได้ทำงานประจำในสถานพยาบาลของรัฐหรือเอกชน แต่ประกอบโรคศิลปะโดยการรับตรวจและรักษาผู้ป่วยที่ตนนำเข้ามารักษาที่สถานพยาบาลอีกแห่งหนึ่งเป็นครั้งคราว ค่าตอบแทนที่ได้รับถือเป็นเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 (6) แห่งประมวลรัษฎากร

(6)กรณีผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบโรคศิลปะมีเงินได้จากการเปิดสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลเป็นของตนเองเฉพาะที่ไม่มีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืน ค่าตอบแทนที่ได้รับถือเป็นเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 (6) แห่งประมวลรัษฎากร

ดังนั้น การหักค่าใช้จ่าย จะหักได้มากหรือได้น้อยก็ขึ้นอยู่กับประเภทของเงินได้ดังที่ได้กล่าวมานี้ครับ

แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้ที่ [email protected]

ดร.สกล อยู่วิทยา
ดร.สกล อยู่วิทยา ผู้เชี่ยวชาญด้านกฏหมายภาษีอากร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ธรรมสมจิตร์ จำกัด (ที่ปรึกษาด้านธุรกิจ การตลาด และกฎหมาย) บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต สาขาการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์ คณะพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

Mostview

4 สิ่งของคนเลี้ยงลูกประสบความสำเร็จไม่เคยสอนตอนเมื่อลูกยังเล็ก

ครอบครัวถือเป็นสถาบันหลักสำคัญในการสั่งสอนลูกว่าจะเป็นคนอย่างไร โดยช่วงเวลาที่ผ่านมาเราได้ยินว่าควรทำอย่างไรกับลูกของเรา และเรื่องไหนที่ไม่ควรทำกับลูกของเรา

แม็คโคร-โลตัส ไตรมาสแรกปี 2567 ทำรายได้รวม 127,020 ล้านบาท กำไรสุทธิ 2,481 ล้านบาท

บริษัท ซีพี แอ็กซ์ตร้า จำกัด (มหาชน) หรือ CPAXT เผยผลประกอบการในช่วงไตรมาส 1/67 พบว่ามียอดรายได้รวม 127,020 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6% เมื่อเทียบกับปีก่อน มีกำไรสุทธิ 2,481 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15% เมื่อเทียบกับปีก่อน

เกษตรกรเวียดนามไม่ทนหันปลูกทุเรียนส่งออกจีนแทนปลูกกาแฟที่ขาดแคลน แถมราคาถูกกว่า

ราคากาแฟโรบัสต้าทั่วโลกพุ่งแตะระดับสูงสุดเมื่อเดือนที่ผ่านมา โดยเวียดนามซึ่งเป็นผู้ผลิตเมล็ดกาแฟรายใหญ่ที่สุด กำลังต่อสู้กับภัยแล้ง รวมถึงเกษตรกรได้เปลี่ยนมาปลูกทุเรียนแทน

4 เดือนแรกปี 2567 มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าไทยกว่า 12 ล้านคน สร้างรายได้ 583,902 ล้านบาท

ข้อมูลจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เผยตัวเลขสถิตินักท่องเที่ยวต่างชาติในช่วง 4 เดือนแรก (ม.ค.-เม.ย.) ของปี 2567 พบว่ามีจำนวนสะสม 12,127,447 ล้านบาท เติบโต 39% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปีที่แล้ว และสร้างรายได้ 583,902 ล้านบาท

SmartSME Line