วันพุธ, พฤษภาคม 15, 2567

e-Marketplace คุณภควัต รักศรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

by Smart SME, 27 สิงหาคม 2557

e-Marketplace คือ ระบบตลาดกลางการซื้อ-ขาย แลกเปลี่ยนผลิตภัณฑ์บนเครือข่าย Internet ที่ผู้ซื้อจะสามารถเลือกซื้อหรือเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ที่ต้องการได้จากผู้ขายจำนวนมาก ขณะเดียวกันผู้ขายจะได้ประโยชน์จากการมีช่องทางการตลาด การจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ และโอกาสทางธุรกิจต่างๆ ที่เพิ่มขึ้น โดยปราศจากข้อจำกัดด้านเวลา สถานที่ และด้วยเงินลงทุนที่ต่ำกว่าการลงทุนในช่องทางการตลาดอื่นๆ

e-Marketplace จึงเป็นระบบที่ได้รับความนิยมสำหรับผู้ประกอบการและผู้ซื้อในทุกๆ อุตสาหกรรม ไม่เว้นแม้แต่ในอุตสาหกรรมการบริการ เช่น ธุรกิจโรงแรม หรือการท่องเที่ยว เป็นต้น

ด้วยเหตุนี้ โครงการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมไทยด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ (Enhancing SMEs Competitiveness Through IT)        หรือ ECIT จึงมอบหมายให้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา ที่มีความพร้อมด้านบุคลากร ประสบการณ์ และเทคโนโลยี เป็นหน่วยงานหลักของ ECIT ในการพัฒนาระบบ e-Marketplace เพื่อให้ผู้ประกอบการ SMEs ในอุตสาหกรรมต่างๆ ของไทย สามารถใช้บริการ e-Marketplace ได้ โดยมีต้นทุนค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่าระบบ e-Marketplace ของภาคเอกชน และที่สำคัญ คือ ผู้ประกอบการจะได้รับการพัฒนาทักษะและความรู้ด้าน IT ร่วมกับการใช้ระบบ e-Marketplace ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์กร

ทั้งนี้ คุณภควัต รักศรี ผู้เชี่ยวชาญทางด้าน E-supply Chain Management มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ กล่าวถึงความเป็นมาของ e-Marketplace ในโครงการ ECIT ดังนี้ “พระจอมเกล้าฯ เป็นพันธมิตรกับกระทรวงอุตสาหกรรม เมื่อ ECIT มีเป้าหมายพัฒนาระบบ e-Marketplace เมื่อ 7 ปีที่แล้ว จึงได้มอบหมายให้พระจอมเกล้าฯ ซึ่งมีนวัตกรรม บุคลากร และความพร้อม เป็นผู้พัฒนาและบริหารระบบ e-Marketplace ใน www.industry.in.th”

ปัจจุบัน e-Marketplace ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ยังได้พัฒนาให้มีความสามารถที่หลากหลายกว่าการเป็นระบบตลาดกลาง ที่มีเพียงสารบัญธุรกิจ (Business Directory) ประกาศความต้องการทางธุรกิจ (Trade Leads) และระบบการพัฒนา Website หรือ e-Catalog เท่านั้น หากแต่ได้พัฒนาให้ระบบ e-Marketplace เป็นระบบ e-Supply Chain ที่มีคุณสมบัติสนับสนุนการดำเนินธุรกิจในรูปแบบ e-Business ด้วยการเชื่อมโยงคำสั่งซื้อจาก e-Marketplace ไปยังระบบตรวจสอบสินค้าคงคลังและระบบบัญชีขององค์กรในลักษณะ Real Time ได้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น และเป็นที่ยอมรับของผู้ประกอบการ SMEs ไทย ที่ได้เข้ามาใช้บริการ e-Marketplace ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เป็นจำนวนมาก โดยมีมูลค่าการซื้อ-ขายภายในระบบไม่ต่ำกว่าเดือนละ 300 ล้านบาท

“ทุกวันนี้ ผู้ประกอบการที่ดีต้องมีความรู้ ความสามารถด้าน IT ในระดับหนึ่ง คือ อย่างน้อยต้องสามารถสร้างหรือพัฒนา Website ได้เอง จะหวังพึ่งพาบุคลากรด้าน IT เพียงอย่างเดียว อาจจะไม่ทันต่อการแข่งขัน ดังนั้น ผู้ประกอบการที่มีความประสงค์จะใช้งานระบบ e-Marketplace ของพระจอมเกล้าฯ จึงต้องผ่านการอบรมและสอบด้านการพัฒนา Website จากพระจอมเกล้าฯ โดยเสียค่าใช้จ่ายในลักษณะของเงินค้ำประกันจำนวน 2,000 บาท แต่เมื่ออบรมสำเร็จแล้ว และพัฒนา Website ด้วยตนเองได้แล้ว จะได้รับเงินจำนวนดังกล่าวคืน และในปีต่อๆ ไป ผู้ประกอบการจะเสียค่าใช้จ่ายเพียงค่า Domain name ของ Website ที่ได้พัฒนาขึ้นจากระบบ e-Marketplace ของพระจอมเกล้าฯ เท่านั้น โดยค่าใช้จ่ายอื่นๆ ทาง ECIT จะเป็นผู้สนับสนุนทั้งสิ้น”

จึงเป็นข้อมูล ข่าวสาร และโอกาสสำหรับผู้ประกอบการ SMEs ในอุตสาหกรรมต่างๆ ของไทย ที่จะเพิ่มโอกาสด้วยช่องทางการตลาดบน e-Marketplace พร้อมไปกับการพัฒนาระบบการดำเนินงานขององค์กร สู่รูปแบบธุรกิจ e-Business กับบริการต่างๆ ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ภายใต้การสนับสนุนของ ECIT

 

ทั้งนี้ ในวาระครอบรอบ 72 ปี กระทรวงอุตสาหกรรม ได้จัดมหกรรม Thailand Industry EXPO 2014 ที่ผู้ประกอบการ SMEs จะสามารถขอรับคำปรึกษาเกี่ยวกับการทำธุรกิจ หรือร่วมฝึกอบรมในหลักสูตรที่น่าสนใจต่างๆ จากผู้เชี่ยวชาญของกระทรวงอุตสาหกรรมได้ จัดที่อาคารชาเลนเจอร์ 1 อิมแพ็ค เมืองทองธานี ระหว่างวันที่ 26 - 31 สิงหาคม 2557 เวลา 10.00 - 20.00 น.


Mostview

4 สิ่งของคนเลี้ยงลูกประสบความสำเร็จไม่เคยสอนตอนเมื่อลูกยังเล็ก

ครอบครัวถือเป็นสถาบันหลักสำคัญในการสั่งสอนลูกว่าจะเป็นคนอย่างไร โดยช่วงเวลาที่ผ่านมาเราได้ยินว่าควรทำอย่างไรกับลูกของเรา และเรื่องไหนที่ไม่ควรทำกับลูกของเรา

แม็คโคร-โลตัส ไตรมาสแรกปี 2567 ทำรายได้รวม 127,020 ล้านบาท กำไรสุทธิ 2,481 ล้านบาท

บริษัท ซีพี แอ็กซ์ตร้า จำกัด (มหาชน) หรือ CPAXT เผยผลประกอบการในช่วงไตรมาส 1/67 พบว่ามียอดรายได้รวม 127,020 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6% เมื่อเทียบกับปีก่อน มีกำไรสุทธิ 2,481 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15% เมื่อเทียบกับปีก่อน

เกษตรกรเวียดนามไม่ทนหันปลูกทุเรียนส่งออกจีนแทนปลูกกาแฟที่ขาดแคลน แถมราคาถูกกว่า

ราคากาแฟโรบัสต้าทั่วโลกพุ่งแตะระดับสูงสุดเมื่อเดือนที่ผ่านมา โดยเวียดนามซึ่งเป็นผู้ผลิตเมล็ดกาแฟรายใหญ่ที่สุด กำลังต่อสู้กับภัยแล้ง รวมถึงเกษตรกรได้เปลี่ยนมาปลูกทุเรียนแทน

4 เดือนแรกปี 2567 มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าไทยกว่า 12 ล้านคน สร้างรายได้ 583,902 ล้านบาท

ข้อมูลจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เผยตัวเลขสถิตินักท่องเที่ยวต่างชาติในช่วง 4 เดือนแรก (ม.ค.-เม.ย.) ของปี 2567 พบว่ามีจำนวนสะสม 12,127,447 ล้านบาท เติบโต 39% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปีที่แล้ว และสร้างรายได้ 583,902 ล้านบาท

SmartSME Line