วันพฤหัสบดี, พฤษภาคม 16, 2567

ความร่วมมือเศรษฐกิจอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS)

by Smart SME, 20 เมษายน 2558

                            ความร่วมมือเศรษฐกิจอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS)

 

 ดร. สมชาย ภคภาสวิวัฒน์

 

กลุ่มประเทศอาเซียนที่เชื่อมโยงโดยผ่านแม่น้ำโขงมี 5 ประเทศและรวมกับตอนใต้ของจีนแทบยูนนานเป็น 6 ประเทศ ประกอบด้วย ไทย พม่า ลาว เวียดนาม กัมพูชา และทางตอนใต้ของจีนแทบยูนนาน ได้มีการจัดทำแผนความร่วมมือเชื่อมโยงเครือข่ายด้านสาธารณูปโภคพื้นฐานมากว่า 2 ทศวรรษ โดยเดิมนั้นโครงการดังกล่าวเรียกว่า 6 เหลี่ยมเศรษฐกิจ และภายหลังรู้จักในนามว่า Greater Mekong Subregion cooperation (GMS) หรือความร่วมมือในระดับอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง โครงการดังกล่าวเริ่มจากการทำแผนจังหวัดยุทธศาสตร์ของกระทรวงมหาดไทยซึ่งมีคุณอนันต์ อนันตกูล เป็นปลัดกระทรวงซึ่งได้ริเริ่มจัดทำแผนยุทธศาตร์จังหวัด 5 แห่ง ได้แก่ ภูเก็ต นครศรีธรรมราช ชลบุรี มุกดาหาร และเชียงราย ในกรอบยุทธศาสตร์ของจังหวัดเชียงรายก็ได้มีวิสัยทัศน์เชื่อมโยงจังหวัดเชียงรายเข้ากับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งก็คือต้นกำเนิดของ 6 เหลี่ยมเศรษฐกิจ ต่อมา ADB ได้ให้การสนับสนุนกับโครงการดังกล่าวและกลายเป็นนโยบายของรัฐบาลไทยซึ่งในยุคนั้นมีรองนายกฯ คือคุณศุภชัย พานิชภักดิ์ เป็นผู้ริเริ่มและให้การสนับสนุนจนกลายเป็นความร่วมมือของ 6 ประเทศ

            ความจริงแล้วโครงการนี้เป็นผลที่เกิดขึ้นจากตรรกะของการรวมกลุ่มในกรอบของเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี 1993 ซึ่งขณะนั้นมี 6 ประเทศ และในปี 1995-1999 กลุ่มประเทศที่เรียกว่า CLMV (กัมพูชา, ลาว, เมียนมาร์, เวียดนาม) ก็ได้เข้ามาเป็นสมาชิกของอาเซียนและเป็นส่วนหนึ่งของ AFTA โดยตรรกะของ FTA ซึ่งเท่ากับว่า สินค้าเข้าออกที่มีแหล่งกำเนิดในประเทศสมาชิกจะไม่ต้องเสียภาษีนำเข้าและไม่มีการกำหนดโควตา AFTA จึงเท่ากับการรวมกัน 10 ประเทศเป็นดินแดนเดียวกัน ดังนั้นจึงทำให้ประเทศที่มารวมกันมีความจำเป็นเชื่อมโยงสาธารณูปโภคพื้นฐานไม่ว่าจะเป็นด้านขนส่ง น้ำ การค้า อุตสาหกรรม และโลจิสติกส์

            ในปี 2003 จากการประชุมสุดยอดที่บาหลี ภายใต้ข้อตกลงบาหลี คองคอร์ด ผู้นำของทั้ง 10 ประเทศได้จัดตั้งประชาคมอาเซียนซึ่งมี 3 ประชาคม คือ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (APSC) ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASCC) และประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) โดยมีการกำหนดเป้าหมายเพื่อบรรลุในปี 2020 และในปี 2007 ได้มีการประชุมทีเมืองเซบู จึงมีการกำหนดให้ร่นจาก 2020 เป็น 2015 และเป็นที่เข้าใจในทุกวันนี้ว่า AEC 2015

            ในกรอบ AEC ข้อที่ 2 คือการส่งเสริมขีดความสามารถการแข่งขันและอีก 1 องค์ประกอบคือ การพัฒนาโครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานร่วมกัน และ GMS จึงกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของ AEC ซึ่งจะว่าไปแล้วเป็นโครงการที่พัฒนาต่อเนื่องมาก่อนหน้านี้และยิ่งเมื่อพม่าเปิดประเทศ โคงการดังกล่าวก็ยิ่งได้รับความสนใจและมีพลวัตรของการขับเคลื่อนที่รวดเร็วยิ่งขึ้น ภายใต้กรอบดังกล่าว แต่ละประเทศตกลงที่จะรับผิดชอบในการพัฒนาเครือข่ายสาธารณูปโภคพื้นฐานร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นการขนส่งทางน้ำ ทางบก และอื่น ๆ และแน่นอน เครือข่ายดังกล่าวย่อมทำให้เกิดการขยายตัวของเครือข่ายคมนาคม โลจิสติกส์ หรือเขตเศรษฐกิจจำเพาะ ซึ่งจะช่วยหนุนด้านการค้าและการลงทุนของประเทศในกรอบดังกล่าว ภายใต้ GMS จะมีกรอบเชื่อมโยงที่เรียกว่า ระเบียง (Corridors) 3 ระเบียง ระเบียงแรก เรียกว่า North-South ซึ่งมีการเชื่อมโยง 3 เส้น เริ่มจากยูนนาน ลาว พม่า จังหวัดพิษณุโลก กรุงเทพฯ เข้าประจวบ และไปเชื่อมโยงกับสามเหลี่ยมทางตอนใต้ (Indonesia-Malaysia-Thailand Growth Triangle : IMT-GT) ระเบียงที่ 2 คือ East-West เริ่มจาก แว้ ดานัง สุวรรณเขต เข้าอีสาน เชื่อมต่อพิษณุโลก กรุงเทพฯ ไปออกเมืองมะละแหม่ง และเมาะลำไยของพม่า ไปสู่กลุ่ม BIMST-EC ไปออกอินเดีย เชื่อมต่อไปสู่ตะวันออกกลางและยุโรป ระเบียงที่ 3 มี 4 เส้น South- South เริ่มจากกรุงเทพฯ ไปจบที่เวียดนาม บางเส้นจบที่หวุงเตา บางเส้นผ่านเสียมเรียบ บางเส้นผ่านตราดและเกาะกง การเชื่อมโยงของ Corridors ดังกล่าวทำให้เกิดการขยายตัวของเมือง เปรียบเสมือน BTS เพราะทำให้เกิดการขยายของเขตเศรษฐกิจจำเพาะ โดยเฉพาะบริเวณรอบต่อ เช่น แม่สอด แม่สายกับเมียวดี หนองคายกับลาว ตราด เกาะกงกับกัมพูชา จะเห็นได้ว่าการเชื่อมต่อทำให้เกิดการขยายตัวของการค้าและการลงทุน จึงไม่น่าแปลกใจว่าที่ดินแทบอีสาน ภาคเหนือ ภาคกลาง นอกกรุงเทพฯ ประจวบ ทางภาคใต้ ขึ้นอย่างมหาศาล จังหวัดที่อยู่ในกรอบของเส้นทางดังกล่าว โดยเฉพาะพิษณุโลก ราคาที่ดินขึ้นถึง 1000%

            GMS จะสร้างปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หมายความว่า ในอีก 20 ปีข้างหน้า เราจะสามารถนั่งรถไฟ หรือขับรถจากมาเลเซียผ่านไทย เข้าพม่าไปยูนนาน ต่อไปปักกิ่ง นั่งรถไฟสายทรานส์ไซบีเรียไปมอสโก ต่อไปยังเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก และต่อไปที่ฟินแลนด์หรือต่อไปที่ฮังการีได้

            อาจกล่าวได้ว่า GMS จะทำให้ภูมิรัฐศาสตร์ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และรวมทั้งยูเรเซียจะมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไม่เคยมีมา ผนวกกับการพัฒนาของ AEC และ Asean+3 ซึ่งนอกจากจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของด้านการค้าและการลงทุนแล้ว วิถีชีวิตก็จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไม่เคยเป็น

            GMS กำลังจะเปลี่ยนโฉมภูมิรัฐศาสตร์ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และยูเรเซียอย่างไม่เคยมีมาก่อน


Mostview

4 สิ่งของคนเลี้ยงลูกประสบความสำเร็จไม่เคยสอนตอนเมื่อลูกยังเล็ก

ครอบครัวถือเป็นสถาบันหลักสำคัญในการสั่งสอนลูกว่าจะเป็นคนอย่างไร โดยช่วงเวลาที่ผ่านมาเราได้ยินว่าควรทำอย่างไรกับลูกของเรา และเรื่องไหนที่ไม่ควรทำกับลูกของเรา

แม็คโคร-โลตัส ไตรมาสแรกปี 2567 ทำรายได้รวม 127,020 ล้านบาท กำไรสุทธิ 2,481 ล้านบาท

บริษัท ซีพี แอ็กซ์ตร้า จำกัด (มหาชน) หรือ CPAXT เผยผลประกอบการในช่วงไตรมาส 1/67 พบว่ามียอดรายได้รวม 127,020 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6% เมื่อเทียบกับปีก่อน มีกำไรสุทธิ 2,481 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15% เมื่อเทียบกับปีก่อน

เกษตรกรเวียดนามไม่ทนหันปลูกทุเรียนส่งออกจีนแทนปลูกกาแฟที่ขาดแคลน แถมราคาถูกกว่า

ราคากาแฟโรบัสต้าทั่วโลกพุ่งแตะระดับสูงสุดเมื่อเดือนที่ผ่านมา โดยเวียดนามซึ่งเป็นผู้ผลิตเมล็ดกาแฟรายใหญ่ที่สุด กำลังต่อสู้กับภัยแล้ง รวมถึงเกษตรกรได้เปลี่ยนมาปลูกทุเรียนแทน

คนไทย 30% ไม่มีเงินเก็บสำหรับการเกษียณ และ 60% มีเงินเก็บไม่ถึง 200,000 บาท

ภายในงาน KKP Financial Talk: Money Master #เรื่องเงินอย่าปล่อยให้รู้งี้ ซึ่งมีการพูดถึงปัญหาและคำแนะนำให้กับ Sandwich Generation ผู้แบกภาระการดูแลทั้งคนรุ่นก่อน และรุ่นหลังไว้ ในขณะที่เศรษฐกิจไม่เกื้อหนุนให้พวกเขาได้สบายขึ้น

SmartSME Line