วันเสาร์, เมษายน 27, 2567

สร้าง Content จาก Event ส่งเสริมกิจการฝ่ายุคดิจิตอล : เนตรนิภา สิญจนาคม

by Smart SME, 19 พฤศจิกายน 2558

ในปัจจุบันการทำการตลาดมีการปรับเปลี่ยนและเปลี่ยนแปลงในเชิงกลยุทธ์ตลอดเวลา นักการตลาดพยายามอย่างหนักที่จะหายุทธวิธีที่จะเข้าถึงและตอบโจทย์ผู้บริโภค ซึ่งกิจกรรมการตลาด (Marketing Event) ก็เป็นอีกยุทธวิธีหนึ่งที่จะสามารถสื่อสารเพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคได้โดยตรง จึงไม่ต้องแปลกใจที่ทำไมกิจกรรมทางการตลาดเหล่านี้จึงมีหลากหลายรูปแบบให้คุณได้พบเห็นอยู่ทั่วไป เพราะไม่เพียงแต่จะสื่อสารกับผู้บริโภคได้โดยตรงแบบ Two-Way Communication แล้ว ยังสามารถวัดความสัมฤทธิ์ผลและตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายทางการขายได้อีกด้วย

 

มักมีคนถามผู้เขียนอยู่บ่อยครั้งว่าในยุคสมัยที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเฉกเช่นปัจจุบันนี้ ควรจัดกิจกรรมทางการตลาดในรูปแบบใดจึงจะได้ผลดีที่สุด ผู้เขียนอยากจะบอกว่าคำถามดังกล่าวนั้นยากมากที่จะตอบด้วยคำตอบเดียว  

 

จากประสบการณ์ที่ผ่านมา 25 ปีของผู้เขียนที่ได้จัดกิจกรรมทางการตลาดมาโดยตลอด กลยุทธ์ที่ใช้ในการจัดแต่ละกิจกรรมต้องปรับเปลี่ยนไปทุกครั้ง ขึ้นอยู่กับกลุ่มเป้าหมาย สถานการณ์ และความต้องการของแบรนด์ (Brand) ไม่มีกลยุทธ์ที่ตายตัวสำหรับการทำกิจกรมการตลาด อาจจะมีสิ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นหลักอยู่บ้าง แต่ทุกหลักการก็จะต้องมีการปรับปรุงหรือพัฒนาให้เข้ากับผู้บริโภคหรือสังคมในช่วงเวลานั้น ๆ

 

แต่หากจะคิดถึงการสร้างกิจกรรมทางการตลาดในยุคปัจจุบัน ก็คงต้องยกให้กับการจัดกิจกรรมทางการตลาดแบบออนไลน์ เพราะถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า สามารถเข้าถึงคนจำนวนมหาศาลได้เพียงปลายนิ้วสัมผัสผ่านอุปกรณ์สื่อสารที่มีอยู่ในมือของทุกคนอยู่แล้ว ซึ่งเรารู้จักกันเป็นอย่างดีในนาม “สมาร์ทโฟน” (Smart Phone) (สมาร์ทโฟนถือเป็นอวัยวะที่ 33 หรือเป็นปัจจัยที่ 5 ในการดำรงชีวิตของคนในยุคสังคมก้มหน้าเลยก็ว่าได้) แบรนด์สามารถสร้างชื่อเสียงและชื่อเสียได้เพียงชั่วข้ามคืน ผ่านทางเฟซบุ๊ค, ยูทูป, อินสตาแกรม และอื่น ๆ หรือหากแบรนด์ไหนกุ๊กกิ๊กน่ารักสักหน่อยก็อาจลงทุนกับการสร้างสรรค์สติ๊กเกอร์การ์ตูนเพื่อใช้ส่งผ่านความปรารถนาดีต่อ ๆ กันไป และแน่นอนเราสามารถใช้ประโยชน์จากช่องทางออนไลน์นี้สร้างการสื่อสารจากแบรนด์ส่งตรงไปยังกลุ่มเป้าหมายได้จากจุดที่ห่างไกล เห็นกันได้ทั่วโลกในช่วงเวลาเพียงไม่กี่นาที

 

นี่คือยุคที่ดิจิตอลเข้ามามีบทบาทเหลือเกินกับชีวิตคนในแต่ละวัน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าการตลาดดิจิตอล จะเป็นคำตอบที่สมบูรณ์ เพราะดิจิตอลจะเกิดกระแสขึ้นได้ก็อยู่ที่ Content (ความพึงพอใจหรือเรื่องราวของแบรนด์ที่สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้โดยง่าย) เราสามารถสร้าง Content ได้จากอีเว้นท์ (Event) หรือกิจกรรมทางการตลาดที่เราต้องการให้ผู้บริโภคได้รับรู้ หรือสร้าง Content บนดิจิตอลแล้วปล่อยให้อีเว้นท์เป็นตัวสร้างกระแสต่อเนื่อง โดยเลือกใช้แนวทางการทำอีเว้นท์รูปแบบต่าง ๆ เช่น

 

-       Promotion Event (กิจกรรมเชิงส่งเสริมการขาย)

-       Special Event (กิจกรรมเฉพาะกลุ่มหรือเฉพาะวาระ)

-       Sport Event (กิจกรรมที่ใช้กีฬาเป็นสื่อ)

-       Exhibition Event (การจัดกิจกรรมเชิงนิทรรศการ)

-       Entertainment Event (กิจกรรมที่มุ่งเน้นด้านความสนุกสนาน)

 

โดยการจัดกิจกรรมแต่ละรูปแบบก็ต้องเชื่อมโยงกับ Content หรือ ภาพลักษณ์ของแบรนด์อาจจะต้องทำการประชาสัมพันธ์กิจกรรมหรือ Content ให้เป็นที่รับรู้ สร้างกระแสให้เกิดการตอบรับและตอบกลับมาเพื่อให้เกิดการวัดเชิงมูลค่า จะเห็นได้ว่าไม่มีอะไรตายตัว ไม่มีอะไรเป็นแบบฉบับที่เฉพาะเจาะจงในเรื่องของการทำกิจกรรมการตลาด แต่การเลือกใช้เครื่องมือที่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในแต่ละชิ้น นำมาเชื่อมโยงภายใต้แนวคิดเดียวแบบบูรณาการเพื่อให้เข้าถึงผู้บริโภค น่าจะเป็นคำตอบที่ดีกว่า

 

ลองนำข้อมูลต่าง ๆ ไปปรับใช้ดูในหลาย ๆ มุมนะคะ เราอยู่ในยุคที่ไม่สามารถใช้เครื่องมือเดียวเพื่อสื่อสารไปยังผู้บริโภคได้อีกต่อไปแล้ว ลองศึกษาการใช้ประโยชน์จากหลาย ๆ เครื่องมือ และทำให้ทุกเครื่องมือสามารถเชื่อมโยงถึงกันได้เพื่อทำให้แบรนด์ของเราเป็นคำตอบแรกและคำตอบสุดท้ายของผู้บริโภค แล้วคุณจะพบว่าการจัดกิจกรรมทางการตลาดแบบถูกที่ถูกเวลา ไม่ว่าอย่างไรก็ย่อมคุ้มค่าเสมอค่ะ


Mostview

หนุ่มอายุ 25 ปี ใช้ AI สร้างรายได้เกือบ 2 ล้านบาท ใช้เวลาแค่ 2 เดือน

เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ถูกพูดถึงอย่างในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่ามา และคาดการณ์ว่าจะเข้ามามีบทบาทเป็นส่วนหนึ่งของการทำธุรกิจต่อไปในวันข้างหน้า

เปิดธุรกิจที่ได้รับประโยชน์ หากเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท เริ่มใช้งาน

ผลสำรวจบอกผู้มีสิทธิ์ใช้เงินดิจิทัลวอลเล็ต จะเลือกใช้จ่ายร้านค้าท้องถิ่น 40% รองลงมาเป็นร้านสะดวกซื้อ เช่น CJ, 7-Eleven 26%

ธุรกิจอีคอมเมิร์ซมาแรง คนไทยซื้อผ่านแพลตฟอร์ม 67% คาดมูลค่าปี 2567 แตะ 7 แสนล้านบาท

ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เผยว่าธุรกิจอีคอมเมิร์ซมาแรงต่อเนื่อง โตแบบฉุดไม่อยู่ ปี 2566 มีมูลค่า 6.34 แสนล้านบาท คาดการณ์ปี 2567 มูลค่าแตะ 7 แสนล้านบาท และปี 2568 มูลค่าทะลุ 7.5 แสนล้านบาท

จับตาราคา “เนย” เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในตลาดโลกใกล้แตะระดับสูงสุดเท่าทีเคยมีมา

ไม่ใช่ “โกโก้” เท่านั้นที่ราคาพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์จากปัจจัยเรื่องของสภาพอากาศที่เลวร้าย และโรคที่มากับพืชจนส่งผลกระทบต่อแหล่งเพาะปลูก ทำให้ได้ผลผลิตน้อย นำมาสู่การปรับราคาของสินค้าที่มี “โกโก้” เป็นส่วนผสม ซึ่งคาดการณ์ว่าราคาจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ

SmartSME Line