วันจันทร์, พฤษภาคม 20, 2567

JWD ผนึกพันธมิตรทรานฟอร์มธุรกิจโลจิสติกส์ พร้อมขยาย “ฟู้ดซัพพลายเชน” บุกจีน-ไต้หวัน

by Smart SME, 24 เมษายน 2562

JWD ประกาศทรานฟอร์มธุรกิจรับมือสมรภูมิโลจิสติกส์แข่งเดือด ชูกลยุทธ์ผนึกพันธมิตรข้ามชาติต่อยอดธุรกิจครบวงจรทั้งแนวกว้างและแนวลึกภายใต้ 4 กลุ่มธุรกิจ เน้นการใช้เทคโนโลยีเป็นแกนหลักในการพัฒนาและดำเนินธุรกิจ เพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคยุคใหม่ พร้อมควง บ.ฟู้ดไต้หวัน ขยายแนวรบบริการ "ฟู้ดซัพพลายเชน" บุกตลาดอาเซียนและจีน - ไต้หวัน

ชวนินทร์ บัณฑิตกฤษดา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร JWD

ชวนินทร์ บัณฑิตกฤษดา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร JWD

นายชวนินทร์ บัณฑิตกฤษดา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจดับเบิ้ลยูดี อินโฟโลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) หรือ JWD เปิดเผยว่าในวาระครบรอบ 40 ปี บริษัทฯ ได้ปรับโครงสร้างธุรกิจเพื่อรับมือการแข่งขันของธุรกิจโลจิสติกส์ที่รุนแรงมากขึ้น รวมถึงอิทธิพล Digital Disruption ทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ภายใต้ 4 แกนหลักคือ

  • กลุ่ม 1 ธุรกิจโลจิสติกส์ เพิ่มบริการที่หลากหลายเพื่อครอบคลุมบริการครบวงจรรองรับลูกค้าทั้งแบบ B2B และ B2C อาทิ การขนส่งเครื่องจักรกลหนักที่ตอบรับโครงการลงทุนต่างๆ ในอีอีซี, บริการขนส่งอีคอมเมิร์ซ, บริการ Self-Storage (ห้องเก็บของส่วนตัวให้เช่า) และ JWD Art Space (บริการจัดเก็บและแสดงงานศิลปะครบวงจร) นอกจากนี้มีแผนขยายโครงสร้างพื้นฐานโลจิสติกส์อื่นๆ เช่น การให้บริการท่าเทียบเรือ ปัจจุบันบริษัทฯ เริ่มให้บริการยกขนตู้รถไฟบริเวณท่าเรือแหลมฉบัง
  • กลุ่ม 2 ธุรกิจอาหาร ให้บริการฟู้ดซัพพลายเชนโซลูชั่นส์ ตั้งแต่กระบวนการจัดซื้อจัดหาวัตถุดิบสำหรับลูกค้า กระบวนการแปรรูปและจัดเตรียมวัตถุดิบพร้อมปรุง อาทิ ผักหั่นฝอย ไข่เหลวบรรจุขวด อบขนมปังและ เบเกอรี่ สำหรับกลุ่มลูกค้า Quick Services Restaurants ซูเปอร์มาร์เก็ตและร้านสะดวกซื้อ บริการจัดเก็บและกระจายสินค้า รวมทั้งเป็นตัวแทนนำเข้า-ส่งออกสินค้าเกี่ยวกับอาหารจากทั่วโลก
  • กลุ่ม 3 ธุรกิจไอที ใช้เทคโนโลยีเป็นแกนหลักในการพัฒนาและดำเนินธุรกิจ มุ่งพัฒนาด้านการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติที่สำคัญ (Business Intelligence) เพื่อใช้ข้อมูลเป็นศูนย์กลางช่วยให้สามารถตัดสินใจในการทำงานได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ สามารถพยากรณ์ความต้องการของลูกค้าได้ล่วงหน้า รวมทั้งสร้างให้เกิดโมเดลทางธุรกิจใหม่ๆ ตลอดห่วงโซ่คุณค่า
  • กลุ่ม 4 ธุรกิจอินเวสต์เม้นต์ เน้นการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือ กองทุนที่เกี่ยวเนื่องกับโลจิสติกส์ รวมทั้งการลงทุนใหม่ๆ ในธุรกิจที่มีศักยภาพเติบโตในอนาคต

นายชวนินทร์ กล่าวว่า โครงสร้างธุรกิจใหม่ของบริษัทฯ จะช่วยเสริมความแข็งแกร่ง ขณะเดียวกันก็จะช่วยให้สามารถบริหารจัดการความเสี่ยงและเติบโตอย่างมั่นคงยั่งยืนยิ่งขึ้น ปัจจุบัน JWD ได้ขยายบริการโลจิสติกส์เข้าสู่ตลาดหลักและตลาดใหม่ของอาเซียนครบ 9 ประเทศตามเป้า ได้แก่ ไทย พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม สิงค์โปร์ มาเลเซีย ไต้หวัน และอินโดนีเซีย ส่วนฟิลิปปินส์มีแผนเข้าลงทุนภายในปีนี้ ทิศทางต่อไปคือ การขยายบริการฟู้ดซัพพลายเชนเจาะเข้าไปในแต่ละประเทศ รวมถึงการขยายโอกาสไปในภูมิภาคเอเชีย โดยเฉพาะจีนและไต้หวัน

เหตุผลที่เลือกใช้ธุรกิจอาหารเป็นแฟลกชิปในการบุกตลาดประเทศต่างๆ เนื่องจาก 1. มีพันธมิตรแข็งแกร่งอย่าง CSLF ซึ่งเป็นผู้นำด้านการให้บริการซัพพลายเชนอาหารรายใหญ่ของไต้หวันที่มีความเชี่ยวชาญมากว่า 30 ปี ทำให้สามารถขยายตลาดและสร้างรายได้ทันทีทั้งในอาเซียนและไต้หวัน 2. เป็นการต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มให้คลังสินค้าควบคุมอุณหภูมิ(ห้องเย็น) ที่มีอยู่ทั่วอาเซียน และ 3. อาหารเป็นธุรกิจที่มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องตามเทรนด์โลกด้วยอุปสงค์ - อุปทานของแต่ละพื้นที่

"แผนการดังกล่าวเรียกว่า JWD ทรานฟอร์มธุรกิจจากผู้ให้บริการโลจิสติกส์ขั้นปลายน้ำ (บริการคลังและขนส่งสินค้า) ที่มีการแข่งขันราคาที่รุนแรง รุกไปสู่การเป็นผู้ให้บริการซัพพลายเชนแบบครบวงจร ตั้งแต่การจัดซื้อจัดหาวัตถุดิบให้กับลูกค้า กระบวนการผลิตและแปรรูปสินค้า การมีแบรนด์สินค้าอาหารในมือ รวมถึงแผนการขยายโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์อื่นๆ อันถือเป็นต้นน้ำของบริการเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ลูกค้าและตอบโจทย์ผู้บริโภคไปพร้อมกัน"

นอกจากนี้ นายชวนินทร์กล่าวเพิ่มเติมว่า การที่ JWD สามารถเดินหน้าสู่เป้าหมายได้รวดเร็ว ส่วนหนึ่งมาจากการที่มีพันธมิตรข้ามชาติที่แข็งแกร่งในแต่ละบริการ เช่น การร่วมทุน CJ LOGISTICS จากเกาหลีใต้ จัดตั้งบริษัท CJL JWD Logistics เพื่อให้บริการโลจิสติกส์แบบ B2B โดยอาศัยเน็ตเวิร์คที่แข็งแกร่งของ CJ และ B2C รองรับการเติบโตของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ทำให้บริษัทสามารถขยายบริการที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์และเทรนด์โลก โดยการทรานฟอร์มธุรกิจ JWD เริ่มมาตั้งแต่ช่วงกลางปี 2561 แม้จะเป็นช่วงเริ่มต้นแต่ก็ช่วยให้รายได้ของบริษัทในปี 2561 เติบโตถึง 32% และคาดว่าจะเห็นผลชัดเจนยิ่งขึ้นตั้งแต่ปี 2562 นี้เป็นต้นไป


Mostview

พาชมงาน MONEY EXPO 2024 โซน Franchise SMEs มีธุรกิจอะไรน่าลงทุน

เริ่มไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วกับงาน MONEY EXPO 2024 ที่อาคารชาเลนเจอร์ 2-3 อิมแพ็ค เมืองทองธานี โดยภายงานในงานได้มีสถาบันทางการเงินที่นำบริการสินเชื่อต่าง ๆ มานำเสนอให้กับผู้ที่สนใจมองหาแหล่งทุนสำหรับนำไปใช้ในเรื่องต่าง

คนไทย 30% ไม่มีเงินเก็บสำหรับการเกษียณ และ 60% มีเงินเก็บไม่ถึง 200,000 บาท

ภายในงาน KKP Financial Talk: Money Master #เรื่องเงินอย่าปล่อยให้รู้งี้ ซึ่งมีการพูดถึงปัญหาและคำแนะนำให้กับ Sandwich Generation ผู้แบกภาระการดูแลทั้งคนรุ่นก่อน และรุ่นหลังไว้ ในขณะที่เศรษฐกิจไม่เกื้อหนุนให้พวกเขาได้สบายขึ้น

6 วิธีสร้างแนวคิดอย่างยั่งยืนให้ธุรกิจของคุณ แถมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับแบรนด์

การยึดมั่นในเรื่องของความยั่งยืนไม่ได้เป็นประโยชน์กับสภาพแวดล้อม และเศรษฐกิจท้องถิ่นเท่านั้น แต่ยังส่งผลเชิงบวกให้กับแบรนด์อีกด้วย ดังนั้น เรามาดูกลยุทธ์ทางธุรกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมที่คนเป็นผู้ประกอบการสามารถนำไปปรับใช้กับธุรกิจได้ ผ่านวิธีการเหล่านี้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

SmartSME Line