วันอาทิตย์, พฤษภาคม 19, 2567

ธุรกิจนี้มีดีอะไร ทำไมคนรวยถึงชอบซื้อทีมฟุตบอล หลังกระแสข่าวทักษิณเล็งซื้อ คริสตัลพาเลซ

by Anirut.j, 13 พฤษภาคม 2562

ทีมฟุตบอลกับคนรวยระดับโลกอาจจะเรียกได้ว่าเป็นธุรกิจที่มีความเกี่ยวข้องกัน เพราะที่ผ่านมาเราจะเห็นนักลงทุนจากทั่วทุกมุมโลกเข้ามาซื้อทีมฟุตบอลมาบริหาร โดยมุ่งเป้าไปที่ทีมฟุตบอลในลีกยักษ์ใหญ่ของยุโรป ไม่ว่าจะเป็นพรีเมียร์ลีก อังกฤษ, ลาลีก้า สเปน, กัลโช่ เซเรีย อา และลีกเอิง ฝรั่งเศส

ล่าสุด มีกระแสข่าวออกมาว่า นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จะซื้อสโมสรฟุตบอลคริสตัล พาเลซ ในพรีเมียร์ลีกของอังกฤษ โดยแหล่งข่าวใกล้ชิดระบุว่า ตอนนี้กำลังอยู่ระหว่างเจรจาซื้อสโมสรฟุตบอลคริสตัล พาเลซจริง ซึ่งมีการตกลงในรายละเอียดระดับหนึ่งแล้ว หากการเจรจาลุล่วงไปด้วยดี จะให้นายมิตติ ติยะไพรัช บุตรชาย อดีตประธานสโมสรฟุตบอล เชียงราย ยูไนเต็ด รับหน้าที่เป็นผู้บริหารสโมสร

 

 

สำหรับเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องที่แปลกใหม่อะไร เพราะที่ผ่านมาอดีตนายกรัฐมนตรีจากประเทศไทยก็มีข่าวเกี่ยวข้องกับแวดวงฟุตบอลมาตลอด โดยย้อนกลับไปในปี 2547 เจ้าตัวมีความสนใจที่จะซื้อหุ้นสโมสรลิเวอร์พูล ทั้งหมด 30 เปอร์เซ็นต์คิดเป็นมูลค่า 4,600 ล้านบาท และต่อมาในปี 2550 ก็เข้าซื้อสโมสรแมนฯ ซิตี้ ด้วยราคา 80 ล้านปอนด์

อย่างไรก็ตาม จุดที่เป็นประเด็นน่าสนใจ คือว่าแม้ฟุตบอลจะเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมทั่วโลก แต่กลับมีความท้าทายมากกว่านั้นทั้งด้านต้นทุนการจัดการ ค่าใช้จ่ายต่างๆ ตลอดจนหนี้สินต่างๆ ของแต่ละสโมสรที่มีมาตั้งในอดีต ซึ่งเรียกได้ว่าหนักหนาสาหัสไม่น้อยเลยทีเดียว ถึงอย่างนั้น ด้วยปัจจัยต่างๆ ที่กล่าวมากลับไม่ทำให้ความต้องการของนักลงทุนในธุรกิจนี้ถดถอยลงแต่อย่างใด

ดังนั้น เรามาดูกันว่าเหตุผลอะไรที่เหล่าคนรวยระดับโลกยังอยากจะเข้ามามีส่วนร่วมในเกมลูกหนัง ซึ่งบางทีคนทั่วไปอาจมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น

อย่างแรก: หนทางสู่การสร้างชื่อเสียง

การตกเป็นข่าวบนหน้าสื่อเกี่ยวกับการซื้อสโมสรฟุตบอลย่อมสร้างความน่าสนใจ อยู่ในสายตาของคนที่พบเห็น โดยเฉพาะสื่อมวลชนและแฟนบอลว่า คนๆ นี้เป็นใคร มาจากไหน ทำให้เกิดการสืบค้นประวัติ ผลงานต่างๆ ธุรกิจที่ทำ รวมถึงเรื่องราวชีวิตในแง่มุมต่างๆ

แม้กระทั่งเมื่อเข้าซื้อกิจการของสโมสร การทุ่มซื้อนักฟุตบอลก็ถือเป็นการสร้างความน่าสนใจได้เช่นกัน หากนักฟุตบอลคนนั้นมีชื่อเสียงด้วยแล้ว ยิ่งอยู่ในพื้นที่สื่อแบบไม่ต้องสงสัย

นอกจากนี้ กรณีที่เห็นได้อย่างชัดเจนเกี่ยวกับการสร้างชื่อเสียง คือ คุณวิชัย ศรีวัฒนประภา ผู้ล่วงลับที่เข้าไปซื้อสโมสรเลสเตอร์ซิตี้ ก่อนพาทีมเลื่อนชั้นขึ้นมาลีกสูงสุด และสร้างประวัติศาสตร์คว้าแชมป์พรีเมียร์ลีกอังกฤษเป็นครั้งแรกของสโมสรจนทำให้ชื่อเสียงของคุณวิชัย รวมถึงประเทศไทยกลายเป็นที่รัก และรู้จักไปทั่วโลก

  

 

ไม่เพียงเท่านั้น ที่อิตาลี ก็มีกรณีคนดังเข้ามาเป็นเจ้าของทีมฟุตบอลเช่นกัน คราวนี้คือ ซิลวิโอ แบร์ลุสโค นายกรัฐมนตรีขณะนั้นกับการเป็นเจ้าของทีมเอซี มิลาน ซึ่งหลายฝ่ายมองว่าเป็นการสร้างบารมีของตนเอง และหวังผลทางการเมือง

อย่างที่สอง: ซื้อเพื่อเก็งกำไร

กรณีเป็นเรื่องของนักลงทุนที่ทำธุรกิจส่วนใหญ่มักคิดกัน คือซื้อมา ขายไป ซึ่งสามารถหวังผลได้ทั้งในระยาว และระยะสั้น โดยตัวอย่างใกล้ตัวที่เห็นภาพอย่างชัดเจน คือ นายทักษิณ ชินวัตร ที่เข้าซื้อกิจการสโมสรแมนซิตี้ในปี 2550 ด้วยมูลค่า 80 ล้านปอนด์ ก่อนปี 2551 จะขายให้กับ ชีค มันซูร์ ซาเยด นาห์ยาน และกลุ่มทุ่นอาบูดาบี ยูไนเต็ด กรุ๊ป (เอดียูจี) ของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ด้วยมูลค่าราคา 150 ล้านปอนด์

 

 


Mostview

คนไทย 30% ไม่มีเงินเก็บสำหรับการเกษียณ และ 60% มีเงินเก็บไม่ถึง 200,000 บาท

ภายในงาน KKP Financial Talk: Money Master #เรื่องเงินอย่าปล่อยให้รู้งี้ ซึ่งมีการพูดถึงปัญหาและคำแนะนำให้กับ Sandwich Generation ผู้แบกภาระการดูแลทั้งคนรุ่นก่อน และรุ่นหลังไว้ ในขณะที่เศรษฐกิจไม่เกื้อหนุนให้พวกเขาได้สบายขึ้น

กล้าพอไหม! Airbnb เปิดให้เข้าพักบ้านลอยฟ้า มีลูกโป่งกว่า 8,000 ใบ โยงติดอยู่บนหลังคา

หากอยากจะทำอะไรตื่นเต้นต้องมาทางนี้ เมื่อ Airbnb แพลตฟอร์มจองที่พักได้เปิดตัวโปรเจคต์ “Icon” เพื่อสร้างประสบการณ์พักผ่อนให้กับลูกค้า เปลี่ยนสิ่งที่เป็นเรื่องมหัศจรรย์ให้กลายเป็นความจริง

พาชมงาน MONEY EXPO 2024 โซน Franchise SMEs มีธุรกิจอะไรน่าลงทุน

เริ่มไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วกับงาน MONEY EXPO 2024 ที่อาคารชาเลนเจอร์ 2-3 อิมแพ็ค เมืองทองธานี โดยภายงานในงานได้มีสถาบันทางการเงินที่นำบริการสินเชื่อต่าง ๆ มานำเสนอให้กับผู้ที่สนใจมองหาแหล่งทุนสำหรับนำไปใช้ในเรื่องต่าง

ซีพีออลล์ ทำรายได้ไตรมาส 1/2567 รวม 241,307 ล้านบาท กำไรสุทธิ 6,319 ล้านบาท

บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) รายงานผลประกอบการในไตรมาส 1/2567 พบว่าบริษัทมีรายได้รวม 241,307 ล้านบาท มีกำไรสุทธิ 6,319 ล้านบาท

SmartSME Line